Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/419
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชุลี อาชวอำรุง-
dc.contributor.advisorสุเมธ ตันติเวชกุล-
dc.contributor.authorฟ้ามุ่ย เรืองเลิศบุญ, 2496--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-21T04:45:23Z-
dc.date.available2006-06-21T04:45:23Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741741642-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/419-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์สามประการ คือเพื่อประมวลปรัชญาการอุดมศึกษา ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ตามแก่นแท้และสาระที่ปรากฏ เพื่อจัดสารบบ ตามองค์ประกอบของสาขาวิชาปรัชญา และเพื่อน้อมนำไปใช้ในกระบวนการบริหารและจัดการอุดมศึกษา แบบการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเอกสาร โดยใช้วิธีการประมวล อ่านสังเคราะห์ และจัดสารบบพระบรมราโชวาทของพระองค์ และวิธีการตรวจสอบผลการวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัย พบหลักปรัชญาการอุดมศึกษา 9 ประเด็น ได้แก่ 1) พันธกิจมหาวิทยาลัย 2) การบริหารการอุดมศึกษา 3) เป้าหมายการอุดมศึกษา 4) นิสิตนักศึกษา ผู้เรียน และบัณฑิต 5) อาจารย์และผู้ให้การศึกษา 6) หลักสูตรอุดมศึกษา 7) การจัดการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา 8) จรรยาบรรณวิชาการ และ 9) นโยบายสังคม สามารถจัดสารบบตามหลักปรัชญาการอุดมศึกษาได้ครบทั้ง 5 หลักปรัชญา ได้แก่ 1) ปรัชญาลัทธิจิตนิยม (Idealism) ว่าด้วยโลกของจิต ความคิด และมโนคติ 2) ปรัชญาลัทธิสัจนิยม (Realism) ว่าด้วยโลกของวัตถุ 3) ปรัชญาลัทธิหลักการนิยมใหม่ (Neo-Thomism) ว่าด้วยโลกของเหตุผล 4) ปรัชญาลัทธิปฏิบัตินิยม (Experimentalism) ว่าด้วยโลกของประสบการณ์ และ 5) ปรัชญาลัทธิอัตถิภวนิยม (Existentialism) ว่าด้วยการดำรงชีวิต และพบการจัดสารบบปรัชญาการอุดมศึกษา ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้แก่นแท้ทั้งหมด 129 แก่นแท้ พร้อมกับได้นำเสนอเป็นสาระเกี่ยวกับแนวทางการน้อมนำความรู้จากแก่นแท้ สาระ และคำสอนของปรัชญาการอุดมศึกษาในพระองค์ ในเรื่องการบริหารมหาวิทยาลัย หลักสูตรการอุดมศึกษา การจัดการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษา การประเมินผลการอุดมศึกษา สถาบันกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษา การพัฒนาอาจารย์ และการพัฒนานิสิตนักศึกษา เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาน้อมนำไปใช้ในกระบวนการบริหารและจัดการอุดมศึกษา ข้อค้นพบที่สำคัญคือ พบว่า พระองค์ทรงมีแนวคิดโน้มไปตามปรัชญาลัทธิปฏิบัตินิยม (Experimentalism) และพบหลักปรัชญาภูมิสังคมทางการอุดมศึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ 1) ธรรมะ คือกลวิธีในแง่ของของหลักคิด หลักการ หลักวิชา และหลักปฏิบัติทางการอุดมศึกษา 2) การปฏิบัติงาน ที่ถูกต้องตามหลักวิชา มีการทดลองปฏิบัติที่ดี และพอเหมาะพอดีกับภูมิสังคม และ 3) เป้าหมาย เพื่อเกิดประโยชน์สุขแก่ทางการอุดมศึกษาและการศึกษาของประเทศชาติบ้านเมืองสืบไปen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was threefold, namely, to culminate HM King Bhumibol Adulyadej's philosophy of higher education in apparent essences and core concepts organized into taxonomies according to dimensions in the field of philosophy, and to be implemented in management and governance of higher education. The research design is documentary using accumulation, synthesis and taxonomization his majesty's speeches. The study was validated by experts in a connoiseurship model. Results of the study laid bare eight domains of philosophical principles, namely (1) university missions, (2) higher education management, (3) goals of higher education, (4) students / learners and graduates, (5) faculty members and educators, (6) curriculum in higher education (7) instructional deliveries in higher education and (8) academic ethics, Findings were categorized into domains of five philosophical approaches, namely, (1) idealism: on mind ideas and mentality, (2) realism: on the world of things, (3) neo-thomism: on the world of reason, (4) experimentalism: the world of experiences and (5) existentialism: on being. Findings were taxonomies of his majesty's philosophies of higher education comprising 129 core concepts, Additionally, essences regarding the implementation in higher education management, curricula, instructional delivery, assessment and evaluation, institutional quality assurance, staff development and student development. All there findings were to be implemented in higher education institutions in managing and governing processes to the benefits of higher education and the nation. Essential findings were as follows. HMS' philosophical approach mainly was in accordance with experimentalism. His geosocial philosophy underlying higher education contained three attributes, namely, (1) Dhamma in the sense of main ideas, principles and higher education theories and practices; (2) Practices with disciplinary accuracy of proper experimentation on balance with geosocial contexts; and (3) Goals ultimately for the benefits of higher education, national education and the country as a whole.en
dc.format.extent10183099 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2003.266-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภูมิพลอดุลยเดช, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา, 2470-en
dc.subjectการศึกษาขั้นอุดมศึกษา--ปรัชญาen
dc.titleปรัชญาการอุดมศึกษาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชen
dc.title.alternativeThe higher education philosophy of His Majesty King Bhumibol Adulyadejen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาเอกen
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPornchulee.A@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2003.266-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Farmuis.pdf5.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.