Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41872
Title: | การเข้ารหัสเครื่องหมายสัญลักษณ์ "บ้านเชียง" เพื่อการสื่อสารสาธารณะ |
Other Titles: | The encoding of "Ban Chiang" sign-symbol for public communication |
Authors: | พิมพ์นารา กิจโชติประเสริฐ |
Advisors: | ศิริชัย ศิริกายะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Subjects: | การสื่อสาร ตราสัญลักษณ์ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การเข้ารหัสเครื่องหมายสัญลักษณ์ “บ้านเชียง” เพื่อการสื่อสารสาธารณะ เป็นการศึกษาเพื่อให้ ทราบถึงวิธีการเข้ารหัสสัญลักษณ์ “บ้านเชียง” ให้สื่อสารกับสาธารณะชนได้ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ เจาะลึก การวิเคราะห์ตัวบทและวิเคราะห์เปรียบเทียบการเข้ารหัสสัญลักษณ์ “บ้านเชียง” เป็นสัญลักษณ์ สถานที่ท่องเที่ยวประเภทพิพิธภัณฑ์ กับ การเข้ารหัสสัญลักษณ์ “บ้านเชียง” เป็นดัชนีโยงคู่ความสัมพันธ์ กับแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี และ ภาคอีสาน จากสื่อป้ายชี้ทาง ป้ายประวัติสถานที่ ท่องเที่ยว และป้ายชื่อองค์กร/สถานที่โครงการ จํานวน ๕๖ ป้าย โดยใช้แนวคิดรูปแบบพื้นฐานทางการ สื่อสาร การออกแบบกราฟิกในฐานะการสื่อสาร และสัญญะวิทยาเป็นแนวทางหลักในการศึกษา ผลการศึกษาสรุปได้ว่าลักษณะของสัญลักษณ์ “บ้านเชียง” ที่สื่อสารกับสาธารณะชนได้คือภาพ ผสมดัชนี เป็นสารที่ต้องการความรู้จากการเป็นสมาชิกในกลุ่มวัฒนธรรมที่เคยเห็นเครื่องปั้นดินเผาบ้าน เชียงจนจดจําลักษณะเฉพาะตัวคือลายก้นหอยได้ เมื่อเห็นลายก้นหอยบนเครื่องปั้นดินเผาจึงจะนึกโยง คู่ความสัมพันธ์กับเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงมิใช่เครื่องปั้นดินเผาธรรมดาทั่วไป และแม้สัญลักษณ์ “บ้าน เชียง” จะมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและจดจําได้ในวัฒนธรรมไทยและเป็นมรดกโลก ก็มิได้หมายความว่าจะ เป็นเครื่องมือและเครื่องหมายที่เหมาะสมกับทุกสถานการณ์ และการใช้ควบคู่ไปกับถ้อยคําก็มิได้ทําให้ เกิดประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ได้เสมอไป การเข้ารหัสลัญลักษณ์ “บ้านเชียง” ให้สื่อสารกับสาธารณชนได้นั้นทําได้ด้วยการเปลี่ยนหน้าที่ จากสื่อพิธีกรรมเป็นสื่อในชีวิตประจําวันด้วยการอุปลักษณ์ภาพเหมือนคล้ายเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง ลายก้นหอยกับเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงลายก้นหอย เพื่อเป็นอนุนามนัยโยงคู่ความสัมพันธ์กับสถานที่ คือ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ภาคอีสาน และสถานที่ท่องเที่ยวประเภทพิพิธภัณฑ์ที่จัด แสดงโบราณวัตถุที่ขุดพบจากแหล่งโบราณคดี ทั้งนี้ ป้ายเป็นรหัสที่เปิดให้ตีความ จําเป็นต้องใช้ควบคู่ไปด้วยกันกับไวยากรณ์ภาษาผ่านชื่อ ประเภทสถานที่/องค์กรเพื่อไม่ให้มีความเป็นอื่นด้วยการจัดองค์ประกอบแบบวางเคียงกัน การวางเหลื่อม กันและการวางซ้อนกันเพื่อเชื่อมต่อรหัสตามลําดับจากบนลงล่างและจากซ้ายไปขวาให้เกิดเป็นสาร โดย ต้องคํานึงถึงรหัสของสื่อและบริบทสถานที่เพราะป้ายเป็นชื่อที่ผูกติดกับสถานที่ขึ้นอยู่กับว่าใช้ที่ไหน การเข้ารหัสด้วยวิธีการข้างต้น เกิดเป็นสารที่มีลักษณะเกื้อหนุนกันระหว่างภาพเหมือนคล้าย เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงลายก้นหอยกับไวยากรณ์ภาษาผ่านชื่อประเภทสถานที่องค์กร โดยภาพ เหมือนคล้ายเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงลายก้นหอยทําหน้าที่เกื้อหนุนภาษาด้วยการสื่อสารคุณค่าความ เก่าแบบบ้านเชียงและองค์ความรู้ในอดีตของมนุษย์จากการศึกษาทางโบราณคดีที่บ้านเชียง อันเป็นคุณ ค่าที่ลึกซึ้งเกินกว่าจะบรรยายได้ชาบซึ้ง/กระจ่างแจ้งด้วยภาษาเพียงลําพัง |
