Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42188
Title: | แนวทางการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บริเวณท่าเตียน กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Real estate development approach for Tha Tian area, Bangkok Metropolitan |
Authors: | เมธี เลิศปรีชาภักดี |
Advisors: | กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kpanitchpakdi@yahoo.com |
Subjects: | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- ท่าเตียน การปรับปรุงฟื้นฟูเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ -- ท่าเตียน Real estate development Real estate development -- Thailand -- Bangkok -- Tha Tian Housing rehabilitation -- Thailand -- Bangkok -- Tha Tian |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | พื้นที่ตลาดท่าเตียน เป็นพื้นที่ทีมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนรัตนโกสินทร์ เคยเป็นทั้งตลาดค้าส่งที่สำคัญและศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ การขยายตัวของเมือง เส้นทางคมนาคม และสภาพสังคมทำให้บริเวณท่าเตียนค่อยๆลดความสำคัญลงจนกลายเป็นพื้นที่ถดถอย เสื่อมโทรม ในปีพ.ศ. 2540 คณะรัฐมาตรีได้เห็นชอบกับแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ มีโครงการปรับปรุงพื้นที่ภายในเกาะรัตนโกสินทร์ โดยมีแผนปรับปรุงพื้นที่ตลาดท่าเตียนในโครงการเปิดมุมมองวัดโพธิ์แต่ต้องชะลอโครงการเนื่องจากมีแรงต่อต้านจากชุมชน ทำให้เกิดการศึกษาวิจัยถึงแนวทาง รูปแบบและความเหมาะสมในการพัฒนาบริเวณท่าเตียนมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังขาดการศึกษาในเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้เช่าในการปรับปรุงพื้นฟู โดยเน้นเฉพาะบริเวณที่อยู่ในการดูแลของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จากการศึกษาพบว่า สำนักงานทรัพย์สินฯ มีนโยบายพัฒนาพื้นที่โดยการประสานประโยชน์ ให้ความสำคัญต่อชุมชนและมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เห็นว่าบริเวณท่าเตียนมีศักยภาพสูงและมีโอกาสในการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์มากโดยเฉพาะธุรกิจเพื่อรองรับการท่องเที่ยว ในส่วนของผู้เช่านั้น ผู้เช่าอาคารอนุรักษ์นั้นมีความต้องการและมีศักยภาพที่จะพัฒนาและเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจเพื่อรอบรับการท่องเที่ยว ผู้เช่าแผงค้าในตลาดและผู้เช่าอาคารแถวภายในตลาดให้ความสำคัญกับสิทธ์ในการเช่าพื้นที่และยินยอมปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจตามนโยบายของสำนักงานทรัพย์สินฯ นำมาสู่การสังเคราะห์เสนอแนวทางในการพัฒนา 3 รูปแบบคือ 1) แบบ Rehabilitation พื้นฟูอาคารให้กลับมาใช้งานได้ใหม่ ปรับตึกแถวภายในตลาดเป็นพื้นที่โล่ง 2) แบบ Rehabilitation และ Redevelopment ปรับโรงตลาดและตึกแถวภายในออกเป็นพื้นที่ว่างและสร้างอาคารใหม่ทดแทนบางส่วน 3) แบบ Rehabilitation และ Conservation ปรับปรุงโรงตลาดให้กลับสู่สภาพเดิมและปรับตึกแถวในตลาดให้เป็นพื้นที่โล่ง เพื่อใช้เกณฑ์ คุณค่าทางสถาปัตยกรรม นโยบายของสำนักงานทรัพย์สินฯ ศักยภาพของชุมชน ผลกระทบกับชุมชน และผลตอบแทนจากอสังหาริมทรัพย์ ในการพิจารณา พบว่ารูปแบบที่ 1 เหมาะสมในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์บริเวณท่าเตียนมากที่สุด ถึงแม้ว่าจะได้ผลตอบแทนจากอสังหาริมทรัพย์ไม่มาก แต่เป็นแนวทางในการพัฒนาที่ผู้เช่าสามารถร่วมดำเนินการบริหารจัดการได้ และเป็นไปตามนโยบายในการพัฒนาของสำนักงานทรัพย์สินฯ จากการวิจัยนี้จึงเสนอให้มีการประชุมชุมชนเพื่อเสนอรูปแบบในการพัฒนา และสร้างความเข็มแข็งให้กับชุมชนอย่างมีธรรมภิบาล เพื่อชุมชนจะสามารถพัฒนาพื้นที่ได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน |
Other Abstract: | Tha Tian market area has always been a place of great historical significance from the Ayutthaya period up through the present Rattanakosin period. The area was once an important wholesale market and trade centre of Thailand. However, with rapid urban growth, advancements in the transportation system and changes in social structure, Tha Tian has become a somewhat desolate area. A model scheme to preserve and develop certain parts of the old Siam including the development of Tha Tian area was launched by Thai Government in 1997; however, it was met with objections from the local community. Several more attempts were made to find appropriate ways to develop the area. But, these were also unsuccessful likely due to the fact that most of the studies conducted have not tried to involve the local tenants on the redevelopment of the area, especially the parts under the supervision of the Crown property Bureau. Based on a number of studies conducted, it was found that the land development policy of the Crown property Bureau aims for sustainable development and also involves idea of local community as much as possible. In terms of real estate development, developers see great potential in developing the area to meet demand of tourists. With the agreement of tenants of market stalls and other tenants in market area who gave consent for development of Tha Tian, three development strategies were created; 1) Renovate old buildings and create more open space, 2) Clear the market of open space and restore building in market area, 3) Renovate market to original style and create more open space. In order to preserve the architectural beauty of Tha Tian area the Crown Property Bureau believes that the first strategy would be the most appropriate for development, albeit resulting in only a small return in terms of real estate development. This research suggests that there should be a meeting with people in the local community to try and involve them in implementing this development strategy which will eventually lead to a sustainable development. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาที่อยู่อาศัย |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42188 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.722 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.722 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
metee_le.pdf | 38.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.