Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41348
Title: | ผลของว่านชักมดลูก (Curcuma comosa ROXB.) ต่อการทำงานและการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของหลอดเลือดแดงใหญ่ในหนูขาวที่ถูกผ่าตัดรังไข่ออก |
Other Titles: | Effect of Curcuma comosa ROXB. on functional and pathological changes of aorta in ovariectomized rats |
Authors: | ฉัตราภรณ์ ซิ้มฉันท์ |
Advisors: | สุพัตรา ศรีไชยรัตน์ สมลักษณ์ พวงชมภู |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ว่านชักมดลูก (Curcuma comosa Roxb.) เป็นสมุนไพรพื้นบ้านของประเทศไทยที่สามารถออกฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนและลดไขมันในเลือดได้ การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นศึกษาผลขอว่ายชักมดลูกต่อการทำงานและการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของหลอดเลือดแดงใหญ่ในหนูขาวที่ถูกผ่าตัดรังไข่ออกทำการศึกษาในหนูขาวเพศเมียพันธุ์ Sprague-Dawley ที่แบ่งเป็น 6 กลุ่มโดยการสุ่ม กลุ่มแรกถึงกลุ่มที่ 5 จะถูกผ่าตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้างออก ส่วนกลุ่มที่ 6 จะถูกผ่าตัดหลอก หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ เริ่มการทดลองให้ยาโดยที่หนูกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 6 เป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับน้ำมันข้าวโพดทดแทนโดยฉีกเข้าบริเวณใต้ผิวหนัง ขนาด 1 มล./กก./วัน กลุ่มที่ 2 จะได้รับเอสตราไดออล วาเลอเรต ฉีดเข้าใต้ผิวหนังในขนาด 300 มค.ก./กก./วัน กลุ่มที่ 3, 4 และ 5 จะได้รับสารสกัดว่านชักมดลูกขนาด 100, 250 และ 500 มก./กก./วันตามลำดับ หลังจากทำการทดลองเป็นเวลา 28 วัน ทำการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อนำไปวิเคราะห์หาระดับคอเลสเตอรอลทั้งหมด, ไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลชนิดดี ส่วนหลอดเลือดแดงใหญ่จะนำไปศึกษาการทำงานและพยาธิสภาพ จากผลการทดลองพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าคอเลสเตอรอลทั้งหมดและคอเลสเตอรอลชนิดดีในกลุ่มที่ถูกผ่าตัดรังไข่ออกแต่สารสกัดว่านชักมดลูกในขนาด 100 และ 250 มก. ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลงได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการทำงานของหลอดเลือดพบว่าไม่มีความแตกต่างในการหดตัวเมื่อทดสอบด้วย norepinephrine และการคลายตัวแบบไม่อาศัยการทำงานของเยื่อยุหลอดเลือด เมื่อทดสอบด้วย sodium nitroprusside แต่พบว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดว่านชักมดลูกทั้ง 3 ขนาด และกลุ่มที่ได้รับเอสโตรเจนมีแนวโน้มว่าการคลายตัวของหลอดเลือดแบบอาศัยการทำงานของเยื่อบุหลอดเลือดเมื่อทดสอบด้วย acetylcholine นั้นดีขึ้นได้นอกจากนี้กลุ่มที่ได้รับสารสกัดว่านชักมดลูกและกลุ่มที่ได้รับเอสโตรเจนมีลักษณะทางพยาธิสภาพของหลอดเลือดดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ถูกตัดรังไข่ และไม่พบกลุ่มก้อนไขมันและเซลล์เม็ดเลือดขาวแทรกตัวอยู่ในเซลล์ของหลอดเลือด ผลการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าว่านชักมดลูกมีผลดีต่อระบบหลอดเลือดในสัตว์ทดลองที่ขาดเอสโตรเจนเนื่องจากการผ่าตัดรังไข่ออก โดยไปลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด และทำให้การทำงานและพยาธิสภาพภายในเซลล์ของหลอดเลือดดีขึ้น |
Other Abstract: | Curcuma comosa Roxb. (Wan Chak Mod Luk) is an indigenous herb of Thailand. It has previously been identified as estrogenic-like and lowering-lipid effects. In this study, The effects of C. comosa on functional and pathological changes of thoracic aorta in ovariectomized rat were investigated. 60 Female Sprague-Dawley were randomly assigned to six groups. Group 1 to group 5 were bilaterally ovariectomy and group 6 was sham-operated. 3 weeks later, group 1 and group 6 were subcutaneously administered with corn oil as control (OVX+OIL and SHAM+OIL). Group 2 was subcutaneously administered with 300 ug/kg/day estradiol valerate (OVX+E2). The other 3 groups were orally administered with ethanolic extract of 100, 250 and 500 mg/kg/day C. comosa respectively. After 4 weeks, The blood samples were collected for analysis of serum lipid parameters. The isolated thoracic aorta was examined for vascular functional and pathological changes. No significant differences in serum cholesterol and HDL cholesterol in the OVX groups were found, whereas, serum triglycerides was significantly decreased in C. comosa-treated groups. There was no significant difference in the norepinephrine-induced vascular contraction in all experiment groups. The endothelium-dependent relaxation to acetylcholine (10-9-10-4M) was impaired in the OVX+OIL group and restored in C. comosa-treated group and estrogen-treated group, whereas, endothelium-independent relaxation to sodium nitroprusside (10-9-10-4M) was not significantly difference in C. comosa-treated group. Normal endothelial cells in C. comosa-treated group and estrogen-treated group were observed. In contrast, vessel from the OVX+OIL group showed impaired endothelium. Foam cells and monocytes were found in media layer. These results indicate that C. comosa had beneficial effect on cardiovascular system in ovariectomized rate through attenuating impaired function and vascular cells structure. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชวิทยา (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41348 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.886 |
ISBN: | 9741426542 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.886 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chattraporn_si_front.pdf | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chattraporn_si_ch1.pdf | 962.63 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chattraporn_si_ch2.pdf | 4.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chattraporn_si_ch3.pdf | 1.61 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chattraporn_si_ch4.pdf | 2.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chattraporn_si_ch5.pdf | 2.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chattraporn_si_back.pdf | 6.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.