Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4120
Title: | ผลร่วมของภาวะร้อนและภาวะแล้งต่อการเติบโต ปริมาณรงควัตถุในการสังเคราะห์ด้วยแสงและการแสดงออกของยีนฮีตช็อคโปรตีนในถั่วเหลือง Glycine max (L.) Merrill |
Other Titles: | Combined effects of heat and drought conditions on growth, photosynthetic pigment content and heat shock protein gene expression in soybean Glycine max (L.) Merrill |
Authors: | ณภัศศรณ์ ปัญญาสุข, 2522- |
Advisors: | ปรีดา บุญ-หลง ศุภจิตรา ชัชวาลย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Preeda.b@chula.ac.th Supachitra.C@Chula.ac.th |
Subjects: | ถั่วเหลือง -- การเจริญเติบโต |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาผลของภาวะร้อน ภาวะแล้ง และผลร่วมของภาวะทั้งสองในถั่วเหลือง Glycine max (L.) Merrill 2 พันธุ์ คือพันธุ์ มข. 35 และ สจ. 5 ในระยะต้นกล้า โดยให้ต้นล้าได้รับภาวะร้อนจากการได้รับอุณหภูมิ 25 35 และ 40 องศาเซลเซียส และได้รับภาวะแล้งจากสารละลายธาตุอาหารที่มีโพลีเอธิลีนไกลคอล 6000 ความเข้มข้น 0 แล 5 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 0 3 6 วัน และหลังจากกลับมาได้รับน้ำและอุณหภูมิปกติเป็นเวลา 3 วัน ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าภาวะร้อนร่วมกับภาวะแล้งส่งผลทำให้ปริมาณน้ำสัมพัทธ์ การเติบโต ได้แก่ พื้นที่ใบ น้ำหนักสดและแห้งของต้นและราก ความสูงต้น และปริมาณรงควัตถุในการสังเคราะห์ด้วยแสงในถั่วเหลืองทั้งสองพันธุ์ลดลงต่ำ กว่าการได้รับภาวะร้อนหรือภาวะแล้งเพียงอย่างเดียว โดยภาวะแล้งร่วมกับภาวะร้อนที่อุณหภูมิ40 องศาเซลเซียสร่วมกับภาวะแล้งส่งผลทำให้ปริมาณน้ำสัมพัทธ์ การเติบโตและปริมาณรงควัตถุ ในการสังเคราะห์ด้วยแสงลดลงมากที่สุด และเมื่อเปรียบผลของภาวะร้อนกับภาวะแล้งในระหว่างถั่วเหลืองทั้งสองพันธุ์พบว่าถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 ที่ได้รับภาวะร้อนร่วมกับภาวะแล้งมีการลดลงของการเติบโตน้อยกว่าพันธุ์ สจ.5 ที่ได้รับภาวะเดียวกัน ในขณะที่ถั่วเหลืองพันธุ์ สจ.5 มีการลดลงของปริมาณรงควัตถุในการสังเคราะห์ด้วยแสงน้อยกว่าพันธุ์มข.35 ที่ได้รับภาวะเดียวกัน ส่วนการเพราะเมล็ดที่อุณภูมิสูงทำให้ถั่วเหลืองทั้งสองพันธุ์มีการงอกของเมล็ดที่เร็วกว่า และมีการเติบโตและปริมาณรงควัตถุในการสังเคราะห์ด้วยแสงดีกว่าการเพาะเมล็ดที่อุณหภูมิปกติ ส่วนการศึกษาการแสดงออกของยีน Hsp70 พบว่าถั่วเหลืองที่ได้รับภาวะร้อนที่ 40 องศาเซลเซียสมีการแสดงออกของยีน Hsp70 มากขึ้นในชั่วโมงที่ 2 และ 4 เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม และเมื่อถั่วเหลืองได้รับภาวะร้อนที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียสร่วมกับภาวะแล้งมีผลทำให้การแสดงออกของยีน Hsp70 น้อยกว่าเมื่อได้รับภาวะร้อนที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าภาวะร้อนร่วมกับภาวะแล้งส่งผลกระทบต่อการเติบโตของถั่วเหลืองมากกว่าการได้รับภาวะร้อนหรือภาวะแล้งเพียงอย่างเดียว โดยถั่วเหลืองพันธุ์ มข.35 มีความสามารถทน ต่อภาวะร้อนร่วมกับภาวะแล้งได้ดีกว่าพันธุ์ สจ.5 |
Other Abstract: | Heat and drought responses in two soybean Glycine max (L.) Merrill cultivars, MK.35 and SJ.5 were investigated. Temperatures at 25, 35 and 40 ํC were used for heat treatment and polyethylene glycol (PEG) 6000 at concentration of 0% and 5% added into nutrient solution were used for drought treatment. The responses were detected on day 0, 3, and 6 after heat and drought stresses and day 3 after returning to normal temperature and rewatering. The results showed that combination of heat and drought treatment in both cultivars increased reduction of relative water content, leaf area, shoot height, root lengthy, fresh and dry weights of shoot and root and photosynthetic pigment content more than each treatment alone while the combination of 5% PEG and temperature at 40 ํC caused the most reduction in all parameters in both cultivars. Comparison of heat and drought combined effects between two cultivars showed that MK.35 showed less decrease in relative water content and growth parameters while SJ. 5 showed lessdecrease in photosynthetic pigment content. Germination at high temperature increased the germination rate and helped both soybean cultivars to tolerate the combination of heat and drought treatments more than germination at normal temperature. The heat shock protein 70 gene (Hsp70) was induced after 2-4 hours of heat treatment at 40 ํC. High temperature at 40 ํC with additional drought showed lower expression of Hsp70 gene. Based on the data, it was suggested that MK. 35 was more tolerant to combination of heat and drought conditions than SJ.5 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พฤกษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4120 |
ISBN: | 9741759312 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Napassorn.pdf | 3.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.