Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41445
Title: | กฎหมายกับการบริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน |
Other Titles: | The regulations and management of an occupational safety and health |
Authors: | ปรียวิชญา แสนวิเศษ |
Advisors: | สุดาศิริ วศวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของประเทศไทยในปัจจุบันมีอยู่เป็นจำนวนมากและกระจัดกระจายอยู่ภายในสังกัดกระทรวงหลักที่แตกต่างกันทำให้มีอำนาจหน้าที่ซ้ำซ้อนกัน ทรัพยากรที่ต้องใช้ในการบริหารจัดการซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดจึงไม่เพียงพอ การประสานงานระหว่างหน่วยงานก็เป็นไปได้ยาก และที่สำคัญทำให้กฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานแยกออกเป็นหลายฉบับ อีกทั้งบางฉบับก็มีความขัดแย้งกันด้วย ทำให้สถานประกอบการเกิดความสับสนและเป็นภาระจนมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จากการศึกษาแนวคิดและกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งได้แก่ หลักธรรมาภิบาล หลักบริการสาธารณะ แนวคิดเรื่องคุณค่าความเป็นมนุษย์ แนวคิดเรื่องนายจ้างควรรับผิดชอบในการบาดเจ็บของลูกจ้าง แนวคิดเรื่องหน้าที่พื้นฐานของหน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 รวมถึงหน่วยงานและกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของต่างประเทศที่มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ คือ หน่วยงานและกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของของประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น แล้วเห็นว่าควรมีการรวมหน่วยงานและกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เป็นเอกภาพเพื่อให้เกิดความชัดเจน จนเป็นกฎหมายหลักฉบับเดียวในการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยการตราพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานขึ้น ในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานควรกำหนดให้มีการจัดตั้งหน่วยงานกลางหน่วยงานเดียวเพื่อทำหน้าที่ในการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็น “กรม” เพราะงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นภาระกิจของรัฐโดยแท้และควรได้รับความสำคัญมากขึ้น กรมที่จะจัดตั้งขึ้นนี้ควรที่จะอยู่ภายในสังกัดกระทรวงแรงงานจะเหมาะสมมากที่สุด และกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ครบถ้วนภายในหน่วยงานและกฎหมายฉบับเดียว กำหนดเรื่องการมอบอำนาจให้เอกชนเข้ามาทำหน้าที่ให้บริการตรวจสอบความปลอดภัยและหน้าที่ให้ความรู้ฝึกอบรมแทนหน่วยงานภาครัฐ กำหนดเกี่ยวกับการกำกับดูแลหน่วยงานภาคเอกชนที่เข้ามาทำหน้าที่แทนหน่วยงานภาครัฐ กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียให้มากขึ้น กำหนดให้กรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสามารถทำสัญญาจัดจ้างหน่วยงานอื่นมาทำงานแทนได้ กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกำหนดให้มีการประเมินผลการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน |
Other Abstract: | At present, there are the number of Occupational Safety and Health agencies instituting in Thailand which are widely dispersed under control of the different main ministries which results in the overlapping authority and function, insufficient managerial resources and difficult Intersectional Corporation. Most importantly, Regulations on Occupational Safety and Health have been separated into many laws and some of them have created the conflicts and lead to the confusion and burden among the enterprises which causes the negative attitude toward Management of Occupational Safety and Health. According to the study of theory and regulations on Occupational Safety and Health, which comprise of the Good Governance, Public Service Principle, theory of human dignity, theory of responsibility of employer on employee’s injuries, theory of fundamental duty of Occupational Safety and Health agencies, Labor Protection Act 2541, Compensation Act 2537, Industrial Act 2535, Public Health Act 2535, Regulations on Administration Act 2534 and Improvement of Administrative Agencies Act 2545 including the effective management of the Foreign Agencies and Regulations on Occupational Safety and Health which are the agencies and regulations on Occupational Safety and Health of the United States of America, United Kingdom and Japan. It represents the synergy of the agencies and regulations on Occupational Safety and Health should be operated as a unity in order to be more clarified. The purpose of issuing the Occupational Safety and Health Act is to be the only one act to manage the Occupational Safety and Health consisting of the legislation as follows; -Establishing one centre agency to perform the management of Occupational Safety and Health. It is appropriate for setting up as the Department because the duty of Occupational Safety and Health is recognized as the fundamental state obligation and should be considered more significantly. As a result, this Department should be perfectly placed belong to the Ministry of Labor. -Allowing this act to completely indicate the authority and function of the Occupational Safety and Health within one agency and law. -Specifying the vest of power which allows the private to examine and to train on Occupational Safety and Health instead of the administrative agency. -Stating the issue concerning the regulation of the private agencies who perform the duty replacing the administrative agency. -Providing more the legislation regarding the participation of stakeholders. -Allowing the Department of Occupational Safety and Health to enter the hiring agreement. -Capitalizing the fund to support the Management of Occupational Safety and Health. -Monitoring the systematic assessment of the management of Occupational Safety and Health. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41445 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.13 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.13 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Preeyawichya_sa_front.pdf | 2.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeyawichya_sa_ch1.pdf | 2.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeyawichya_sa_ch2.pdf | 10.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeyawichya_sa_ch3.pdf | 9.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeyawichya_sa_ch4.pdf | 3.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeyawichya_sa_ch5.pdf | 4.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeyawichya_sa_ch6.pdf | 3.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Preeyawichya_sa_back.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.