Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39874
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนัยนันทน์ อริยกานนท์-
dc.contributor.advisorรุ่งกานต์ นุ้ยสินธุ์-
dc.contributor.authorปิยรัตน์ บำรุงสาลี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2014-02-27T02:11:37Z-
dc.date.available2014-02-27T02:11:37Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39874-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดสีย้อมแอซิด กรีน 25 ของไคโตซานเกรดทางพาณิชย์และเกรดทางเภสัชภัณฑ์ และศึกษาการย่อยสลายของไคโตซานทั้งสองชนิดในดินหลังจากที่ดูดสีย้อมแอซิด กรีน 25 แล้ว การดูดซับสีย้อมแอซิด กรีน 25 ที่ความเข้มข้น 30 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำเสียด้วยไคโตซานทั้งสองชนิด คือ ปรับ พีเอช ของน้ำเสียเท่ากับ 5 ใช้ไคโตซานในปริมาณ 0.2 กรัมต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร กวนที่ความเร็ว 150 รอบต่อนาที เป็นเวลา 4 ชั่วโมง ผลการทดลองความสามารถในการลดสีย้อมแอซิด กรีน 25 ของไคโตซานเกรดทางพาณิชย์และเกรดทางเภสัชภัณฑ์ มีค่าเท่ากับ 98.9±0.1 และ 99.2±0.2 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ และความสามารถในการลดความขุ่นเท่ากับ 54.9±1.1 และ 57.0±2.6 เปอร์เซนต์ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าความสามารถในการลดสีย้อมและความขุ่นโดยใช้ ไคโตซานทั้งสองชนิดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่พีเอช 5 ไอโซเทอมของการดูดซับเป็นไปตามสมการของแลงเมียร์ โดยค่าการดูดซับสีแอซิด กรีน 25 สูงสุดของไคโตซานเกรดทางพาณิชย์และเกรดทางเภสัชภัณฑ์ เท่ากับ 854.14 และ 909.09 มิลลิกรัมต่อกรัมไคโตซาน ตามลำดับ การย่อยสลายในดินทำโดยการนำไคโตซานทั้งสองชนิดที่ดูดซับสีย้อมแล้วมาศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมในการย่อยสลายเป็นระยะเวลา 35 วัน ปัจจัยที่ทำการศึกษาคือ พีเอช อุณหภูมิ และความชื้นในดิน โดยมีพารามิเตอร์ที่ติดตามผลคือ ปริมาณ ดี-กลูโคซามีน การหายใจของจุลินทรีย์ดิน อินทรีย์คาร์บอน และไนโตรเจนทั้งหมด จากผลการทดลองพบว่า พีเอช ที่มีผลต่อการย่อยสลายของไคโตซานทั้งสองชนิด คือ พีเอชที่เป็นกลาง (6.79) สภาวะอุณหภูมิที่มีผลต่อการย่อยสลายของไคโตซานทั้งสองชนิด คือ 25-35 องศาเซลเซียส และความชื้นที่มีผลต่อการย่อยสลายของไคโตซานทั้งสองชนิด คือ 70-80 เปอร์เซนต์en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to compare the efficiency between commercial and pharmaceutical grade chitosan for decolorization of acid green 25 and to study the degradation of both chitosan in soil. The optimum condition for decolorization of acid green 25 in concentration of 30 mg/L was at pH 5, at 4 hour and 150 rpm/min. A fixed volume of chitosan (0.2 g) in solution of 100 ml was used. The results showed that the decolorization efficiency of acid green 25 of commercial and pharmaceutical grade chitosan were 98.9±0.1 and 99.2±0.2, respectively. The turbidity removal of commercial and pharmaceutical grade chitosan were 54.9±1.1 and 57.0±2.6, respectively. The statistical analysis revealed that there was no significantly difference of dye removal and turbidity removal between commercial and pharmaceutical grade chitosan at pH 5. The experimental data were best fitted to Langmuir isotherm. The maximum adsorption capacities of acid green 25 onto commercial and pharmaceutical grade chitosan were determined to be 854.14 and 909.09 mg/g, respectively. The degradation of chitosan after adsorption of acid green 25 was studies for 35 days. The parameters such as pH, temperature and moisture content were varied. D-glucosamine, soil respiration, organic carbon and total nitrogen were measured. The results indicated that the optimum condition of degradation of chitosan was at pH 6.79, 25-35 °C and 70-80% of moisture content in soil.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1400-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectของเสียจากโรงงานen_US
dc.subjectไคโตแซนen_US
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสีen_US
dc.subjectFactory and trade wasteen_US
dc.subjectChitosanen_US
dc.subjectSewage -- Purification -- Color removalen_US
dc.titleการย่อยสลายของไคโตซานในดินภายหลังจากการดูดซับสีย้อมแอซิด กรีน 25en_US
dc.title.alternativeDegradation of chitosan in soil following acid green 25 adsorptionen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisoranaiyanan@yahoo.com-
dc.email.advisorroongkan.n@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1400-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyarat_Bu.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.