Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4081
Title: | ความชุกของแอนติบอดีต่อพาโวไวรัสบี 19 ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง |
Other Titles: | Seroprevalence of parvovirus B19 antibody in immunocompromised children |
Authors: | พรเทพ สวนดอก, 2515- |
Advisors: | ยง ภู่วรวรรณ ปัญญา เสกสรรค์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | yong.P@chula.ac.th fmedpse@md2.md.chula.ac.th |
Subjects: | พาโวไวรัส ผู้ป่วยเด็ก ภูมิคุ้มกัน |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของการติดเชื้อ parvovirus B19 ในผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง รูปแบบการวิจัย การวิจัยเชิงพรรณนา สถานที่ศึกษา หอผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง แผนกกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ประชากร ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อายุ 1-15 ปี ที่เข้ารับการศึกษาแบบผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ระหว่าง 1 มีนาคม พ.ศ. 2542 ถึง 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 วิธีการศึกษา ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง จำนวน 106 คน ได้รับการตรวจเลือด เพื่อหา anti-B19 parvovirus lgG โดยวิธี enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) ผลการศึกษา ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อายุ 1-15 ปี จำนวน 106 คน ได้รับการตรวจเลือดเพื่อหา anti-B19 parvovirus lgG พบว่ามีผลบวกทั้งสิ้น 17 คน คิดเป็น 16.04% โดยที่ตรวจพบว่ามีการติดเชื้อส่วนใหญ่ในกลุ่มผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายอวัยวะคิดเป็น 33.33% และมีค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.05, Duncan test) จากกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาสเตียรอยด์ (7.14%), กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด (12.24%) และกลุ่มผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเอดส์ (16%) อย่างไรก็ตามไม่มีความแตกต่างของอัตราการติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบโดยอายุและเพศ บทสรุป ผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องพบการติดเชื้อ parvovirus B19 ได้สูงในกลุ่มผู้ป่วยหลังปลูกถ่ายอวัยวะมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาสเตียรอยด์ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด และกลุ่มผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเอดส์ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้สูงในกลุ่มดังกล่าว ได้แก่ การได้รับยากดภูมิต้านทาน เช่น cyclosporine, cyclophosphamide, busulfan ขนาดสูง ตลอดจนการได้รับเลือดและผลิตภัณฑ์จากเลือดเป็นจำนวนมากขณะและหลังผ่าตัด |
Other Abstract: | Objective: To study the seroprevalence of parvovirus B19 infection in immunocompromised children. Design: Cross-sectional descriptive study. Setting: Pediatric immunocompromised patient unit, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok. Patients: Immunocompromised children, aged 1-15 years old admitted to pediatric immunocompromised patient unit, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok during 1 March 1999 to 1 February 2000. Method: Serum anti-B19 parvovirus lgG was tested by enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA). Result: Of 106 immunocompromised children, anti-B19 lgG was positive in 17 patients (16.04%). The post organ transplant group has highest seropositivity (33.33%) which statistically different (p=0.05, Duncan test) from other group (7.14% in the corticosteroid group, 12.24% in the chemotherapy and 16% in HIV-positive group). There is no statistical significant difference in parvovirus B19 infection among difference age and sex groups. Conclusion: In immunocompromised children, the prevalence of parvovirus B19 infection is low, although highest in the post organ transplant group. The potent immunosuppressive drugs such as cyclosporine, cyclophosphamide and busulfan and multiple blood component transfusions are the major risk factors contributed to parvovirus B19 infection in this group of patient |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | กุมารเวชศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4081 |
ISBN: | 9743339191 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
porntep.pdf | 2.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.