Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4084
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุลักษณ์ ศรีบุรี-
dc.contributor.authorณัฐยา ทิพรัตน์, 2512--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.coverage.spatialสงขลา-
dc.date.accessioned2007-09-14T02:58:59Z-
dc.date.available2007-09-14T02:58:59Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741312997-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4084-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractศึกษาความคิดเห็นของครูผู้สอนและปราชญ์ชาวบ้าน ในการจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปศึกษา โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในด้านการเตรียมการสอน การกำหนดวัตถุประสงค์การสอน การเลือกใช้วิธีและเทคนิคการสอน การใช้สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การสอนซ่อมเสริม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ครูผู้สอนศิลปศึกษาจำนวน 84 คน และปราชญ์ชาวบ้านจำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ด้านเนื้อหา ผลการวิจัย 1. ครูผู้สอนวิชาศิลปศึกษาส่วนใหญ่เห็นด้วยมาก ในการจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปศึกษา โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น "หนังตะลุง" ทั้ง 6 ด้าน คือ การเตรียมการสอน การกำหนดวัตถุประสงค์ การเลือกวิธีและเทคนิคการสอน การใช้สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การสอนซ่อมเสริม 2. ปราชญ์ชาวบ้านเห็นด้วยมากในการนำศิลปะพื้นบ้านทางด้านหนังตะลุง มาจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนโดยเน้นการสอนทางด้านการแสดงหนังตะลุง และการแกะรูปหนังตะลุง สถานที่ใช้ในการเรียนการสอน เน้นการสอนที่โรงเรียนมากกว่าที่บ้าน วิธีการสอนควรเน้นการสอนแบบสาธิต การวัดและประเมินผลโดยการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ผู้เรียนควรสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติเองได้ 3. ผลจากการสังเกตการสอนของครูและปราชญ์ชาวบ้านในโรงเรียน พบว่า ใช้วิธีการสอนแบบบรรยายสลับการสอนแบบสาธิต และแบ่งกลุ่มปฏิบัติงาน โดยครูผู้สอนควรเรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน และนำปราชญ์ชาวบ้านมาถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนโดยตรง การสอนจะเปิดสอนในคาบชุมนุม (กิจกรรมซ่อมเสริม) และเปิดเป็นวิชาเลือก นักเรียนที่สนใจส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มากกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย สถานที่สอนส่วนใหญ่ใช้ห้องเรียนที่อยู่ภายในอาคารเรียน ครูและปราชญ์ชาวบ้านสอนเรื่องของการแสดงและการแกะรูปหนังตะลุง สอนในเนื้อหาที่เห็นว่าสำคัญ และการสังเกตการแสดงหนังตะลุงจากการแสดงสดและเทปบันทึกการแสดง ลำดับขั้นตอนวิธีการแสดงไม่แตกต่างกัน แต่จะต่างกันที่บรรยากาศ การชมได้ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังการแสดง การแกะรูปหนังตะลุงไม่ยากจนเกินไป ผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้ 4. ครูศิลปศึกษาและปราชญ์ชาวบ้านได้ใช้ข้อเสนอแนะว่า ศิลปะพื้นบ้านทางด้านหนังตะลุงเป็นศิลปะที่ควรอนุรักษ์และสืบทอด ควรมีการนำเข้าสู่กระบวนการการจัดการศึกษาในโรงเรียนต่างๆ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ระดับประถม-อุดมศึกษาโดยให้มีการเรียนการสอน ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติและเป็นการสอนให้เห็นคุณค่าศิลปะพื้นฐานทางด้านหนังตะลุง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ ชื่นชม และมีความตระหนักในคุณค่าอันนำไปสู่การอนุรักษ์และสืบทอดต่อไปen
dc.description.abstractalternativeTo study the opinions of teachers and local scholars about the instructional management of art education subject by using the local wisdom in the lower secondary schools in aspects of the preparation of teaching, the organization of teaching objectives, the consideration in choosing teaching methods and techniques, the use of teaching materials, the measurement and evaluation, and remedial teaching. The samples of this study were 84 art teachers and 6 local scholars. The instruments used in this research were the questionnaire, the interview form, and the observation form. The collected data were analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation, and content analysis technique. The results of the research were revealed that 1. Most of the art teachers strongly agreed with all 6 aspects of the instructional management of art education subject by using the local wisdom: the preparation of teaching, the organization of teaching objectives, the consideration in choosing teaching methods and techniques, the use of teaching materials, the measurement and evaluation, and remedial teaching. 2. The local scholars strongly agreed with the instructional management of the shadow plays in school. They held the opinions that: The instruction should focus on performance process and shadow plays puppet making. The shadow plays should be taught at school rather than at home. Demonstrative teaching technique should be emphasized. Students should be measured and evaluated by behavioral observation. It is expected that students could practice the art of shadow plays by themselves. 3. According to the observation of art teachers in teaching in schools it was found that: The alternation of lecturing, demonstrative teaching technique, and group working were used. Teachers should learn from the scholars and invite the scholars to classroom in order to directly transmit the knowledge to students. Shadow plays should be offered as an elective subject as part of co-curriculum course (remedial activities). The lower secondary students were more interested in shadow plays than the upper secondary students. Shadow plays was mostly taught in indoor classroom. Teachers and local scholars taught the important parts of shadow plays which were the performance process and shadow plays puppet making the result of the observation of shadow plays performances revealed that the process and sequence of performance were not different except the atmosphere of performance. The audiences of shadow plays could see the performance from both backstage and fronstage. The puppet making was not difficult for students to practice. The students should be able to apply knowledge to practical practice. 4. The art teachers and the local scholars suggested about the reservation and transmission of the shadow plays that the shadow plays should be taken into school system and should be taught continuously from the elementary education level to the higher education level. The instruction should be provided both the theory and the practical practice. Itshould be focused on introducing the value of local art of shadow plays so that the students would gain knowledge and appreciation, realized the value, and then to have senses of conservation and transmission to another generation.en
dc.format.extent3149086 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.460-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en
dc.subjectภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย -- สงขลาen
dc.subjectหนังตะลุงen
dc.titleการศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาศิลปศึกษา โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น "หนังตะลุง" ในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสงขลาen
dc.title.alternativeA study of the instructional managemetn of art education subject by using the local wisdom "Shadow plays" in the lower secondary schools under the Department of General Education, Changwat Songkhlaen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineศิลปศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSulak.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.460-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattaya.pdf2.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.