Other Abstract: | The Encoding of the 'Ban Chiang' Sign-Symbol for Public Communication is a study to investigate the encoding methods of the 'Ban Chiang' sign-symbol in communicating with the public. The study entails in-depth interviews, text analysis and a comparative analysis between the encoding of the 'Ban Chiang' sign as a tourist attraction sign of the museum type and the encoding methods of the 'Ban Chiang' sign as an index associated with the Ban Chiang archeological site, Udon Thani province, and the northeastern region. Using the concepts of mode of communication, graphic design as communication, and semiology, the study looks into signs of directions, signs detailing the history of the tourist attraction, and the signs for organizations/places/ projects - 56 signs in all. The study results reveal that the 'Ban Chiang' sign that communicates with the public is a icon mixed with the index. It is a message that requires the knowledge gained from being a member of the cultural group that are familiar with Ban Chiang pottery and remember its specific feature, which is the spiral design on the pottery, Therefore, when the spiral design appears, it is associated with 'Ban Chiang' pottery in particular and not any other pottery in general. Even though 'Ban Chiang' is well-known and remembered in Thai culture and is also a world heritage, it does not mean that the spiral design is a tool or a sign suitable for all occasions. Even when used along with text, the sign does not always achieve its objectives effectively, The encoding of the 'Ban Chiang' sign-symbol for public communication is achieved by changing the function of ritual media to that of media in daily life, using metaphor. A image that looks similar to Ban Chiang pottery with the spiral design is used to represent the Ban Chiang pottery with the spiral design. This becomes a metonymy. relating it to the place, i.e. the Ban Chiang archeological site, Udon Thani province, the northeastern region, and tourist attractions of museum types that display artifacts found at the archeological sites. Incidentally, a sign is a code that is open to interpretation. It is necessary to use it along with language grammar through use of place/organization names so that no other interpretations can be made. The sign composition may be side by side, superimposed, or overlap patterns to combine codes in certain orders, from top to bottom and from left to right to create a message. The code of the media and the context of place need to be taken into account as a sign is a medium that is attached with the place depending where it is used. The encoding using the above methods results in a message that is inter-supportive between the image that looks similar to Ban Chiang pottery with the spiral design and the language grammar through use of place/organization names. The image enhances the language by conveying the value of Ban Chiang antiquity and the body of knowledge of human history from the archeological study at Ban Chiang, a value which is too subtle for one to describe clearly and appreciate solely through the use of language. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41872 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1345 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1345 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phimnara_ki_front.pdf | 2.58 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phimnara_ki_ch1.pdf | 2.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phimnara_ki_ch2.pdf | 2.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phimnara_ki_ch3.pdf | 5.53 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phimnara_ki_ch4.pdf | 11.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phimnara_ki_ch5.pdf | 3.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phimnara_ki_ch6.pdf | 3.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phimnara_ki_ch7.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Phimnara_ki_back.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.