Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39878
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบัณฑิต เอื้ออาภรณ์-
dc.contributor.authorพรเทพ เทียบรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-02-27T03:48:34Z-
dc.date.available2014-02-27T03:48:34Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39878-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractความต้องการใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มสูงขึ้นตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เติบโตเพิ่มขึ้นในแต่ละปีซึ่งความเพียงพอของกำลังการผลิตไฟฟ้าจัดเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว การวางแผนการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าในอนาคตโดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและความพร้อมของโรงไฟฟ้าแต่ละแห่งจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งนี้การพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในระยะยาวให้แม่นยำนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก การวางแผนขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าจึงควรคำนึงถึงความไม่แน่นอนของการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า อันจะนำไปสู่แผนการขยายกำลังการผลิตที่ดีมีความเชื่อถือได้สูงและมีการลงทุนอย่างเหมาะสม อีกทั้งมีความยืดหยุ่นต่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่อเหตุการณ์ที่แตกต่างไปจากที่คาดหมายได้ในอนาคต วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอวิธีการวางแผนขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าที่คำนึงถึงความไม่แน่นอนของการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าและขีดจำกัดทางด้านพลังงานของโรงไฟฟ้าโดยอาศัยดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบผลิตไฟฟ้าประกอบกับการประเมินค่ากำลังการผลิตสำรองของระบบผลิตไฟฟ้ากำลัง โดยในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จะใช้หลักวิธีการทางทฤษฎีความน่าจะเป็นประกอบการแก้ไขปัญหา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นได้นำไปทดสอบกับระบบผลิตไฟฟ้าที่ดัดแปลงมาจากระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยซึ่งพิจารณาขีดจำกัดของพลังงานของโรงไฟฟ้า เช่น โรงไฟฟ้าพลังน้ำ และ โรงไฟฟ้าสูบกลับ สมรรถนะการทำงานของโรงไฟฟ้าแต่ละประเภท ผลจากการทดสอบได้นําไปสู่ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ในการกําหนดแผนกําลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeElectrical demand tends to increase according to the economic growth along the years. The adequacy of the generation system is a major factor for long-term development of the country. To ensure adequacy of the generation system, generation expansion planning should comply with the future demand taking into account operating cost and availability of each power plant. In addition, it is hard to receive long-term demand forecast with high accuracy. Hence, the uncertainty of the forecasted demand must be considered. Consequently, it will lead to appropriate generation expansion planning, resulting in acceptable reliability with flexibility and appropriate investment level for handling with unexpected event occurred in the future. This thesis presents the generation system planning with consideration of load forecast uncertainty and energy limited units based on specified reliability indices.The developed computer program has been tested with a modified generation system of Thailand considering energy limitation in power plants i.e. hydro power and pumped storage. The test result leads to comments and suggestion in improving the development of the power development plan for the country.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.972-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการผลิตพลังงานไฟฟ้า -- การวางแผนen_US
dc.subjectระบบไฟฟ้ากำลัง -- การวางแผนen_US
dc.subjectการใช้พลังงานไฟฟ้าen_US
dc.subjectElectric power production -- Planningen_US
dc.subjectElectric power systems -- Planningen_US
dc.subjectElectric power consumptionen_US
dc.titleการวางแผนกำลังการผลิตไฟฟ้าที่คำนึงถึงความไม่แน่นอนของการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าen_US
dc.title.alternativeGeneration system planning with consideration of load forecast uncertaintyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้าen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorBundhit.E@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.972-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornthep_Ti.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.