Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40184
Title: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors relating to health behaviors of professional nurses under Medical Service Department, Bangkok Metropolitan Administration
Authors: วิญญ์ทัญญู บุญทัน
Advisors: สุจิตรา สุคนธทรัพย์
ธนวรรธน์ อิ่มสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Suchitra.Su@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: พยาบาล
พฤติกรรมสุขภาพ
สุขบัญญัติแห่งชาติ
Nurses
Health behavior
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมสุขภาพ และการทำนายพฤติกรรมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ สังกัดสำนักการแพทย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 396 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็น (Probability sampling) ชนิดการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิด หลักสุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการและ PRECEDE-PROCEDE Model ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .907 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พยาบาลวิชาชีพสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร มีพฤติกรรมสุขภาพด้านร่างกาย (X-bar = 3.13, S.D. = 6.75) ด้านสังคม (X-bar = 2.50,S.D. = 3.80) ด้านจิตใจ (X-bar = 2.64, S.D. = 4.26) และด้านจิตวิญญาณ (X-bar = 2.62, S.D. = 4.34) อยู่ในระดับดี 2. ปัจจัยนำด้านรายได้ ปัจจัยเอื้อด้านมีการจัดอบรมกิจกรรมทางกายในหน่วยงาน และปัจจัยเสริมด้านการมีกลุ่มเพื่อนทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพได้ 9.6% (R² = .096) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การที่จะพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของพยาบาลให้ดีขึ้น ควรมีปัจจัยด้านการมีกลุ่มเพื่อนในการส่งเสริมสุขภาพ การมีบุคคลตัวอย่างที่เป็นต้นแบบด้านสุขภาพ และมีปัจจัยเอื้อด้านการมีสภาพแวดล้อมที่ เอต่อการส่งเสริมสุขภาพ
Other Abstract: To investigate health behaviors, the relationship among predisposing factors, enabling factors and reinforcing factors, and predicting health behaviors outcome of professional nurses. Subjects (396 professional nurses) were selected by probability sampling and simple random sampling methods. The instrument used for this study was constructed based on 10 National Health Principles and PRECEDE-PROCEED Model. The instrument was reviewed and approved by panel of experts and tested for content validity with acceptable reliability with Cronbrach’s alpha at .907. Data were analyzed for mean, percentile, standard deviation, Pearson product’s moment correlation coefficient and multiple regression analysis. Major results of this study were as follows: 1. Mean score of physical health behaviors(X-bar = 3.13, S.D. = 6.75), mental health behaviors (X-bar = 2.50, S.D. = 3.80), social health behaviors (X-bar = 2.64, S.D. = 4.26) and spiritual health behaviors (X-bar = 2.62, S.D. = 4.34) of professional nurses under Medical Service Department, Bangkok Metropolitan Administration were at a good level. 2. Predisposing factors namely revenue, enabling factors in training of physical activity and reinforcing factors in peer group activities had significant at .05 relating to four aspects of health behaviors : predisposing factors, enabling factors, reinforcing factors significantly predict total health behaviors at p<.05 levels for 9.60 percent (R² = .096). The development of nurse’s health behaviors, reinforcing factors of peer group and personal health care model, enabling factors in workplace environment were conducive to health promotion.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40184
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1558
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1558
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
winthanyou_bu.pdf2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.