Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41692
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สมใจ เพ็งปรีชา | |
dc.contributor.advisor | สมชาย ดารารัตน์ | |
dc.contributor.author | วิษา สอนใจ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2014-03-23T06:03:22Z | |
dc.date.available | 2014-03-23T06:03:22Z | |
dc.date.issued | 2549 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41692 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้ ศึกษาถึงประสิทธิภาพในการกำจัดไอออนของแคดเมียม โครเมียม นิกเกิล และตะกั่วจากสารละลาย โดยใช้เรซินแฃกเปลี่ยนไอออนที่เตรียมจากเปลือกถั่วเหลือง โดยขอบเขตของงานวิจัยนี้จะศึกษาถึงวิธีการที่เหมาะสมในการเตรียมเปลือกถั่วเหลืองด้วยการปรับสภาพทางเคมีโดยใช้กรดซิตริกและโซเดียมซัลไฟต์ รวมทั้งศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดโลหะหนักด้วยเรซินเปลือกถั่วเหลืองที่เตรียมได้จากขั้นตอนการปรับสภาพ โดยทำการทดลองแบบไม่ต่อเนื่อง จากการศึกษาพบว่า วิธีการที่เหมาะสมในการเตรียมเปลือกถั่วเหลืองก่อนการปรับสภาพทางเคมี คือการล้างเปลือกถั่วเหลืองด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ 0.1 โมลาร์ สำหรับสภาวะที่เหมาะสม ในการปรับสภาพเปลือกถั่วเหลืองทางเคมีด้วยกรดซิตริก คือ ใช้สารละลายกรดซิตริกที่มีความเข้มข้น 0.6 โมลาร์ ทำการปรับสภาพที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 90 นาที ส่วนสภาวะที่เหมาะสมในการปรับสภาพด้วยโซเดียมซัลไฟต์ ใช้สารละลายโซเดียมซัลไฟต์ที่มีความเข้มข้น 0.9 โมลาร์ ทำการปรับสภาพที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ผลการศึกษา พบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการกำจัดโลหะหนักคือ ที่ความเข้มข้นของสารละลายโลหะหนัก ไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อลิตร ใช้ปริมาณเรซินเปลือกถั่วเหลือง 1 กรัม การกำจัดแคดเมียม นิกเกิล และตะกั่วใช้พีเอชของสารละลาย เท่ากับ 4-6 ที่เวลาสัมผัส 1 ชั่วโมง และการกำจัดโครเมียม ใช้พีเอชของสารละลายเท่ากับ 4 ที่เวลาสัมผัส 1 ชั่วโมง ประสิทธิภาพการกำจัดแคดเมียม โครเมียม นิกเกิล และตะกั่วด้วยเรซินเปลือกถั่วเหลืองที่ปรับสภาพด้วยกรดซิตริก มีค่าเท่ากับ 96.94, 87.80, 90.80 และ 99.06 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และประสิทธิภาพการกำจัดแคดเมียม โครเมียม นิกเกิล และตะกั่วด้วยเรซินที่ปรับสภาพด้วยโซเดียมซัลไฟต์มีค่าเท่ากับ 97.90, 90.60, 93.24 และ 99.44 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ | |
dc.description.abstractalternative | This research investigates the efficiency of ino-exchang resin prepared from soybean hulls for removal of Cadmium, Lead and Nickel ions from aqueous solution. Scope of this research included the study of the optimum method for preparing soybean hulls with and without chemical modification by using citric acid and sodium sulphite, as well as the optimum condition for removal of heavy metals using resin prepared from soybean hulls. The experiments were carried out by batch out by batch process. The result indicated that the optimum method for preparing soybean hulls before chemical modification was attained by treating with 0.1 M NaOH, the optimum condition for chemical modified soybean hulls was achieved by using 0.6M citric acid for 90 minutes at 80C and using 0.9 M sodium sulphite for 2 hours at 70C. The further study showed that the optimum condition, for removal of heavy metals at the concentration of 5 milligrams per liter using 1 gram of adsorbent, was contact time 1 hour at pH 4-6 for Cadmium Nickel and Lead, and contact time 1 hour at pH 4 ofr Chromium. The efficiency for removal of Cadmium, Chromium, Nickel and Lead ions was 96.94, 87.80, 90.80 and 99,06 percent for citric acid-treated resin. Similarly, 97.90, 90.60, 93.24 and 99.44 percent of Cadmium, Chromium, Nickel and Lead could be removed by sodium sulphitetreated resin. | |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.75 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การกำจัดไอออนของแคดเมียม โครเมียม ตะกั่ว และนิกเกิล จากสารละลาย ด้วยเรซินที่เตรียมจากเปลือกถั่วเหลือง | en_US |
dc.title.alternative | Removal of cadmium chromium lead and nickel ions from aqueous solution using resin prepared from soybean hulls | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.75 | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wisa_so_front.pdf | 5.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisa_so_ch1.pdf | 1.51 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisa_so_ch2.pdf | 12.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisa_so_ch3.pdf | 4.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisa_so_ch4.pdf | 12.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisa_so_ch5.pdf | 1.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wisa_so_back.pdf | 17.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.