Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/399
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชัชชัย โกมารทัต | - |
dc.contributor.author | อาภรณ์ โพธิ์ภา, 2517- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-06-20T11:30:35Z | - |
dc.date.available | 2006-06-20T11:30:35Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741752385 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/399 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบวิธีการเล่นเตย ให้เป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหว ร่างกายที่มีคุณค่าทางด้านพลศึกษาและด้านการใช้องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย และเพื่อพัฒนากติกา การเล่นเตยให้เป็นกีฬาที่สามารถจัดการแข่งขันได้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาลักษณะการเล่นชนิดนี้ในภาคต่างๆ ของไทย นำข้อมูลมาร่างเป็นรูปแบบการแข่งขัน เป็นการปรับปรุงจากเอกสารและประสบการณ์แข่งขันเดิม ซึ่งถือว่าเป็นการปรับปรุงครั้งที่หนึ่งแล้วนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มทดลองเล่นเตย ซึ่งเป็นนักเรียนชาย หญิง ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 40 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ตัดสิน เป็นนักศึกษา วิชาเอกพลศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 7 คน ทำการทดลองโดยนำลักษณะการเล่นเตย รูปแบบวิธีการเล่นที่ร่างขึ้นใหม่มาทดลองเล่นเชิงแข่งขันและจัดแข่งขันชิงรางวัล เพื่อหาข้อบกพร่องโดย ผู้วิจัยและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน จากการชมเทปบันทึกภาพหรือไปชมจากการทดลองจริง และหลังจากการจัดการแข่งขันชิงรางวัล ให้ผู้เข้าร่วมแข่งขัน ผู้ชม ผู้ตัดสินและผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม ส่วนแบบวิเคราะห์คุณค่า เฉพาะผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มประเมินการพัฒนาการเล่นเตย เป็นผู้ตอบ ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ทำการปรับปรุงทั้งหมด 6 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้เข้าร่วมแข่งขัน ผู้ชม ผู้ตัดสิน และผู้เชี่ยวชาญ มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า รูปแบบ วิธีการ เล่นเตย มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.25 เมื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของผู้ตอบ แบบสอบถามทั้ง 4 กลุ่ม เกี่ยวกับรูปแบบการเล่นเตยพบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้เชี่ยวชาญ มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า รูปแบบวิธีการเล่นเตยรูปแบบใหม่ เป็นกิจกรรมทางกายที่มีคุณค่าทางพลศึกษา ทางด้านร่างกายอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.92 ทางด้านจิตใจ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.30 ทางด้านอารมณ์ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.33 ทางด้านสติปัญญาอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวม 4.36 ทางด้านสังคม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.48 ทางด้านการใช้ องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.98 3. ผู้เข้าร่วมแข่งขัน ผู้ชม ผู้ตัดสินและผู้เชี่ยวชาญ มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า กติกาการเล่นเตยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.27 เมื่อเปรียบเทียมระดับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 4 กลุ่มเกี่ยวกับกติกาการเล่นเตย พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผู้เข้าร่วมแข่งขัน ผู้ชม ผู้ตัดสิน และผู้เชี่ยวชาญ มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า การดำเนินการ แข่งขันกีฬาเตย มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.23 เมื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของ ผู้ตอบแบบสอบถามทั้ง 4 กลุ่มเกี่ยวกับการดำเนินการแข่งขันกีฬาเตย พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ผู้เชี่ยวชาญ มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า ความสมบูรณ์ทางด้านองค์ประกอบของกีฬา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.10 | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to develop the form and method of Taey Game so as to be the valuable physical activity in physical education and physical fitness. In addition, rules of Taey Game were also developed to be the competitive sport. The researcher studied the characteristics of this game by documents and past competition experiences of Taey Game from the various parts of Thailand. The data were then drafted to be the form and method of competition which was considered to be the first draft. The first draft was tried out with the subjects who were 40 male and female students in the lower secondary school and also with 7 subjects acting as the referees who were the students in the 3rd year University majoring in physical education. The try out consisted of experimenting form and method of Taey Game in the competitive situation for winning prize. The mistakes in playing Taey were observed and found out by watching video tape or real game competition by 10 researchers and experts. After the competition, the participants, spectators, referees and experts were asked to respond to the interview and questionnaires. Game values was analyzed by the experts. In this research, the total number of 6 try outs were repeatedly developed until the Taey Game had been congruently accepted by the subjects. The results of the study showed that : 1. The participants, spectators, referees and experts congruently agreed that the new developed form and method of Taey Game had been appropriately developed to the high level with the average score of 4.25. There were no any significant differences of the opinions regarding form and method of Taey Game at the .05 level. 2. The experts congruently agreed that the new developed Taey Game was the valuable physical activity in physical development at the high level with the average score of 3.92, While in mental, emotionat and social development and physical fitness, Taey Game was also found to be the valuable physical activity at the high level with average score of 4.30, 4.33, 4.30, and 4.48, respectively. 3. The participants, spectators, referees and experts congruently agreed that the new developed Taey Game rule was appropriate at the high level with the score of 4.27. It was also found out that there were no any significant differences among the opinions regarding the new developed Taey Game rule at the .05 level. 4. The participants, spectators, referees and experts congruently agreed that the Taey Game management was appropriate at the high level with the score of 4.27. It was also found out that there were no any significant differences among the opinions regarding the Taey Game management at the .05 level. 5. The experts congruently agreed that the perfection of sport composition was found out to be at the high level with the average score of 4.10. | en |
dc.format.extent | 1229334 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1317 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การเล่นเตย | en |
dc.subject | เกม | en |
dc.subject | การละเล่น | en |
dc.title | การพัฒนาเกมการเล่นเตยของเด็กไทยไปสู่การเป็นกีฬา | en |
dc.title.alternative | The development of Thai children's Taey Game to be a sport | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | พลศึกษา | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chuchchai.G@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2003.1317 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Arporn.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.