Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41499
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสาวลักษณ์ สุริยะวงศ์ไพศาล
dc.contributor.authorนุชนันต์ จันทร์จุนาทัศน์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned2014-03-19T11:14:08Z
dc.date.available2014-03-19T11:14:08Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41499
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของพ่อแม่ที่ปฏิบัติต่อลูกผู้ทำผิดกฎหมาย พฤติกรรมของลูกผู้ทำผิดกฎหมายที่ปฏิบัติต่อพ่อแม่ และความเป็นโศกนาฏกรรมของบทละครที่เกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมของพ่อแม่ลูก ในบทละครโจรุริ กลุ่มโฌะบะท์ซุโมะโนะ จำนวน 4 เรื่อง ของ ชิกะมะท์ซุ มนสะเอะมน นักประพันธ์บทละครโจรุริและคาบุกิที่มีชื่อเสียงสมัยเอโดะ (ค.ศ.1603-1867) ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า ลูกผู้ทำผิดกฎหมายในบทละครกลุ่มดังกล่าว มีพฤติกรรมที่ไม่ทำตามความประสงค์ของพ่อแม่ และมีจุดจบที่น่าเศร้า ส่วนพ่อแม่มีความประสงค์ดีต่อลูก และมีพฤติกรรมที่พยายามปกป้องและช่วยเหลือลูกที่ทำผิดกฎหมาย แต่พ่อหรือแม่ในบทละครจำนวน 3 เรื่อง ต้องต่อสู้กับความขัดแย้งในใจ ระหว่างความรักลูกกับหน้าที่ที่พึงปฏิบัติต่อสังคมหรือผู้อื่น ทำให้พ่อหรือแม่นั้น ๆรู้สึกทุกข์ทรมานใจในการช่วยเหลือลูก นอกจากความขัดแย้งในใจที่ทำให้พ่อหรือแม่รู้สึกทุกข์ทรมานใจในการช่วยเหลือลูก ซึ่งช่วยเพิ่มความเป็นโศกนาฏกรรมให้แก่บทละครแล้ว การวิจัยยังได้พบกลวิธีการประพันธ์เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวละครพ่อแม่ลูก ที่เพิ่มความเป็นโศกนาฏกรรมให้แก่บทละครมากยิ่งขึ้น ดังนี้ กลวิธีการประพันธ์ที่เหมือนกันทั้ง 4 เรื่อง คือ การที่พ่อหรือแม่ซึ่งต้องการช่วยเหลือลูก ไม่สามารถช่วยเหลือลูกได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากสถานการณ์แวดล้อม ทำให้จำเป็นต้องฝากฝังให้คนอื่นช่วยดูแลลูกแทนตน การมีฉากแสดงความรู้สึกของพ่อหรือแม่ต่อลูก มากกว่าฉากแสดงความรู้สึกของลูกต่อพ่อหรือแม่ การไม่ให้พ่อหรือแม่ได้พบหน้ากับลูกโดยตรงในฉากกล่าวแสดงความรู้สึกต่อลูก นอกจากนี้ ยังมีกลวิธีการประพันธ์ที่เหมือนกันใน 3 เรื่อง คือ การกระทำความผิดของลูกเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ และการที่พ่ออยู่ในวัยชราและมีลักษณะน่าเวทนาสงสาร
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the thesis is to analyze the parent’s behavior towards his or her law-breaking child, and vice versa, as well as the nature of tragedy related to the parent and child’s behavior in 4 Shobatsumono plays of Chikamatsu Monzaemon, the famous writer of Joururi and Kabuki plays in the Edo period (1603 - 1867). The study finds that the law-breaking child in these plays goes against the parent’s wish, and has a tragic end. The parent means well, and tries to protect and save the child. But in doing so in 3 plays, the conflict between love for the child and duty towards society or someone else obstructs the parent in the course of his or her help for the child and leads to the parent’s psychological sufferings. The study also finds that besides the parent’s psychological sufferings there are other writing techniques related to the parent and child that help intensify the tragic nature of the plays. In all the 4 plays, the parent wants to save the child but circumstances prevent him or her from doing it directly and thus has to help him through someone else; there are more scenes in which the parent expresses his or her feelings for the child than the other way round; the parent verbalizes his or her love for the child while not seeing him face to face. In 3 plays, the child’s criminal act is not intentional; the father is described as old and pathetic.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.453-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleพฤติกรรมของพ่อแม่ลูกในบทละครกลุ่มโฌะบะท์ซุโมะโนะของชิกะมะท์ซุ มนสะเอะมนen_US
dc.title.alternativeParents and child's behavior in Shobatsumono plays of Chikamatsu Monzaemonen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภาษาและวรรณคดีญี่ปุ่นen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.453-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nutchanan_ja_front.pdf3.7 MBAdobe PDFView/Open
Nutchanan_ja_ch1.pdf6.9 MBAdobe PDFView/Open
Nutchanan_ja_ch2.pdf10.03 MBAdobe PDFView/Open
Nutchanan_ja_ch3.pdf12.51 MBAdobe PDFView/Open
Nutchanan_ja_ch4.pdf9.75 MBAdobe PDFView/Open
Nutchanan_ja_ch5.pdf13.53 MBAdobe PDFView/Open
Nutchanan_ja_ch6.pdf4.79 MBAdobe PDFView/Open
Nutchanan_ja_back.pdf5.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.