Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41570
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรทิพย์ แข็งขัน-
dc.contributor.authorปาริชาต ตามวงค์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-03-21T02:42:44Z-
dc.date.available2014-03-21T02:42:44Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41570-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและเจตคติต่อวรรณกรรมล้านนาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ และเจตคติต่อวรรณกรรมล้านนาของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านกับนักเรียนที่ได้รับการจัด การเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 สถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 87 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองซึ่ง จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่าน จำนวน 43 คน และกลุ่มควบคุม ซึ่งจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถ ในการอ่านเพื่อความเข้าใจ และแบบวัดเจตคติต่อวรรณกรรมล้านนา และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้วรรณกรรมล้านนา การทดลองใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 คาบ รวมทั้งสิ้น 16 คาบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ( X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และทดสอบค่า t ( t – test ) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านมีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและเจตคติต่อวรรณกรรมล้านนาสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านมีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและเจตคติต่อวรรณกรรมล้านนาสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study effects of using an instructional model based on the reader-response theory on reading comprehension ability and attitudes towards Lanna literature of lower secondary school students and to compare reading comprehension ability and attitudes towards Lanna literature of lower secondary school students between the group learning by using an instructional model based on the reader-response theory and the group learning by conventional instruction. The subjects were 87 students of mathayom suksa two students in second semester of academic year 2007 at Chaingmai University Demonstration School in Chiangmai province. These subjects were divided into two groups; an experimental group with forty-three students learning by using an instructional model based on the reader-response theory: a control group with forty-four students learning by conventional instruction. The research instruments were the instruments for data collection and the instrument for experiment. The instruments for data collection were reading comprehension ability test and attitudes towards Lanna literature test. The instruments for experiment were Lanna literature lesson plans. The duration of experiment was eight weeks, two periods per week total of 16 periods. The collected data were analyzed by arithmetic means, standard deviation and t-test. The research findings were summarized as follows: 1. Students learning by using an instructional model based on the reader-response theory had the reading comprehension ability and attitude towards Lanna literature after experiment higher than before experiment at .05 level of significance. 2. Students learning by using an instructional model based on the reader-response theory had reading comprehension ability and attitude towards Lanna literature higher than students learning by conventional instruction at .05 level of significance.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1162-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวรรณคดีไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.subjectความเข้าใจในการอ่านen_US
dc.subjectThai literature -- Study and teaching (Secondary)en_US
dc.subjectReading comprehensionen_US
dc.titleผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการตอบสนองของผู้อ่านที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและเจตคติต่อวรรณกรรมล้านนาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นen_US
dc.title.alternativeEffects of using an instructional model based on the reader-response theory on reading comprehension ability and attitudes towards Lanna literature of lower secondary school studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการสอนภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPorntip_edn@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1162-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Parichart_Ta.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.