Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4197
Title: ประสิทธิภาพของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากกากขี้แป้งของโรงงานน้ำยางข้นในการกำจัดสีย้อมในน้ำเสียสังเคราะห์
Other Titles: Efficiency of activated carbon prepared from lutoid of rubber latex industry for the removal of dyes in synthetic wastewater
Authors: เพ็ญลักษณ์ เทศสุวรรณ
Advisors: ธเรศ ศรีสถิตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thares.S@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดสี
คาร์บอนกัมมันต์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกำจัดสีย้อมออกจากน้ำเสีย โดยใช้ถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากกากขี้แป้งซึ่งเป็นของเสียจากโรงงานน้ำยางข้นและใช้ซิงค์คลอไรด์เป็นสารกระตุ้น เปรียบเทียบกับถ่านกัมมันต์ที่มีขายตามท้องตลาด โดยทำการทดสอบค่าไอโอดีนนัมเบอร์ ศึกษาลักษณะทางกายภาพ การทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟรุนดลิช และทดสอบประสิทธิภาพการดูดติดผิวแบบต่อเนื่องโดยใช้คอลัมน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 เซนติเมตร ทำการป้อนน้ำเสียแบบไหลลงด้วยอัตราการไหล 3 ลิตรต่อชั่วโมง และเก็บตัวอย่างที่ระดับความสูง 30, 60 และ 90 เซนติเมตร ผลการทดลองการเตรียมถ่านกัมมันต์จากกากขี้แป้งซึ่งใช้ซิงค์คลอไรด์เป็นสารกระตุ้น พบว่า การเตรียมที่อัตราส่วนวัตถุดิบต่อสารกระตุ้น 1:1 และเผากระตุ้นที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส ให้ค่าไอโอดีนนัมเบอร์สูงสุด คือ 547.31 +- 3.18 มิลลิกรัมต่อกรัม มีพื้นที่ผิว 583.54 ตารางเมตรต่อกรัม การทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟรุนดลิชโดยใช้น้ำเสียงสังเคราะห์ พบว่า ถ่านขี้แป้งสามารถดูดติดผิวสีไดเร็กท์ สีรีแอกทีฟ สีดิสเพิร์ส และสีเอสิดได้ 14.40, 13.31, 2.42 และ 48.02 มิลลิกรัมต่อกรัมตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับถ่านกัมมันต์ที่มีขายตามท้องตลาดพบว่าถ่านกัมมันต์ที่มีขายตามท้องตลาดมีประสิทธิภาพมากกว่าถ่านกัมมันต์ซึ่งผลิตจากกากขี้แป้ง โดยผลการทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟรุนดลิชของถ่านกัมมันต์ที่มีขายตามท้องตลาด พบว่าสามารถดูดติดผิวสีไดเร็กท์ สีรีแอกทีฟ สีดิสเพิร์ส และสีเอสิด ได้ 73.03, 16.19, 18.62 และ 2,171.89 มิลลิกรัมต่อกรัม ตามลำดับ การทดสอบการดูดติดผิวแบบต่อเนื่องโดยใช้คอลัมน์ด้วยถ่านกัมมันต์ที่เตรียมขึ้น พบว่า ที่ระดับความสูง 30, 60 และ 90 เซนติเมตร สามารถดูดติดผิวสีไดเร็กท์ได้ 125.85, 111.86 และ 92.76 BV ตามลำดับ สามารถดูดติดผิวสีรีแอกทีฟได้ 323.13, 196.61 และ 131.22 BV ตามลำดับ สามารถดูดติดผิวสีดิสเพิร์สได้ 61.22, 30.51 และ 61.09 BV ตามลำดับ สามารถดูดติดผิวสีเอสิดได้ 605.44, 301.69 และ 201.36 BV ตามลำดับ และสามารถดูดติดผิวน้ำเสียจริงจากโรงงานได้ 527.21, 262.71 และ 175.34 BV ตามลำดับ อย่างไรก็ตามถ่านขี้แป้งยังมีปัญหาในการนำมาใช้งานในคอลัมน์ เนื่องจากมีลักษณะเป็นผงละเอียด ดังนั้นจึงควรพัฒนาให้สามารถนำมาใช้งานได้ง่ายขึ้น
Other Abstract: The objective of this research compared the dyes removal efficiency from synthetic wastewater by activated carbon prepared from lutoid of rubber latex industry with the commercial activated carbon. Lutoid activated carbon was activated by zinc chloride. In this research, iodine number, physical characteristic, Freundlich adsorption isotherm and column adsorption test were studied. The column adsorption test used a down-flow column with 2.5 cm.diameter and 3 l/h flow rate and sampling at 30, 60 and 90 cm.depth. The result of this research revealed that preparation of lutoid activated carbon by a ratio of 1:1 of raw material to zinc chloride and activated 500 ํC was the highest iodine number and surface area ,547.31 +- 3.18 mg/g and 583.54 m[superscript 2]/g respectively. Freundlich adsorption isotherm test with synthetic wastewater showed that lutoid activated carbon can adsorbed direct dye, reactive dye, disperse dye and acid dye at 14.40, 13.31, 2.42 and 48.02 mg/g respectively. The commercial activated carbon adsorbed dye better than lutoid activated carbon. It can adsorbed direct dye, reactive dye, disperse dye and acid dye at 73.03, 16.19, 18.62 and 2,171.89 mg/g respectively. The column test with synthetic and textile wastewater at 30, 60 and 90 cm.depth found that lutoid activated carbon adsorbed direct dye at 125.85, 111.86 and 92.76 BV, reactive dye at 323.13, 196.61 and 131.22 BV, disperse dye at 61.22, 30.51 and 61.09 BV, acid dye at 605.44, 301.69 and 201.36 BV and textile wastewater at 527.21, 262.71 and 175.34 BV. respectively. However, the lutoid activated carbon had a problem when it was used because it was very fine so it should be developed for using easier.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4197
ISBN: 9741765193
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
PenlakT.pdf3.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.