Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41567
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิมล ว่องวาณิช-
dc.contributor.authorพัชร พิพิธกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-03-20T08:42:30Z-
dc.date.available2014-03-20T08:42:30Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41567-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการปริทรรศน์เอกสารของนิสิตคณะครุศาสตร์ก่อนและหลังการสอนวิจัยแบบเน้นการปริทรรศน์เอกสาร 2) เปรียบเทียบทักษะการปริทรรศน์เอกสารของนิสิตคณะครุศาสตร์กลุ่มที่ได้รับการสอนและไม่ได้รับการสอนวิจัยแบบเน้นการปริทรรศน์เอกสาร และ 3) พัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุของทักษะการปริทรรศน์เอกสารของนิสิตคณะครุศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่กำลังศึกษาในคณะครุศาสตร์ ในปีการศึกษา 2550 ที่เข้ารับการอบรมทักษะการทำวิจัยแบบเน้นทักษะการปริทรรศน์เอกสารชุดฝึกทักษะการปริทรรศน์เอกสารที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 2 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 30 คน ที่ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินทักษะการรู้สารสนเทศ ค่าความเที่ยง 0.545 - 0.866 และแบบประเมินทักษะการปริทรรศน์เอกสาร ค่าความเที่ยง 0.538 - 0.829 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติภาคบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ด้วยโปรแกรม SPSS for Window และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้นด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หลังการสอนวิจัยแบบเน้นทักษะการปริทรรศน์เอกสาร นิสิตมีระดับทักษะการปริทรรศน์เอกสารสูงขึ้นกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. นิสิตกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบเน้นทักษะการปริทรรศน์เอกสารมีระดับทักษะการปริทรรศน์เอกสารสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการสอนวิจัยแบบเน้นการปริทรรศน์เอกสาร 3. โมเดลเชิงสาเหตุของทักษะการปริทรรศน์เอกสารของนิสิตคณะครุศาสตร์มีความสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์ x² =31.85, df=41, P=0.84669, GFI = 0.91, AGFI=0.85, RMR=96.04, RMSEA=0.000 ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของทักษะการปริทรรศน์เอกสารได้ร้อยละ 76 ตัวแปรเชิงสาเหตุที่ส่งผลทางตรงต่อทักษะการปริทรรศน์เอกสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การสอนวิจัยแบบเน้นทักษะการปริทรรศน์เอกสาร (0.56) ทักษะการรู้สารสนเทศ (0.47) และทักษะภาษาอังกฤษ (0.19)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to compare the level of literature review skills of students of faculty of education among the pre-test and post-test; 2) to compare the level of literature review skills of students of faculty of education between the experimental group taught by training kit emphasizing literature review skills and those not receive the treatment; 3) to develop and validate causal model of Literature Review Skills of students of faculty of Education. The samples consisted of 60 graduate students of faculty of Education of Chulalongkorn University separated into 2 groups for empirical study. These students attended the training program design to develop their literature review skills using training kit developed by the researcher. The research tools were 2 evaluation tests. The reliabilities for the information literacy skills tests were in the range of 0.545 - 0.866 and for the literature review skills tests were in the range of 0.538 - 0.829. The research data were analyzed by employing SPSS for Window for descriptive statistics, Pearson’s Product Moment correlation coefficient, and linear structural equation model (LISREL). The research results were as follows: 1)After attending the program, the level of literature review skills of students were significantly higher than before at .01 level of statistical significance. 2) The level of literature review skills of students in experiment group were significantly higher than the control group at .01 level of statistical significance. 3) The causal model was fitted with the empirical data x² =31.85, df=41, P=0.84669, GFI = 0.91, AGFI=0.85, RMR=96.04, RMSEA=0.000. The model accounted for 76% of literature review skills of students of faculty of education. The causal variables which had direct effects on literature review skills were literature review skill emphasized - training program (0.56), information literacy skills (0.47), and English skill (0.19).en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1101-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการศึกษา -- วิจัยen_US
dc.subjectวิทยานิพนธ์en_US
dc.subjectEducation -- Researchen_US
dc.subjectDissertations, Academicen_US
dc.titleโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุของทักษะการปริทรรศน์เอกสารของนิสิตคณะครุศาสตร์en_US
dc.title.alternativeCausal model of literature review skills of students of faculty of educationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwsuwimon@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1101-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patchara_Pi.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.