Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39880
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประสาน ธรรมอุปกรณ์-
dc.contributor.authorวราพร จิรจริยาเวช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2014-02-27T06:44:53Z-
dc.date.available2014-02-27T06:44:53Z-
dc.date.issued2531-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39880-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531en_US
dc.description.abstractซีโรโตนิน 4 มคก/มล ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจด้านบนขวาที่แยกออกมาจากหนูขาวเพิ่มขึ้นสูงสุดในนาทีที่ 10-15 หลังจากให้ยา และทำให้แรงบีบตัวของหัวใจด้านบนขวาและซ้ายเพิ่มขึ้นสูงสุดในนาทีที่ 5-10 หลังจากให้ยา ไม่พบการเต้นผิดจังหวะของหัวใจทั้งสองข้างในทุกการทดลอง โปรปรานอลอลและอะเทนอลอล (0.15 มคก/มล) ลดอัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มโดยซีโรโตนินได้เกือบสมบูรณ์ในนาทีที่ 10-15 หลังจากให้ยา และฤทธิ์ยับยั้งของอะเทนอลอล แตกต่างไปจากโปรปรานอลอลเพียงเล็กน้อย ยาทั้งสองไม่มีผลยับยั้งแรงบีบตัวของหัวใจด้านบนขวาและซ้ายที่เพิ่มโดยซีโรโตนิน แต่กลับทำให้แรงบีบตัวเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมธีเซอจาย (0.47 มคก/มล) ลดอัตราการเต้นในหัวใจด้านบนขวาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและยับยั้งการเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจทั้งสองข้างได้อย่างสมบูรณ์ การให้โปรปรานอลอลหรืออะเทนอลอลร่วมกับเมธีเซอจายจะยับยั้งการเพิ่มของอัตราการเต้นและแรงบีบตัวของหัวใจด้านบนขวาและซ้ายโดยซีโรโตนินได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โคเคน (0.5 มคก/มล) จะเสริมฤทธิ์ของซีโรโตนินในการเพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบตัวของหัวใจด้านบนขวาและซ้ายที่เพิ่มขึ้นโดยซีโรโตนินได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในสภาวะที่มีโคเคนโปรปรานอลอลหรือเมธีเซอจายจะลดอัตราการเต้นที่เพิ่มโดยซีโรโตนินได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โปรปรานอลอลไม่ได้ทำให้แรงบีบตัวของหัวใจด้านบนขวาและซ้ายที่เพิ่มโดยซีโรโตนินลดลง แต่ทำให้แรงบีบตัวเพิ่มสูงขึ้นอีกในสภาะที่มีโคเคน แต่เมธีเซอจายจะยับยั้งการเพิ่มนี้ได้อย่างสมบูรณ์ ผลจากการศึกษานี้ สรุปได้ว่า กลไกการออกฤทธิ์ของซิโรโตนิน 4 มคก/มล ในการกระตุ้นให้มีอัตราการเต้นและแรงบีบตัวของหัวใจด้านบนขวาและซ้ายที่แยกออกมาจากหนูขาวเพิ่มขึ้นโดย 2 กลไกคือการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจด้านบนขวา เกิดจากฤทธิ์ทางอ้อมของซิโรโตนินที่ไปกระตุ้น adrenergic 5-HT receptor แล้วทำให้ NE หลั่งออกมาและฤทธิ์โดยตรงของซิโรโตนินที่ไปกระตุ้น 5-HT receptor บน effector cell ซึ่งฤทธิ์โดยตรงเกิดขั้นก่อนฤทธิ์ทางอ้อม สำหรับการเพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจด้านบนขวาและซ้ายนั้นเกิดจากฤทธิ์โดยตรงของซิโรโตนินเป็นส่วนใหญ่ จากผลการทดลองนี้พบว่านอกจากฤทธิ์ในการยับยั้ง NE uptake แล้วโคเคนยังสามารถยับยั้งการ Uptake ของซีโรโตนินที่ Pre-synaptic 5-HT receptor ได้ด้วย และโปรปรานอลอลมีฤทธิ์ยับยั้งซีโรโตนิน uptake ด้วยเช่นกัน นอกเหนือไปจากฤทธิ์ยับยั้งที่ β-adrenoceptor-
dc.description.abstractalternativeThe effects of 4 µg/ml Serotonin have been studied on the isolated right and left rat atria. It produced positive chronotropic effect on the right atria with the peak effect of 10-15 minutes and positive inotropic effect on both right and left atria with the peak effect of 5-10 minutes. No arrhythmias have been observed in each study throughout the experimental procedure. Propranolol or Atenolol at equal dose of 0.15 µg/ml significantly reduced the positive chronotropic effect of Serotonin. However the positive inotropic effect of Serotonin on right and left atria was not reduced but significantly increased by the addition of Propranolol or Atenolol. Methysergide (0.47 µg/ml) significantly reduced the positive chronotropic effect of Serotonin on right atria and completely reduced the positive inotropic effect of such drug on both right and left atria. The combination of Propranolol or Atenolol and Methysergide significantly diminished the positive chronotropic and inotropic effects on right and left atria. Cocaine (0.5 µg/ml) potentiated the positive chronotropic and inotropic effects of Serotonin on right and left atria. In the presence of Cocaine, Propranolol or Methysergide significantly reduced the positive chronotropic effect of Serotonin. Propranolol did not reduced but magnified the positive inotropic effect of Serotonin on right and left rat atria in the presence of Cocaine. However Methysergide absolutely reduced it. From this study it might be concluded that there are two mechanisms of action of 4 µg/ml Serotonin mediating the positive chronotropic and inotropic effects on right and left rat atria. The positive chronotropic and inotropic effects on right and left rat atria. The positive chronotropic effect on right atria is produced by the indirect action of Serotonin on adrenergic 5-HT receptor which triggers the release of endogenous NE release and the direct effect on 5-HT receptor on the effector cell. It revealed that the direct action is the preliminary event. The direct effect is the action of Serotonin that mainly mediated the positive inotropic effect on both atria. Besides NE uptake inhibition, Cocaine could inhibit Serotonin uptake at pre-synaptic 5-HT receptor. Serotonin uptake inhibition might also be the action of Propranolol other than β-adrenoceptor blocking effect.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเซโรโทนินen_US
dc.subjectอัตราการเต้นของหัวใจen_US
dc.subjectโปรปรานอลอลen_US
dc.subjectอะเทนอลอลen_US
dc.subjectเมทธีเซอจายด์en_US
dc.subjectโคเคนen_US
dc.titleศึกษาการออกฤทธิ์ของซึโรโตนินที่เพิ่มอัตราการเต้นและแรงบีบตัว ของหัวใจด้านบนขวาและซ้ายของหนูขาวen_US
dc.title.alternativeStudy the positive chronotropic and inotropic effects of serotonin on isolated right and left rat atriaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเภสัชวิทยาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorprasan@pharm.chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waraporn_Ji.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.