Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39886
Title: แนวแบ่งเขตระหว่างภาษาไทยถิ่นกลาง ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษาผสมไทยถิ่นกลาง-ไทยถิ่นใต้ : การแปรของวรรณยุกต์ตามกลุ่มอายุ
Other Titles: Boundaries between Central Thai, Souhtern Thai, and Central-Southern Thai hybrid dialect : tonal variation by age group
Authors: เรืองสุข คงทอง
Advisors: กัลยา ติงศภัทิย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: kalaya@chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทยถิ่นกลาง
ภาษาไทยถิ่นใต้
ภาษาไทย -- ภาษาถิ่น
ภาษาไทย -- วรรณยุกต์
Thai language -- Dialects
Thai language -- Tone
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวแบ่งเขตระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาผสมไทยถิ่นกลาง-ไทยถิ่นใต้ และระหว่างภาษาผสมไทยถิ่นกลาง-ไทยถิ่นใต้กับภาษาไทยถิ่นใต้ได้โดยใช้วรรณยุกต์เป็นเกณฑ์ ตัวแปรทางสังคมที่นำมาศึกษาด้วย คือ กลุ่มอายุ เพื่อกำหนดเขตปรับเปลี่ยนระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้และศึกษาแนวโน้มการเลื่อน ของแนวแบ่งเขตลงไปทางใต้มากขึ้น อีกทั้งนำผลการวิจัยที่ได้มาเปรียบเทียบกับการศึกษาคำศัพท์ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลในพื้นที่ทั้งหมด ตั้งแต่อำเภอทับสะแก จนถึงอำเภอบางสะพานน้อย ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทุกอำเภอในจังหวัดชุมพร ตั้งแต่อำเภอปะทิว จนถึงอำเภอละแม และทุกอำเภอในจังหวัดระนองตั้งแต่อำเภอกระบุรี จนถึงอำเภอกะเปอร์ รวมทั้งหมด 15 อำเภอ โดยกำหนดจุดเก็บข้อมูลอำเภอละ 1 จุด กลุ่มอายุที่ศึกษามี 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอายุมากระหว่าง 50 – 60 ปี และกลุ่มอายุน้อยระหว่าง 10 – 20 ปี โดยใช้รายการคำชุดเทียบเสียงคล้าย 2 ชุด ซึ่งประกอบด้วยรายการคำสำหรับทดสอบเสียงวรรณยุกต์ 15 คำ และให้ผู้บอกภาษาออกเสียงคำละ 10 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 150 คำ ผู้วิจัยกำหนดแนวแบ่งเขตโดยใช้รูปแบบการแยกเสียงรวมเสียงในสดมภ์ A และสดมภ์ B ในกล่องวรรณยุกต์ ของภาษาไทยถิ่นกลาง ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษาผสมไทยถิ่นกลาง-ไทยถิ่นใต้ พบว่าแนวแบ่งเขตระหว่างภาษาไทยถิ่นกลางกับภาษาผสมไทยถิ่นกลาง-ไทยถิ่นใต้อยู่ระหว่างอำเภอทับสะแกและอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในกลุ่มผู้พูดอายุมาก และอยู่ที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในกลุ่มผู้พูดอายุน้อย และพบว่าแนวแบ่งเขตระหว่างภาษาผสมไทยถิ่นกลาง-ไทยถิ่นใต้กับภาษาไทยถิ่นใต้ทางด้านฝั่งทะเลตะวันอกยู่ระหว่างอำเภอเมืองกับอำเภอสวี จังหวัดชุมพรในทั้งกลุ่มผู้พูดอายุมากและกลุ่มผู้พูดอายุน้อย แต่ทางด้านฝั่งทะเลตะวันตกแนวแบ่งเขตระหว่างภาษาผสมไทยถิ่นกลาง-ไทยถิ่นใต้กับภาษาไทยถิ่นใต้อยู่ไกลลงไปทางใต้มากกว่าทางฝั่งทะเลตะวันออก คือ อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดระนองในกลุ่มผู้พูดอายุมาก และอยู่ระหว่างอำเภอเมือง และอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนองในกลุ่มผู้พูดอายุน้อย งานวิจัยนี้แสดงว่าอายุมีอิทธิพลต่อการแปรของวรรณยุกต์เพียงเล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบสัทลักษณะของทุกหน่วยเสียงวรรณยุกต์ระหว่างภาษาผสมไทยถิ่นกลาง-ไทยถิ่นใต้กับภาษาไทยถิ่นกลางและภาษาไทยถิ่นใต้ พบว่าภาษาผสมไทยถิ่นกลาง-ไทยถิ่นใต้มีสัทลักษณะเหมือนกับภาษาไทยถิ่นใต้มากกว่าภาษาไทยถิ่นกลาง
Other Abstract: The objective of this study is to locate the boundaries between Central Thai and Central-Southern Thai hybrid dialect, and between the Central-Southern Thai hybrid dialect and Southern Thai based on tone. The social variable studied is age-group. The findings will help identify the location of the transition area between Central Thai and Southern Thai and show whether the boundaries have the tendency to move further south. Finally a comparison with the results of similar studies on lexical boundaries will be made. Data in this study were collected in the area covering 15 Amphoes from Amphoe Thap Sakae to Amphoe Bang Saphan Noi in Changwat Prachuap Khiri Khan, every Amphoe in Changwat Chumphon from Amphoe Pathio to Amphoe Lamae, and every Amphoe in Changwat Ranong from Amphoe Kra Buri to Amphoe Kapoe. One study location was selected to represent each Amphoe. Two age-groups are involved: the older group (10-20 years old). Two analogous sets consisting of 15 words were selected as test words. Ten tokens of each word were included in the world list giving the total number of 150 words. Language boundaries are located in this study on the basis of the patterns of tone split and tone merge in column A and B that distinguish Central Thai, Central-Southern Thai hybrid dialect, and Southern Thai. In this study the boundary between Amphoe Thap Sakae and Amphoe Bang Saphan, Changwat Prachuap Kiri Khan. In the younger group it is located at Amphoe Bang Saphan, Changwat Prachuap Khiri Khan. As for the boundary between the Central Thai-Southern Thai hybrid dialect and Southern Thai on the eastern coast, it is located between Amphoe Mueang and Amphoe Sawi, Changwat Chumphon. On the western coast, the same boundary is located further south at Amphoe Mueang, Changwat Ranong in the older group, and between Amphoe Mueang and Amphoe Kapoe, Changwat Ranong in the younger group. This study shows that age-group influences tonal variation. When comparing the phonetic characteristics of every tone among the Central-Southern Thai hybrid dialect, Central Thai, and Southern Thai, it is found that the phonetic characteristics of tones in the Central-Southern Thai hybrid dialect are more similar to those of Southern Thai than Central Thai.Chulalongkorn University, 2006.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/39886
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.111
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.111
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ruangsuk.pdf10.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.