Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/401
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุมิตรา อังวัฒนกุล-
dc.contributor.advisorอลิศรา ชูชาติ-
dc.contributor.authorเทพนคร ทาคง, 2505--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-20T11:57:12Z-
dc.date.available2006-06-20T11:57:12Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741756089-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/401-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดที่อิงมาตรฐานในรายวิชาเสริมสมรรถภาพ ในการสอนภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาครู โดยศึกษาข้อมูลพื้นฐานซึ่งประกอบด้วย การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ความคิดเห็น การสำรวจความคิดเห็น การกำหนดสัดส่วนความสำคัญของมาตรฐานที่จำเป็นสำหรับการเป็นครูภาษาอังกฤษ การจัดทำรายละเอียดหลักสูตร ประกอบด้วย การกำหนดมาตรฐานครูภาษาอังกฤษ การออกแบบการเรียนการสอน และการจัดทำเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร และประเมินคุณภาพของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นทั้งในด้านความสอดคล้องภายใน ของรายละเอียดหลักสูตรและด้านการนำหลักสูตรไปใช้ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้1. การพัฒนาหลักสูตร ได้เอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรสำหรับรายวิชาเสริมสมรรถภาพ ในการสอนภาษาอังกฤษในกลุ่มวิชาเลือก หมวดวิชาเฉพาะด้านของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต วิชาเอกภาษาอังกฤษ สถาบันราชภัฏ โดยมีการกำหนดมาตรฐานครูภาษาอังกฤษ ซึ่งครอบคลุม ขอบข่ายสาระมาตรฐาน 4 ขอบข่าย มาตรฐานด้านเนื้อหา 13 มาตรฐาน และมาตรฐานด้านความสามารถ 88 มาตรฐาน เพื่อใช้เป็นเป้าหมายในการพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ มีความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และมีคุณลักษณะของครูภาษาอังกฤษที่พึงประสงค์ 2. การประเมินหลักสูตร ในการประเมินคุณภาพของหลักสูตรโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ได้รับการประเมินในระดับดีและในการประเมิน โดยการทดลองใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นกับนักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษ สายครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏ ปรากฏว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ คะแนนความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ คะแนนความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมของประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และคะแนนคุณลักษณะของครูภาษาอังกฤษ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ร้อยละ 23.46, 14.28, 22.95 และ 5.56 ตามลำดับ และสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มทดลองมีความคิดเห็นว่าเนื้อหาที่เรียนตามหลักสูตรสอดคล้อง กับความจำเป็นในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมากที่สุด และมีความคิดเห็นว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจเนื้อหา ทักษะ หรือการปฏิบัติเพิ่มขึ้นมากจากการเรียนตามหลักสูตรนี้ ยกเว้นมีทักษะทางด้านการพูดเพิ่มขึ้นปานกลาง กลุ่มทดลองให้สัมภาษณ์ว่าหลักสูตรนี้เป็นการทบทวนความรู้เดิม และเป็นการเตรียมตัวสำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูen
dc.description.abstractalternativeTo develop a standards-based curriculum in an English teaching competency enhancement course for teacher students. There were two steps in curriculum development process. Firstly, preliminary data were studied by documentary studying, interviewing and surveying opinions on essential standards for English language teachers from informants and weighing the English language teacher standards by experts. Secondly, the course curriculum and its supplementary documents were developed and to evaluate the developed curriculum by experts' validating and by implementing. The research findings were as follows 1. A course curriculum on English teaching competency enhancement with its supplementary documents were developed and proposed as an elective course in specific subject areas for English majored students, faculty of education, Rajabhat Institute. The curriculum identified English language teacher standards with 4 strands, 13 content standards and 88 performance standards as goals for developing students' English language competence, knowledge and understanding of English language instruction, cultures of English speaking countries and desirable characteristics of English language teachers. 2. The developed curriculum was evaluated at "good" level by experts and the results of implementation with the English majored students of faculty of education, Rajabhat Institute showed that the experimental group's posttest scores in English language competence, knowledge and understanding on English language instruction, knowledge and understanding on cultures of English speaking countries and characteristics of English language teachers were significantly higher than the pretest scores 23.46, 14.28, 22.95 and 5.56 percents respectively and higher than the pretest scores at .05 level. Moreover, most of experimental group expressed their opinions on the developed curriculum that the curriculum contents were aligned with their needs in practicum course and their gained knowledge and understanding of contents, skills and performances at "high" level except speaking skills. In interviewing the experimental group, it was found that the developed curriculum can help them review their background knowledge as well as enhance their English language teaching competencies.en
dc.format.extent7085040 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.464-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการวางแผนหลักสูตรen
dc.subjectภาษาอังกฤษ--หลักสูตรen
dc.subjectการศึกษา--มาตรฐานen
dc.subjectครูภาษาอังกฤษen
dc.subjectการสอนอย่างมีประสิทธิผลen
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดที่อิงมาตรฐานในรายวิชาเสริมสมรรถภาพ ในการสอนภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาครูen
dc.title.alternativeA development of the standards-based curriculum in an English teaching competency enhancement course for teacher studentsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาเอกen
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอนen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSumitra.A@chula.ac.th-
dc.email.advisorAlisara.C@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.464-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thepnakhorn.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.