Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41987
Title: ผลของโปรแกรมการฝึกสติต่อความรู้สึกอยากแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์ที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยในระยะบำบัดด้วยยา
Other Titles: The effect of mindfulness training program on alcohol craving of inpatient alcohol dependence receving detoxification treatment
Authors: กงจักร สอนลา
Advisors: เพ็ญพักตร์ อุทิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: penpaktr@hotmail.com
Subjects: การใช้สารเสพติด -- การรักษา
การเลิกเสพสารเสพติด
สมาธิ -- การใช้รักษา
ผู้ติดสุรา -- การดูแล
พิษสุราเรื้อรัง -- การรักษา
Substance abuse -- Treatment
Detoxification (Substance abuse treatment)
Meditation -- Therapeutic use
Alcoholics -- Care
Alcoholism -- Treatment
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) คะแนนความรู้สึกอยากแอลกอฮอล์ก่อนและหลังการทดลอง ของผู้ติดแอลกอฮอล์ ในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกสติและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการบำบัดรักษาตามปกติ 2) ความแตกต่างของคะแนนความรู้สึกอยากแอลกอฮอล์ก่อนและหลังการทดลอง ของผู้ติดแอลกอฮอล์ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกสติ กับกลุ่มที่ได้รับการบำบัดรักษาตามปกติ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 46 ราย ได้จากการวิเคราะห์ power analysis of sample size เป็นผู้ติดแอลกอฮอล์เพศชายที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ระยะบำบัดด้วยยาสถาบันธัญญารักษ์จังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณ์ ได้รับการจับคู่ด้วยคะแนนความรู้สึกอยากแอลกอฮอล์ และจนวนครั้งที่เข้ารับการบำบัด แล้วถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 23 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมการฝึกสติ 2) แบบประเมินความรู้สึกอยากแอลกอฮอลล์ ( Alcohol Craving Questionnaire-Revised: ACQ-R) 3) แบบประเมินทางพุทธิปัญญาและความมีสติ (Cognitive and Affective Mindfulness Scale-Revised: CAMS-R) 4) แบบสอบถามข้อมูลประชากร เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 2 และ 3 มีค่าความเที่ยงอัลฟาของ ครอนบาค เท่ากับ .96 และ .74 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) คะแนนเฉลี่ยความรู้สึกอยากแอลกอฮอล์ก่อนและหลังการทดลอง ของผู้ติดแอลกอฮอล์ที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ระยะบำบัดด้วยยา ในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกสติและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการบำบัดรักษาตามปกติ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2) ผลต่างคะแนนเฉลี่ยของความรู้สึกอยากแอลกอฮอล์ของผู้ติดแอลกอฮอล์ที่รับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ระยะบำบัดด้วยยา ในกลุ่มทดลองมีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (d = 32.69, 20.30 S.D.=19.50, 22.64 ตามลำดับ t=1.98, p=.05)
Other Abstract: This study is a quasi-experimental pretest-posttest control groups design. The objectives were to compare: 1) the pretest and posttest alcohol craving scores of alcohol dependences in the study group who received mindfulness training program and those in the control group who received regular treatment, and 2) the pretest –posttest differential alcohol craving score between the study group and the control group. A total sample size of 46 subjects, calculated using power analysis of sample size, were male inpatient alcohol dependences receiving detoxification treatment in Thanyarak Institute, Pathumthani who met the inclusion criteria .They were matched- pair by craving score and times for treatment and then randomly assigned to experiment or control group, 23 subjects in each group. Research instruments comprised of: 1) Mindfulness Training Program, 2) Alcohol Craving Questionnaire-Revised (ACQ-R), 3) Cognitive and Affective Mindfulness Scale-Revise (CAMS-R), and 4) Demographics Data Form. The content validity of all instruments had verified by 5 professional experts. The 2nd and 3rd instrument had Cronbach’s Alpha Coefficient reliability of .96 and .74 respectively. Descriptive statistics and the t-test were used in data analysis. The conclusions of this research are as follows: 1)The mean scores of alcohol craving in the experimental and control group before and after received mindfulness training program had significant difference at .05 2) The pretest – posttest differential score of alcohol craving between the experimental group and the control group had significant difference at .05
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/41987
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1220
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1220
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kongjakr_so.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.