Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4060
Title: ระดับซีรีแอกทีฟโปรตีนในคนไทยปกติและผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
Other Titles: C-reactive protein level in normal Thai subjects and patients with acute coronary syndrome
Authors: เอกรัตน์ ศิริคะรินทร์, 2510-
Advisors: สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์
นวพรรณ จารุรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: somkiat.s@chula.ac.th
Navapun.C@Chula.ac.th
Subjects: หลอดเลือดโคโรนารีย์ -- โรค
ซี-รีแอกทีฟโปรตีน
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาว่ามีความแตกต่างของระดับซีรีแอกทีฟโปรตีน ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และในคนไทยปกติเช่นเดียวกับที่พบในประชากรผิวขาวหรือไม่ วิธีการวิจัย : ผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วยอาการเจ็บหน้าอกภายใน 24 ชั่วโมง และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จะได้รับการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับซีรีแอกทีฟโปรตีน เลือดที่เจาะจะถูกรักษาไว้ที่อุณหภูมิลบ 20 องศาเซลเซียสและจะนำมาตรวจพร้อมกัน ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามผลหลังจากวันที่มาโรงพยาบาล 1 เดือนเพื่อเก็บข้อมูล สำหรับคนปกติซึ่งมาตรวจร่างกายประจำปี จะได้รับการสัมภาษณ์ถึงอายุ เพศ ตลอดจนการสูบบุหรี่เพื่อเลือกคนที่เข้ากันได้กับกลุ่มผู้ป่วย การเจาะเลือด การเก็บและการตรวจจะทำเช่นเดียวกับของกลุ่มผู้ป่วย ผลการวิจัย : การวิจัยประกอบด้วยผู้ป่วยและคนปกติกลุ่มละ 50 ราย ค่าเฉลี่ยของระดับซีรีแอกทีฟโปรตีนของผู้ป่วยสูงกว่าของคนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างของระดับซีรีแอกทีฟโปรตีนระหว่างกลุ่มผู้ป่วยแต่ละโรคอย่างมีนัยสำคัญ แต่เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของซีรีแอกทีฟโปรตีนระหว่างผู้ป่วยที่มีและไม่มีผลลัพธ์ทางคลินิกซึ่งได้แก่ การเข้าอยู่โรงพยาบาลซ้ำ การขยายเส้นเลือดหรือการต่อเส้นเลือด การเสียชีวิต และผลลัพธ์รวม พบว่ากลุ่มแรกมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่สองแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป ซีรีแอกทีฟโปรตีนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างคนปกติและผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างค่าเฉลี่ยของระดับซีรีแอกทีฟโปรตีนของผู้ป่วยที่มีและไม่มีผลลัพธ์ทางคลินิก บทบาทของซีรีแอกทีฟโปรตีนในการพยากรณ์โรคจึงยังไม่ชัดเจน
Other Abstract: Objective : To evaluate the difference of C-reactive protein (CRP) level between patients with acute coronary syndrome (ACS) and normal Thai subjects. Methods : Patients who visited King Chulalongkorn Memorial Hospital with acute coronary syndrome within 24 hours after onset of chest pain would have blood samples collected for CRP. All blood samples were stored at -20 degree celsius and were measured for CRP at the same time. We followed the patients at one month after admission. We interviewed normal Thai people who visited the hospital for routine check up for age, sex, and smoking status to match the patients. Blood samples of normal subjects were collected, stored, and measured as of the patients. Results : There 50 cases in each groups of patients and normal subjects. Mean CRP level of patients was significantly higher than that of normal Thai people. There was significantly difference of mean CRP level between unstable angina, non-Q-wave and Q-wave myocardial infarction. Mean CRP level of patients with positive outcomes (readmission, revascularization, death or combine outcome) was higher than that of patients with negative outcomes but not reached statistic significant. Conclusions : There was significant difference of CRP level between normal Thai people and patients. There was no significant difference between mean CRP level of patients with positive and negative outcomes. The role of CRP in predicting clinical outcome is still unclear.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4060
ISBN: 9743345809
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
akegarat.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.