Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41128
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรพล สุดารา | - |
dc.contributor.author | กฤษณ อินทรสุข | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2014-03-18T02:21:07Z | - |
dc.date.available | 2014-03-18T02:21:07Z | - |
dc.date.issued | 2542 | - |
dc.identifier.isbn | 9743346953 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41128 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 | en_US |
dc.description.abstract | ศึกษาการกระจายและความหลากหลายของกลุ่มสัตว์ทะเล ที่อาศัยในแหล่งหญ้าทะเลที่อ่าวปัตตานี โดยใช้วิธีการศึกษาตามโครงการ ASEAN-Australia Marine Science : Living Coastal Resources เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของกลุ่มสัตว์ทะเล ในแหล่งหญ้าทะเลบริเวณอ่าวปัตตานี ในพื้นที่ต่างกัน 3 บริเวณ คือ บริเวณแหล่งหญ้าทะเลที่มีหญ้าทะเลชนิดเดียว แหล่งหญ้าทะเลที่มีหญ้าทะเลหลายชนิดขึ้นปนกันและพื้นที่ที่ไม่มีหญ้าทะเล และหาความสัมพันธ์กันระหว่างแหล่งที่อยู่กับกลุ่มสัตว์ทะเล ศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2540 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2541 พบกลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ 31 กลุ่ม กลุ่มที่เด่น คือ Copepods ลูกกุ้ง และลูกปู กลุ่ม Polychaetes พบ 58 สกุล 28 ครอบครัว โดยพบพวก Ceratonereis sp., Aglophamus spp., Prionospio spp. และ Euclymene sp. มาก ในกลุ่มหอยฝาเดียว พบ 36 ชนิด 22 ครอบครัว ชนิดที่พบมาก เช่น Fairbankia sp., Stenothyra sp., Melanoides spp. เป็นต้น พบหอยงาช้างสกุล Dentalium 2 ชนิด และปลาหมึก 1 ชนิด ส่วนหอยสองฝาพบทั้งสิ้น 52 ชนิดจาก 23 ครอบครัว ชนิดที่พบมากคือ Lucina sp., Branchidontes striatulus และ Donax sp. พบกลุ่มครัสเตเซียนพบ 50 ชนิด 26 ครอบครัว กลุ่มที่พบเด่นมากคือ กลุ่ม Amphipods โดยเฉพาะชนิด Quadrivisio bengalensis ส่วนกลุ่มครัสเตเซียนชนิดที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ พบทั้งในระยะวัยรุ่นและตัวเต็มวัย ชนิดที่พบมาก เช่น กุ้งกุลาลาย (Penaeus semisulcatus) กุ้งแชบ๊วย (P.merguiensis) กุ้งหัวมัน (Metapenaeus spp.) และปูม้า (Portunus pelagicus) เป็นต้น ในกลุ่ม Echinoderms พบเพียง 3 ชนิด กลุ่มเด่นคือ Ophiotrix sp. กลุ่มปลาที่พบในการศึกษาครั้งนี้มี 103 ชนิด จาก 43 ครอบครัว กลุ่มที่พบมากที่สุด คือ ปลาบู่ (Acentrogobius viganensis) ปลาแป้นกระจก (Ambassis kopsii) ปลาสลิดทะเล (Siganus spp.) ชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาข้างตะเภา (Pelates quadrilineatus) ปลาเก๋า (Epinephelus spp.) ปลากะพงขาว (Lates calcarifer) ปลากะพงแดง (Lutjanus spp.) ปลากระบอก (Chelon Spp.) และปลากะตัก (Stolephorus spp.) เป็นต้น ปลาที่พบส่วนใหญ่เป็นระยะวัยรุ่นและระยกึ่งเต็มวัย จากการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าแหล่งหญ้าทะเล ที่มีหญ้าหลายชนิดขึ้นปนกันจะมีความหลากหลาย ของชนิดและความชุกชุมของสัตว์ทะเลมากกว่าแหล่งหญ้าทะเล ที่มีหญ้าทะเลชนิดเดียวและพื้นที่ที่ไม่มีหญ้าทะเล (P<0.05) ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสัตว์กับแหล่งที่อยู่อาศัย พบว่าบริเวณที่มีความซับซ้อนของแหล่งที่อยู่ย่อยๆ (Micro-habitat) มาก จะพบจำนวนชนิดและความชุกชุมของกลุ่มสัตว์ต่างๆ มาอาศัยมาก นอกจากนี้ยังพบว่าความแตกต่างของอนุภาคตะกอนดิน จะมีบทบาทที่สำคัญในการกำหนดชนิดและการกระจาย ของชนิดหญ้าทะเลและสัตว์หน้าดิน โดยจะพบสัตว์หน้าดินกลุ่มที่กินอินทรียสารในตะกอนดิน (Deposit feeder) มากในบริเวณที่มีอนุภาคตะกอนดินขนาดเล็ก (Silt และ Clay) มาก ในขณะที่พวกกลุ่มที่กินอาหารพวกอินทรียสารที่แขวนลอยอยู่ในมวลน้ำ (Suspension feeder) จะพบมากในบริเวณที่มีอนุภาคตะกอนดินขนาดใหญ่ (ทราย หรือทรายปนโคลน) | en_US |
