Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41479
Title: | การรับรู้เชิงสุนทรียะและตีความหมายภาษาท่ารำในนาฏยศิลป์ไทย |
Other Titles: | Aesthetic perception and interpretation of dance language in Thai classical dance |
Authors: | ธรรมจักร พรหมพ้วย |
Advisors: | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาเรื่องการรับรู้เชิงสุนทรียะและตีความหมายภาษาท่ารำในนาฏยศิลป์ไทยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบ ความสัมพันธ์เชิงวัฒนธรรมและกระบวนการสื่อความหมายของภาษาท่ารำ ตลอดจนวิธีการใช้ภาษาสำหรับการแสดงแต่ละประเภท 2) ศึกษาการรับรู้และความเข้าใจความหมายของภาษาท่ารำจากกลุ่มผู้ชม ณ โรงละครแห่งชาติ และโรงละครศศิ- การ์เดนท์เธียเตอร์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2548 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงเอกสาร และสำรวจชาวไทยจำนวน 70 คน และชาวต่างชาติจำนวน 50 คน ผลการศึกษาพบว่า ภาษาท่ารำมีลักษณะเชิงภาษาที่ถูกกำหนดด้วยไวยากรณ์ มีบัญญัติ-นิยมที่แน่นอน มีโครงสร้างเชิงรูปประโยค วัฒนธรรมการชมการแสดงของคนไทย มีลักษณะปราศจากพิธีการ และผู้ชมมุ่งเน้นการได้เห็นทักษะและปฏิภาณอันละเอียดอ่อนของผู้แสดงมากกว่าเนื้อหาหรือการดำเนินเรื่อง มีลำดับขั้นของการสื่อสาร คือ 1) ขั้นรับรู้ความสุข 2) ขั้นมีความเข้าใจ และ 3) ขั้นตีความหมายและซาบซึ้งไปกับความงาม ผู้ชมมีการรับรู้ที่เน้นในเรื่องการได้รับความสุขมาก่อนการทำความเข้าใจ และรับรู้ความหมายจากการสั่งสมประสบการณ์ในการรับชม และผู้ชมจะประเมิน ความงามใน 5 ด้าน ตามลำดับคือ ตัวละคร กระบวนท่ารำ เครื่องแต่งกาย การบรรเลงและขับร้อง และฉันทลักษณ์ของบทละคร จากการสำรวจผู้ชม ณ โรงละครแห่งชาติ พบว่า กลุ่มผู้ชมสูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีประสบการณ์การรับชมที่ยาวนาน เนื่องจากมีเวลาว่างมาก ส่งผลให้กลุ่มผู้ใหญ่วัยกลางคนอายุระหว่าง 31-59 ปี มีหน้าที่พากลุ่มผู้สูงอายุมาชมการแสดง ทำให้เกิดค่านิยมในการโหยหาอดีต และส่งผลต่อกลุ่มเยาวชนและคนหนุ่มสาวอายุระหว่าง 15-30 ปี ที่ถูกส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในงานวัฒนธรรมด้วยการปฏิบัติ ติดตามการแสดงเพื่อเลียนแบบความสามารถในการใช้ภาษาท่ารำ และนำไปปฏิบัติใช้กับการพัฒนาทักษะของตนเอง และการจากทดลองจัดการแสดงสาธิตท่ารำก่อนเริ่ม การแสดง ณ โรงละครศศิการ์เดนท์เธียเตอร์ พบว่า การสาธิตภาษาท่ารำก่อนเริ่มการแสดง ช่วยให้ผู้ชมชาวต่างชาติเข้าใจภาษาท่ารำได้มากขึ้นถึงร้อยละ 70.4 จึงสามารถสรุปได้ว่าการสาธิตท่ารำหรือจัดสื่อเสริมการแสดงในรูปอื่น เช่น สูจิบัตรและการบรรยายนำ จะช่วยเสริมให้ผู้ชมเข้าใจในความหมายของภาษาท่ารำได้มากขึ้น |
Other Abstract: | The objective of this thesis is to study the form, culture relation and the procedure meaningful of dance language, including, language instruction and study the acknowledgement and meaning understanding of dance language from the audiences at the National Theatre , and the Sasi Garden Theatre, Prachuap Khirikhan province through February 2548 (B.E.), by using the research methodology of documentary analysis method and observing 2 audience groups, 70 Thai audiences and 50 foreigner audiences. The research findings can be concluded that the dance language have the linguistic character that contain grammars, fixed regulations and ordered structure. The perception culture of Thai audience is informal-ritual and the audiences prefer to see the higher skill and delicate wit of a performer rather than the substance or continuity of play. The communication of perception can be divided into 3 steps, 1) the pleasure perception level 2) the understanding level and 3) the interpretation and appreciation level. The audience had perception patterns focus on pleasure perception rather than understanding and perceived the meaning with perception experiences. They had evaluated the pattern of beauty in 5 levels which are dancer, dance gesture, costume, music and vocal and play literature accordingly. The observation at the National theatre finding that the elder group (more than 60 years old) have a very long perception experience because of having much free time. As a result, it affects to the middle aged group (31-59 years old) who have the duty to take the parents watch the show and create values about the nostalgia, and the last group, children and youth (15-30 years old) have been supported to participated in cultural activities and adopted the perception experience to improve their skill in dance and music. In the observation and testing about the dance language perception at the Sasi Garden Theatre, finding that the demonstration of dance language help the foreigner audiences increase 70.4% of understanding in the Thai dance shows, and can summarize that the dance language demonstration dances or the other media such as programme brochure or describing before the show helps the audience more understands in the meaning of dance language. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วาทวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41479 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.454 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.454 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thummachuk_pr_front.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thummachuk_pr_ch1.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thummachuk_pr_ch2.pdf | 5.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thummachuk_pr_ch3.pdf | 1.82 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thummachuk_pr_ch4.pdf | 12.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thummachuk_pr_ch5.pdf | 4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Thummachuk_pr_back.pdf | 4.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.