Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41970
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภัสสร ลิมานนท์-
dc.contributor.authorณัฐญา ศรีพานิช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-03-25T13:17:37Z-
dc.date.available2014-03-25T13:17:37Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41970-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความรุนแรงต่อผู้หญิง ในครอบครัวของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปัจจัยที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับความรุนแรงต่อผู้หญิงในครอบครัว กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนของกรุงเทพมหานคร ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ และเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้จำนวนตัวอย่าง 568 คน การศึกษาครั้งนี้พบว่าประชาชนในกรุงเทพมหานครที่เป็นตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีแนวโน้ม ไม่ยอมรับความรุนแรงต่อผู้หญิงในครอบครัว และเห็นว่าเป็นปัญหาสังคมที่ควรแก้ไข โดยผล การวิเคราะห์ถดถอยแบบง่าย พบว่า เพศหญิง ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า ผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่า ผู้มีสถานภาพสมรสโสด ผู้ประกอบอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ ทัศนคติเชิงบวก ต่อบทบาทเพศในครอบครัว ทัศนคติเชิงบวกต่อความเสมอภาคทางเพศในสังคม ผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงที่กระทำต่อผู้หญิงมากกว่า และการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับ ความรุนแรงในครอบครัวมากกว่า มีความคิดเห็นเชิงไม่ยอมรับความรุนแรงต่อผู้หญิงในครอบครัว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุพบว่า ตัวแปรอิสระทั้ง 11 ตัว สามารถอธิบายการผันแปรของความคิดเห็นเกี่ยวกับความรุนแรงต่อผู้หญิงในครอบครัวได้ร้อยละ 33.1 และผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุขั้นตอน พบว่า ทัศนคติต่อความเสมอภาคทางเพศในสังคม สามารถอธิบายการแปรผันของ ความคิดเห็นเกี่ยวกับความรุนแรงต่อผู้หญิงในครอบครัวได้ดีที่สุด คือร้อยละ 26.9 รองลงมา คือ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรงที่กระทำต่อผู้หญิง สามารถอธิบายความแปรผันเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ถัดไปคือ การศึกษา ประสบการณ์เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว สามารถอธิบายความแปรผันเพิ่มขึ้นได้เท่ากัน คือร้อยละ 1.1 และทัศนคติต่อบทบาทเพศในครอบครัว สามารถอธิบายความแปรผันได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.09 ตามลำดับ-
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study the opinion of people in Bangkok Metropolis towards violence against women in the family and factors affecting opinion toward this issue. The 568 sampled population are people in the communities in Bangkok Metropolis, government officials and state enterprises officials who currently reside in Bangkok Metropolis. The sample was purposively selected through a multi stage sampling technique. The data collected by self administered questionnaires and through the interviews for those who were unable to read or write. Findings obtained from the Simple Regression Analysis revealed that respondents who were female, younger, single, had higher education, being government officials and state enterprises officials, had positive attitude toward sex role in the family, and positive attitude toward gender equality, had more knowledge and understanding of violence against women, and had greater exposure to information on family violence had a tendency not to accept violence against women in the family at a 0.05 statistical significance level. Results obtained from Multiple Regression Analysis showed that the total of 11 independent variables explained variation in opinion towards violence against women in the family about 33.1 percent. Stepwise Multiple Regression Analysis revealed that positive attitude toward gender equality could best explained the variation of opinion towards violence against women in the family (26.9 percent) followed by other 4 factors including knowledge and understanding of violence against women, education, experienced on family violence, and positive attitude toward sex role in the family, which increased the explanatory power by 1.6, 1.1, 1.1 and 0.09 percent respectively.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.334-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความรุนแรงในครอบครัว -- ไทย -- กรุงเทพฯ-
dc.subjectความรุนแรงต่อสตรี -- ไทย -- กรุงเทพฯ-
dc.titleความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับความรุนแรงต่อผู้หญิงในครัวเรือนen_US
dc.title.alternativeOpinion of People in Bangkok Metropolis Towards Violence Against Women in the Familyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineประชากรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.334-
Appears in Collections:Pop - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nattaya_sr_front.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open
Nattaya_sr_ch1.pdf7.44 MBAdobe PDFView/Open
Nattaya_sr_ch2.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open
Nattaya_sr_ch3.pdf6.08 MBAdobe PDFView/Open
Nattaya_sr_ch4.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open
Nattaya_sr_back.pdf4.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.