Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4114
Title: การย่อยสลายไพรีนและสารประกอบพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นโดยกลุ่มแบคทีเรียที่แยกได้จากใบพืชตระกูลถั่ว
Other Titles: Pyrene and other polycyclic aromatic hydrocarbons degradation by a bacterial consortium isolated from leguminous leaves
Authors: จิรทีปฆ์ แสนรัก, 2518-
Advisors: กาญจนา จันทองจีน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะิวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Jkanchan@chula.ac.th
Subjects: ไพรีน
การย่อยสลายทางชีวภาพ
ใบไม้ -- จุลชีววิทยา
พืชตระกูลถั่ว
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ใบไม้เป็นทั้งที่รองรับสารประกอบพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่ปนเปื้อนจากอากาศและที่อาศัยของแบคทีเรียบางชนิด การเติมเศษใบไม้จากจามจุรีและมะขามลงในดินที่ถูกทำปนเปื้อนไพรีนและฟีแนนทรีน พบว่าสามารถลดสารทั้งสองชนิดที่ความเข้มข้นสูงได้ ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากการทำงานของแบคทีเรียที่อยู่บนเศษใบไม้ที่เติมเข้าไป ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งคัดแยกกลุ่มแบคทีเรียที่สามารถย่อยไพรีนได้จากเศษใบจามจุรีใบมะขามและใบกระถินณรงค์ พบว่ากลุ่มแบคทีเรีย RRM-V3 จากใบจามจุรีมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงเลื่อกมาศึกษาต่อ กลุ่มแบคทีเรียนี้สามารถย่อยสลายไพรีนได้หมดภายในเวลา 14 วัน ใช้เวลาปรับตัว 2 วัน จากนั้นย่อยสลายไพรีนเฉลี่ยสูงสุด 14.83+-0.80 มก.ต่อลิตรต่อวัน(ช่วงวันที่ 3 ถึง 5) และสามารถย่อยสลายอะซีแนพธีน ฟลูออรีน ฟีแนนทรีน และฟลูออแรนทีนเฉลี่ย 9.83+-1.67, 12.83+-1.67, 9.40+0.40 และ 3.30+-2.00 มก.ต่อลิตรต่อวัน ตามลำดับ แต่ไม่ย่อยสลายอะซีแนพธิลีน แอนทราซีน ไครซีน และ เบนโซ(เอ)ไพรีน ทั้งการย่อยสลายเพียงชนิดเดียวและแบบโคเมตาบอลิสมร่วมกับไพรีน ซีแนพธิลีนทำให้แบคทีเรียตายภายใน 14 วัน ทำให้ไพรีนไม่ถูกย่อยสลายส่วนแอนทราซีน ไครซีน และเบนโซ (เอ)ไพรีน ไม่ยับยั้งการย่อยสลายไพรีนด้วยกลุ่มแบคทีเรียนี้สามารถแยกเชื้อบริสุทธิ์ในกลุ่มแบคทีเรียนี้ได้อย่างน้อย 7 ชนิด โดยจัดอยู่ใน 4 สกุล ได้แก่ สกุล Comamonas, Rugamonas, Flavimonas, Pseudomonas และส่วนที่เหลือไม่สามารถจำแนกได้ ซึ่งพบว่าทั้งหมดไม่สามารถย่อยสลายไพรีนได้ไม่ว่าจะเป็นชนิดบริสุทธิ์หรือเชื้อผสม 7 ชนิด จากผลการทพลองสนับสนุนว่าการย่อยสลายสารประกอบพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนจากการเติมใบพืชตระกูลถั่วเกิดจากการทำงานของกลุ่มแบคทีเรียที่อาศัยอยู่และย่อยสลายบนใบไม้
Other Abstract: Leaf is a site for both accumulation of polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) which polluted the air and a habitat of some epiphytic bacteria. Additions of the leaf materials from rain tree, tamarind and yellow frame are proved capable of enhancing of phenanthrene and pyrene degradation in the spiked soil (1mg/g each PAHs) samples. This degradation is possibly due to the activity of the organisms inherent to the leguminous leaves. Thus the objective of this research is to isolate pyrene degrading bacterial consortium from decay leguminous leaf materials. A number of consortia were isolated by enrichment culture technique from rain tree, tamarind and wattle. Among these, RRM-V3 consortium possessing the highest degradable level upon HPLC analysis within 14 days using 2 days lag time with the highest degradable rate mean of 14.83+-0.80 mg/L/day (day 3-5). The consortium was found to be capable of degrading a range of PAHs including acenaphthene, fluorine, phenanthrene, and fluoranthene by 9.83+-1.67, 12.83+-1,67,9.40+-0.40 and 3.30+-2.00 mg/L/day respectively, but not against acenaphthylene, antrancene, chrysene and benzo(a)pyrene both metabolically and co-metabolically with pryrene. In the case of cometabolism with pyrene, acenaphthylene, the compound caused bacterial cells death after 14-day of incubation thus inhibit pyrene degradation. Morpholgical and biochemical characteristics were used to identify 7 pure cultures which at least purified from the consortium. They were assigned belonging to in 4 genera including Comamonas, Rugamonas, Flavimonas, Pseudomonas and unidentified bacterium. It also found that each individual organism by itself or mixed culture are not capable of degrading pyrene. It is therefore that the enhanced efficiency upon the addition of the addition of the decay leguminous leaf materials is due to the activity of adhesive and decomposing bacterial consortia
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4114
ISBN: 9741760523
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jiratheepk.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.