dc.description.abstractalternative | The seasonal distribution and diversity of marine fauna in seagrass beds at Pattani Bay were investigated using the techniques developed for the ASEAN-Australia Marine Science: Living Coastal Resources Project, from November 1997 to November 1998. Mainly, the objective is to compare the marine fauna between three study sites, comprising of a monospecific seagrass bed, a mixed-species seagrass bed, and a site with no seagrass present. In addition, the study aims at determining the relationship between various habitats and their associated fauna. The results of this study reveal a total of 31 groups of zooplanktons dominated notably by copepods, shrimp larvae, and brachyuran zoea. Furthermore, 58 genera, from 28 families, of polychaetes were recorded, consisting predominantly of Ceratonereis sp., Aglaophamus spp., Prionospio spp., and Euclymene sp. Among the 36 species, from a total of 22 families, the common species of gastropods recorded were Fairbankia sp., Stenothyra sp., and Melanoides spp. Fifty two species, from 23 families of pelecypods, were recorded with the dominant groups being Licina sp., Bachidontes stristulus, Tellina sp., and Donax sp. A total of 26 families, encompassing 50 species, of crustaceans were recorded. Among the 50 species, the dominant species were Quadrivisio bengalensis, Penaeus semisulcatus, P.merguiensis, Metapenaeus spp., and Portunus pelagicus. The only species of Echinoderm that was recorded was Ophiotrix sp. The groups of fishes recorded from the study areas were consisted of 103 species, from 43 families, with Acentrogobius viganensis, Ambassis kopsii, and Siganus spp. being the dominant species. Moreover, the majority of the fishes that were recorded was in juvenile stage and was of economic importance, such as Pelates quadrilineatus, Epinephelus spp., Lates calcarifer, Lutjanus spp., Chelon spp., and Stolephorus spp. Ultimately, it can be concluded from this study that the diversity and the abundance of the marine fauna were relatively higher in mixed-species seagrass bed compared to monospecific seagrass bed and the area with no seagrass present (P<0.05). This is largely due to the presence and complexity of micro-habitats in mixed-species seagrass bed. The characteristics of the sediment also play an important role in determining the species composition and distribution of benthic fauna on seagrass beds. Deposit feeders are found in areas composed of silt and clay while suspension feeders are mostly found where the substratum is composed of sand or sandy mud | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | Seagrasses | en_US |
dc.subject | Seagrass bed | en_US |
dc.subject | Marine fauna | en_US |
dc.subject | หญ้าทะเล | en_US |
dc.subject | แหล่งหญ้าทะเล | en_US |
dc.subject | สัตว์ทะเล | en_US |
dc.title | การกระจายและความหลากหลายของสัตว์ทะเลตามฤดูกาลในแหล่งหญ้าทะเล ที่อ่าวปัตตานี | en_US |
dc.title.alternative | Seasonal distribution and diversity of marine fauna in seagrass beds at Pattani Bay | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์ทางทะเล | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Suraphol.S@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Krissana_In_front.pdf | 270.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Krissana_In_ch1.pdf | 492.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Krissana_In_ch2.pdf | 539.46 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Krissana_In_ch3.pdf | 3.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Krissana_In_ch4.pdf | 668.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Krissana_In_ch5.pdf | 206.14 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Krissana_In_back.pdf | 5.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.