Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41352
Title: Development of new voltammetric sensing systems and analytical mehods as applied to flow injection liquid charomatography and microchip capillary electrophoresis
Other Titles: การพัฒนาระบบรับรู้และวิธีการวิเคราะห์แบบโวลแทมแมทริกสำหรับประยุกต์กับระบบโฟลว์อินเจ็คชันลิควิดโครมาโทรกราฟีและไมโครชิฟคะพิลลารีอีเล็กโทรโฟเรซีส
Authors: Weena Siangproh
Advisors: Orawan Chailapakul
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Science
Issue Date: 2006
Publisher: Chulalongkorn University
Other Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งความสำคัญไปที่การพัฒนาโวลแทมเมริกดีเทคเตอร์ชนิดใหม่สำหรับระบบของไหล โดยแบ่งงานวิจัยออกเป็นสองส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่งการพัฒนาโวลแทมเมริกดีเทคเตอร์ชนิดใหม่โดยใช้ขั้วไฟฟ้าฟิล์มบางโบรอนโดปไดมอนต์สำหรับสารประกอบไทออลกับการประยุกต์ทางโฟลว์อินเจคชันและไฮเพอร์ฟอร์มานส์ลิควิคโครมาโทกราฟี ในการศึกษาเบื้องต้นได้ทำการศึกษาการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีไฟฟ้าของยาที่มีหมู่ไทออลเป็นองค์ประกอบที่ขั้วไฟฟ้าฟิล์มบางโบรอโดปไดมอนด์ด้วยไซคลิกโวลแทมเมทรี เปรียบเทียบผลการทดลองที่ได้กับขั้วไฟฟ้ากลาสสิคาร์บอน พบว่าขั้วไฟฟ้าฟิล์มบางโบรอนโดปไดมอนด์ให้ผลของสัญญาไซคลิกโวลแทมโมเกรมสำหรับปฏิกิริยาออกซิเดชันของยาที่มีหมู่ไทออลเป็นองค์ประกอบแบบไม่ผันกลับที่ชัดเจนและให้ค่ากระแสไฟฟ้าที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับขั้วไฟฟ้ากลาสสิคาร์บอน จากนั้นได้นำระบบโฟลว์อินเจคชันซึ่งต่อกับขั้วไฟฟ้าฟิล์มบางโบรอนโดปไดมอนด์ไปประยุกต์สำหรับการวิเคราะห์ปริมาณยาที่มีหมู่ไทออลเป็นองค์ประกอบในสารมาตรฐานและสารตัวอย่างยาเตรียม จากการศึกษาเปอร์เซ็นต์การกลับคืนของสารมาตรฐานที่เติมลงในสารตัวอย่างพบว่าได้ผลการทดลองในช่วง 95 ถึง 110 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของโฮโมซีสเทอีนที่ขั้วไฟฟ้าฟิล์มบางโบรอนโดปไดมอนด์แบบที่ยังไม่ผ่านกระบวนการออกซิไดซ์และแบบที่ผ่านกระบวนการออกซิไดซ์ โดยใช้เทคนิคไซคลิโวลแทมเมทรี จากการทดลองพบว่าในภาวะที่สารละลายมีฤทธิ์เป็นกรดโฮโมซีสเทอีนสามารถเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ เฉพาะกรณีที่ใช้ขั้วไฟฟ้าฟิล์มบางโบรอนโดปไดมอนด์แบบที่ผ่านกระบวนการออกซิไดซ์เท่านั้น ที่ภาวะสารละลายมีฤทธิ์เป็นเบสโฮโมซีสเทอีนสามารถเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสองแบบ และจากการนำระบบโฟลว์อินเจคชันและไฮเพอร์ฟอร์มาส์ลิควิคโครมาโทกราฟีต่อกับขั้วไฟฟ้าฟิล์มบางโบรอนโดปไดมอนด์แบบที่ผ่านกระบวนการออกซิไดซ์ พบว่าขั้วไฟฟ้าฟิล์มบางโบรอนโดปไดมอนด์ให้สัญญาณที่มีความแตกต่างกันน้อยกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ ที่ภาวะเป็นกรด และจากการวิเคราะห์โฮโมซีสเทอีนด้วยเทคนิคไฮเพอร์ฟอร์มานส์ลิควิคโครมาโทกราฟีให้ค่าขีดจำกัดต่ำสุดในการตรวจวัดที่ 1 พิโคโมล สำหรับงานวิจัยในส่วนที่สอง คือ การนำระบบไมโครชิพคะพิลลารีอิเล็กโทรโฟเรซีสต่อกับระบบตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้า เพื่อประยุกต์สำหรับการแยกและตรวจวัดสารมลพิษในสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สารประกอบไฮดราซีน สารประกอบฟีนอลและสาร
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2006
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Chemistry
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41352
ISBN: 9741424973
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weena_Si_front.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Si_ch1.pdf992.43 kBAdobe PDFView/Open
Weena_Si_ch2.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Si_ch3.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Si_ch4.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Si_ch5.pdf6.56 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Si_ch6.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Si_back.pdf3.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.