Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41635
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกรรณิการ์ อัศวดรเดชา
dc.contributor.authorสุคนธ์ทิพย์ ทิพวัฒน์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.date.accessioned2014-03-23T04:27:08Z
dc.date.available2014-03-23T04:27:08Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41635
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ที่ใช้ในการรณรงค์โครงการรณรงค์ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และประสิทธิผลของโครงการ การศึกษาแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือ การศึกษากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ โดยศึกษาจากเอกสารโครงการ และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์โครงการ ส่วนที่สองคือ การศึกษาประสิทธิผลของโครงการรณรงค์ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ซึ่งเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ใช้โปรแกรมประมวลผลสำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการศึกษา พบว่าโครงการที่ทำการศึกษาต่างมีกลยุทธ์หลักของการประชาสัมพันธ์คือ (1)กลยุทธ์ด้านการใช้สื่อ ได้แก่ การใช้สื่อผสมคือใช้สื่อประชาสัมพันธ์หลากหลาย ทั้งสื่อมวลชน สื่อบุคคล และสื่อเฉพาะกิจ (2) กลยุทธ์ด้านการใช้สาร ถ้าเป็นโครงการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เกี่ยวข้องกับการลดอุบัติเหตุทางจราจรจากการดื่มสุราจะใช้กลยุทธ์สารที่เร้าความกลัว นอกจากนั้นจะใช้กลยุทธ์เสนอสารผ่านผู้มีชื่อเสียง สารที่เน้นข้อความสะดุดหู ในส่วนของประสิทธิผลโครงการรณรงค์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการเปิดรับข่าวสารในระดับปานกลาง มีการระลึกจดจำเกี่ยวกับโครงการในระดับสูงมาก มีทัศนคติเป็นบวกต่อการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับสูง และมีพฤติกรรมการเชิงบวกในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า 1.การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับโครงการรณรงค์เพื่อลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกฮอล์ มีความสัมพันธ์กับการระลึกจดเกี่ยวกับโครงการรณรงค์เพื่อลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกฮอล์ของประชาชน 2.การระลึกจดจำ เกี่ยวกับโครงการรณรงค์เพื่อลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของประชาชนในการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3.ทัศนคติต่อการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน 4.การเปิดรับข่าวสารโครงการรณรงค์เพื่อลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กับทัศนคติต่อการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นตัวแปรที่สามารถร่วมกันอธิบายพฤติกรรมการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the public relations strategies and effectiveness of alcohol consumption reduction campaigns. The research methodology was an integration of qualitative and quantitative approaches. The qualitative research methodology used a documentary technique, and in-depth interviews were used with the persons responsible for the projects. The quantitative research methodology used the samples of 400 Bangkok inhabitants. Frequency distribution, mean, percentage, standard deviation, Pearson’ s Product Moment Correlation, and Multiple Regression Analysis were used for data analysis. Spss for windows program was used for data processing. The findings were as follows : The principle public relations strategies of the projects consist of : (1) Media strategy included television, newspapers and radio respectively, applying mixed media (2) Message strategy used the fear drive model, attention striking message, reference by celebrities. The samples strongly recalled the campaigns. Their attitudes of alcohol reduction were high, information exposure was moderate, and behavior of alcohol reduction was moderate. The hypothesis revealed that : 1.There was a positive correlation between information exposure and recall of the campaigns. 2.There was a positive correlation between the recallection and the attitude about alcohol reduction consumption. 3.There was a positive correlation between the attitude and the behavior for alcohol reduction consumption. 4.The variables which could explain the behavior for alcohol reduction consumption were information exposure and attitude about alcohol reduction consumption.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.35-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และประสิทธิผลของโครงการรณรงค์เพื่อลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์en_US
dc.title.alternativePublic relations strategies and effectiveness of Alcohol consumption reduction compaignsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.35-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukontip_ti_front.pdf3.51 MBAdobe PDFView/Open
Sukontip_ti_ch1.pdf6.69 MBAdobe PDFView/Open
Sukontip_ti_ch2.pdf19.86 MBAdobe PDFView/Open
Sukontip_ti_ch3.pdf5.15 MBAdobe PDFView/Open
Sukontip_ti_ch4.pdf28.08 MBAdobe PDFView/Open
Sukontip_ti_back.pdf4.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.