Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42024
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานพ วราภักดิ์-
dc.contributor.authorภูมิพงศ์ แก้วอำไพ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี-
dc.date.accessioned2014-04-01T13:37:02Z-
dc.date.available2014-04-01T13:37:02Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42024-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการประมาณค่าแบบช่วงของผลต่างค่าสัดส่วนแบร์นูลลีของข้อมูลแบบจับคู่โดยการเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นจากการทดลอง และค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่น วิธีการประมาณที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ วิธีการประมาณของ Wald วิธีการประมาณของ Newcombe วิธีการประมาณของ May และ Johnson วิธีการประมาณของ Zhou และ Qin การเปรียบเทียบทำภายใต้สถานการณ์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระดับสูง กลาง ต่ำ โดยที่ขนาดตัวอย่างของประชากรมีขนาดเท่ากันคือ 10,20,30,40,50,60,70,80 ค่าสัดส่วนประชากรที่ 1 และ 2 ให้มีค่าตั้งแต่ 0.1 ถึง 0.9 โดยเพิ่มค่าทีละ 0.1 ซึ่งจะให้ค่าผลต่างระหว่างค่าสัดส่วนของสองประชากร มีความแตกต่างกันตั้งแต่ 0 ถึง 0.8 โดยเพิ่มค่าทีละ 0.1 กำหนดให้ กำหนดระดับความเชื่อมั่น 3 ระดับคือ 90%, 95% และ 99% การวิจัยครั้งนี้ใช้เทคนิคการจำลองแบบมอนติคาร์โลและทำการทดลอง 2000 ครั้ง ในแต่ละสถานการณ์ที่กำหนด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ เมื่อขนาดตัวอย่างของสองประชากรมีขนาดเล็กและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทุกระดับ วิธีการประมาณของ May และ Johnson ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นจากการทดลองไม่ต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดและให้ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นต่ำที่สุดเมื่อ มีค่าน้อย(มีค่าเข้าใกล้0) และ วิธีการประมาณของ Newcombe ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นจากการทดลองไม่ต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดและให้ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นต่ำที่สุดเมื่อ มีค่าปานกลาง จนถึงมีค่ามาก(มีค่าเข้าใกล้1) เมื่อขนาดตัวอย่างของสองประชากรมีขนาดกลางและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทุกระดับ วิธีการประมาณของ May และ Johnson ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นจากการทดลองไม่ต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดและให้ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นต่ำที่สุดเมื่อ มีค่าน้อย(มีค่าเข้าใกล้0) แต่เมื่อขนาดตัวอย่างของสองประชากรมีขนาดกลางและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ไม่สูง วิธีการประมาณของ Zhou และ Qin ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นจากการทดลองไม่ต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดและค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นต่ำที่สุดเมื่อ มีค่าปานกลางหรือมาก(เข้าใกล้1) เมื่อขนาดตัวอย่างของสองประชากรมีขนาดใหญ่และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ทุกระดับ วิธีการประมาณของ Wald วิธีการประมาณของ May และ Johnson และ วิธีการประมาณของ Zhou และ Qin ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นจากการทดลองไม่ต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดและให้ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นที่ต่ำใกล้เคียงกันเมื่อ มีค่าน้อย(มีค่าเข้าใกล้0) แต่เมื่อขนาดตัวอย่างของสองประชากรมีขนาดใหญ่และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ไม่สูง วิธีการประมาณของ Wald วิธีการประมาณของ Newcombe และ วิธีการประมาณของ Zhou และ Qin ให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นจากการทดลองไม่ต่ำกว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดและให้ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นที่ต่ำใกล้เคียงกันเมื่อ มีค่าปานกลางหรือมาก(เข้าใกล้1)-
dc.description.abstractalternativeThe objective of this thesis is to study and compare the interval estimation methods for the difference between two Bernoulli proportions of paired data by comparing their confidence coefficients and average confidence interval lengths. The estimation methods under consideration in this study are Wald’s method, Newcombe’s method, May and Johnson’s method and Zhou and Qin’s method. The comparison was done under condition of level of correlation coefficients(low, medium and high) and two sample sizes are 10,20,30,40,50,60,70,80 two population proportions are ranging from 0 to 0.9 increasing by 0.1 and difference between two population proportions are ranging from 0 to 0.8 increasing by 0.1 and, all of which are considered at 90%, 95% and 99% confidence levels. The simulation of this research is repeated 2000 times in each situation by using the Monte Carlo Simulation method. The conclusion of this study are as follow : If two sample sizes are small and all level of correlation coefficients, the confidence levels of May and Johnson’s method are not lower than the given confidence levels and the average confidence interval lengths are shortest when is small(near 0) and the confidence levels of Newcombe’s method are not lower than the given confidence levels and the average confidence interval lengths are shortest when is moderate to large(near 1). If two sample sizes are medium and all level of correlation coefficients , the confidence levels of May and Johnson’s method are not lower than the given confidence levels and the average confidence interval lengths are shortest when is small(near 0) but if two sample sizes are medium and level of correlation coefficient is low or medium, the confidence levels of Zhou and Qin’s method are not lower than the given confidence levels and the average confidence interval lengths are shortest when is moderate or large(near 1). If two sample sizes are large and all level of correlation coefficients , the confidence levels of Wald’s method, May and Johnson’s method and Zhou and Qin’s method are not lower than the given confidence levels and the average confidence interval lengths are nearly the same short when is small(near 0) but if two sample sizes are large and level of correlation coefficient is low or medium, the confidence levels of Wald’s method, Newcombe’s method and Zhou and Qin’s method are not lower than the given confidence levels and the average confidence interval lengths are nearly the same short when is moderate or large(near 1).-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1214-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectช่วงความเชื่อมั่น-
dc.subjectการประมาณค่าในช่วง-
dc.subjectทฤษฎีการประมาณค่า-
dc.titleการประมาณค่าแบบช่วงของผลต่างค่าสัดส่วนแบร์นูลลีของข้อมูลแบบจับคู่en_US
dc.title.alternativeInterval estimation for the difference between two bernoulli proportions of paired dataen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสถิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถิติen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1214-
Appears in Collections:Acctn - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poompong_ka_front.pdf3.89 MBAdobe PDFView/Open
Poompong_ka_ch1.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Poompong_ka_ch2.pdf2 MBAdobe PDFView/Open
Poompong_ka_ch3.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open
Poompong_ka_ch4.pdf18.33 MBAdobe PDFView/Open
Poompong_ka_ch5.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Poompong_ka_back.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.