Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41470
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล | - |
dc.contributor.author | ประภัสสร ภัทรนาวิก | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2014-03-19T10:55:58Z | - |
dc.date.available | 2014-03-19T10:55:58Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41470 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en_US |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางภาษาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และศึกษาเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับต่าง ๆที่เคยใช้มาในอดีต สมมติฐานของวิทยานิพนธ์นี้คือ 1) ภาษาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีลักษณะเฉพาะ 2) ภาษาในรัฐธรรมนูญมีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ ผลแห่งวิวัฒนาการดังกล่าวทำให้ภาษาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีลักษณะแตกต่างกับภาษาที่ใช้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับต่าง ๆที่เคยใช้ในอดีต ทั้งด้านคำ โครงสร้างประโยค และสำนวนภาษา ฯลฯ ผลการศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ด้านคำ ได้แก่ คำนาม คำกริยา และคำแสดงทัศนภาวะ พบว่า มีทั้งที่ใช้เหมือนกัน และใช้แตกต่างกับรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆที่เคยใช้มาแต่อดีต การศึกษาด้านโครงสร้างประโยค มีโครงสร้างประโยค 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ โครงสร้างประโยคทั่วไป ได้แก่ โครงสร้างประโยคพื้นฐาน โครงสร้างประโยคที่มีอนุประโยคอิสระ และโครงสร้างประโยคที่มีอนุประโยคไม่อิสระ กลุ่มที่ 2 คือ โครงสร้างประโยคที่มีลักษณะเฉพาะ ได้แก่ โครงสร้างประโยคคำสั่ง “ให้” โครงสร้างประโยคกรรม โครงสร้างประโยคเน้นเรื่อง โครงสร้างประโยคสหสัมพันธ์ และ โครงสร้างประโยคที่ปรากฏนามวลีแปลง ผลการศึกษาพบว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ ปรากฏชนิดของโครงสร้างประโยคเหมือนกัน และ ปรากฏโครงสร้างประโยคที่มีอนุประโยคไม่อิสระ และ โครงสร้างประโยคที่ปรากฏนามวลีแปลงมากที่สุดทุกฉบับ และพบมากอย่างยิ่งในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 การศึกษาด้านสำนวนภาษา หรือลีลาภาษา พบว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับมีการใช้คำราชาศัพท์ การใช้สำนวน การสร้างประโยคขนาดยาว และการใช้ภาษาลักษณะต่าง ๆ เช่น การใช้เพื่อเน้นย้ำความ เพื่อเสนอข้อเท็จจริง เพื่อแสดงการสั่ง เพื่อเสนอเนื้อหา และพบว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีลักษณะสำนวนภาษาส่วนหนึ่งใกล้เคียงกับรัฐธรรมนูญฉบับอื่น ทำให้อาจสรุปผลการศึกษาได้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้รับอิทธิพลทางภาษาจากรัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆที่เคยใช้มาแต่อดีต อย่างไรก็ตาม มีลักษณะภาษาที่แสดงให้เห็นว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มีลักษณะเฉพาะปรากฏอยู่ด้วย | - |
dc.description.abstractalternative | The doctoral dissertation has its purpose on investigating some characteristics of the language used in the constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540 and on comparing with the language used in some former versions of the Constitution. The assumptions lie in that (1) the language used in the B.E. 2540 version has its own characteristics and (3) these characteristics have derived from the gradual changes in terms of word, sentence structures and language style etc. From the investigation, it is found that there are both changes and non-changes in the following word classes: noun, verb and modality. As regards the sentence structure, it can be classified into 2 classes: The general construction and the special construction. The former includes the simple sentence, the sentence with the independent and the dependent clause. The latter includes imperative, passive, topic, correlative and nominalization construction. The study shows that there are both classes of sentence structures mentioned before in all versions of Constitution. Moreover, it is found that the dependent clause and the nominalization construction are at most found especially in the B.E. 2540 version. These reflect the popularity of the dependent clause and the nominalization constructions. As for the language style, the study shows that the royal language, in all constitutions are some in terms of the royal language, the complex sentences and the other style for emphasizing and introduction information. However, some characteristics are found in, the language used in the B.E. 2540 version. It can be concluded that the language in B.E. 2540 version is influenced by the former versions but has its own characteristics. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.375 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | รัฐธรรมนูญ -- ไทย | - |
dc.subject | ภาษาไทย -- การใช้ภาษา | - |
dc.subject | ภาษาไทย -- ประโยค | - |
dc.subject | Constitutions -- Thailand | - |
dc.subject | Thai language -- Usage | - |
dc.subject | Thai language -- Sentences | - |
dc.title | ภาษาในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 : การศึกษาเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในอดีต | en_US |
dc.title.alternative | Language use in the constitution of the Kingdom of Thailand B.E.2540 : a comparative study with the language in former constitutions | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Anant.L@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.375 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prapassorn_ph_front.pdf | 2.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapassorn_ph_ch1.pdf | 2.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapassorn_ph_ch2.pdf | 5.75 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapassorn_ph_ch3.pdf | 10.63 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapassorn_ph_ch4.pdf | 4.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapassorn_ph_ch5.pdf | 5.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapassorn_ph_ch6.pdf | 10.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapassorn_ph_ch7.pdf | 1.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prapassorn_ph_back.pdf | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.