Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41866
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรรณนิภา รอดวรรณะ
dc.contributor.authorธารารัตน์ พัฒนา
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned2014-03-25T11:56:08Z
dc.date.available2014-03-25T11:56:08Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41866
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับการใช้วิจารณญาณเชิงจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้วิจารณญาณเชิงธรรมของผู้ตรวจสอบภายในของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยปัจจัยที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) จรรยาบรรณวิชาชีพตรวจสอบภายใน 2) หลักจริยธรรมส่วนบุคคล ได้แก่ เกณฑ์อุดมคตินิยม และเกณฑ์สัมพัทธนิยม 3) วัฒนธรรมทางจริยธรรมขององค์กร 4) ค่านิยมในการทำงาน 5) ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการตรวจสอบ และวุฒิบัตรวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ตรวจสอบภายในของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 300 บริษัท โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมผู้ตรวจสอบภายในมีระดับการใช้วิจารณญาณเชิงจริยธรรมอยู่ในระดับสูง ซึ่งจะทำให้ผลงานของผู้ตรวจสอบภายในมีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิผล และจากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับการใช้วิจารณญาณเชิงจริยธรรมกับปัจจัยต่าง ๆ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้วิจารณญาณเชิงจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในมี 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยจรรยาบรรณวิชาชีพตรวจสอบภายในส่งผลต่อการใช้วิจารณญาณเชิงจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในกล่าวคือ จรรยาบรรณวิชาชีพตรวจสอบภายในสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเมื่อต้องเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งทางจริยธรรมหรือใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้ถูกต้องเหมาะสม 2) ปัจจัยส่วนบุคคลประกอบด้วย อายุ และระดับการศึกษา โดยที่ผู้ตรวจสอบภายในที่มีอายุมากจะมีระดับการใช้วิจารณญาณเชิงจริยธรรมสูงกว่าผู้ตรวจสอบภายในที่มีอายุน้อย เนื่องจากผู้ที่มีอายุมากจะมีวุฒิภาวะและประสบการณ์สูง ทำให้มองเห็นปัญหาได้ชัดเจนและถูกต้อง นอกจากนี้ผู้ตรวจสอบภายในที่มีระดับการศึกษาสูงจะมีระดับการใช้วิจารณญาณเชิงจริยธรรมสูงกว่าที่มีระดับการศึกษาต่ำ เนื่องจากการศึกษาช่วยพัฒนาความรู้ ความคิด และวิจารณญาณของบุคคล สำหรับปัจจัยอื่น ๆ นั้น ไม่ส่งผลต่อการใช้วิจารณญาณเชิงจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายใน
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this thesis is to study the level of ethical judgment of internal auditors and to study the factors affecting ethical judgment of internal auditors of listed companies in the Stock Exchange of Thailand (SET). Five factors consist of Professional Code of Ethics, Personal ethical philosophy (Idealism-Relativism), Corporate ethical culture, Work values and Demographic factors (gender, age, education, auditing experience and certification). The samples were internal auditors of 300 listed companies in the SET selected by using Simple random sampling method. The questionnaires are served as the tools for data collection. The obtained data was analyzed by Descriptive Statistics and Multiple Regression Analysis. Overall, the results indicate that internal auditors have a high level of ethical judgment and this, finally, encourages trustworthiness and effectiveness of internal auditors’ performance. The test for relationship between related factors and the dependent factors at significant level 0.05 found that Code of Ethics have relationship with ethical judgment of internal auditors. Code of Ethics is able to be applied to resolve ethical dilemmas and guide their auditing duties and responsibilities. Among demographic factors, age and education appear to be the only variables that have a significant relationship with ethical judgment. It appears that older respondents tend to be more ethical judgment than younger ones. This is due to older respondents have more maturity and experience so that they can perceive the problems more correctly and clearly, In addition, respondents with high educational level tend to be more ethical judgment the those with lower ones because the educational can develop and strengthen their knowledge, aspect and judgment. On the other hand, other factors have no influence to the ethical judgment of internal auditors.
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1264-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้วิจารณญาณเชิงจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeFactors affecting ethical judgment of internal auditors of listed companies in the Stock Exchange of Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบัญชีen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1264-
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thararat_pa_front.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open
Thararat_pa_ch1.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open
Thararat_pa_ch2.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open
Thararat_pa_ch3.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open
Thararat_pa_ch4.pdf4.76 MBAdobe PDFView/Open
Thararat_pa_ch5.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open
Thararat_pa_back.pdf2.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.