Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40631
Title: ปัจจัยทำนายการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Predictors of alcohol consumption among vocational college students,bangkok metropolis
Authors: พรพิมล บัวสมบูรณ์
Advisors: นรลักขณ์ เอื้อกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Noraluk.U@Chula.ac.th
Subjects: นักเรียนอาชีวศึกษา
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การรับรู้ตนเองในวัยรุ่น
Vocational school students
Alcoholic beverages
Drinking of alcoholic beverages
Self-perception in adolescence
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัยรุ่นเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นมีความสำคัญซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจในพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพของวัยรุ่น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 440 คน เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการดื่มแอลกอฮอล์ แบบสอบถามความคาดหวังในผลลัพธ์เชิงบวกของการดื่มแอลกอฮอล์ แบบสอบถามความคาดหวังในผลลัพธ์เชิงลบของการดื่มแอลกอฮอล์ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์ แบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนจากครอบครัว แบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนจากเพื่อน ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และหาความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .91, .91, .93, .86 และ .83 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความคาดหวังในผลลัพธ์เชิงลบของการดื่มแอลกอฮอล์ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์ การรับรู้การสนับสนุนจากครอบครัว และการรับรู้การสนับสนุนจากเพื่อน มีความสัมพันธ์ทางลบกับการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนอาชีวศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.33, -.56, -.28, -.25) ตามลำดับ ส่วนความคาดหวังในผลลัพธ์เชิงบวกของการดื่มแอลกอฮอล์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .38) 2. ความคาดหวังในผลลัพธ์เชิงบวกของการดื่มแอลกอฮอล์ ความคาดหวังในผลลัพธ์เชิงลบของการดื่มแอลกอฮอล์ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธการดื่มแอลกอฮอล์ การรับรู้การสนับสนุนจากครอบครัว สามารถร่วมกันทำนายการดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานครได้ ร้อยละ 43.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการรับรู้การสนับสนุนจากเพื่อนไม่สามารถทำนายการดื่มแอลกอฮอล์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสร้างสมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z การดื่มแอลกอฮอล์ = -.416* Z การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิเสธ - .226* Z ความคาดหวังในผลลัพธ์เชิงลบ + .205* Z ความคาดหวังในผลลัพธ์เชิงบวก - .168* Z การรับรู้การสนับสนุนจากครอบครัว
Other Abstract: Adolescence is a period of transition between childhood and adulthood. The changes of adolescence have important implications for understanding the kinds of health risk to which young people are exposed. The purposes of this study were to examine the predictors influencing alcohol consumption among vocational college students, Bangkok Metropolis. The study sample included of 440 vocational college students, Bangkok metropolis. Subjects were selected by stratified random sampling. The instruments included the demographic data questionnaire, positive and negative alcohol expectancies questionnaire, drinking refusal self-efficacy questionnaire, perceived family and friend supports questionnaire and alcohol drinking habit questionnaire. The questionnaires were tested for content validity by a panel of five experts. The Cronbach’s alpha coefficients of the instruments were .91, .91, .93, .86, and .83, respectively. Descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation and stepwise multiple regression were used in statistical analysis. The results were as follows: 1. Negative alcohol expectancies, drinking refusal self-efficacy, perceived family and friend supports were negatively related to alcohol consumption among vocational college students (r = -.33, - .56, -.28 and -.25, p < .01, respectively) and positive alcohol expectancies were positive related with alcohol consumption (r = .38) 2. Positive and negative alcohol expectancies, drinking refusal self-efficacy, perceived family supports significantly predicted alcohol consumption among vocational college students, Bangkok metropolis (p < .05). The predictive power was 43.7% of total variance. While perceived friend supports could not predict alcohol consumption among (p < .05). The equation derived from the standardized score was: Alcohol consumption = -.416*Z drinking refusal self-efficacy - .226*Z negative alcohol expectancies + .205*Z positive alcohol expectancies - .168*Z perceived family supports.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2550
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/40631
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1406
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1406
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornpimol_Bu.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.