Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42192
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบัติ กาญจนกิจ-
dc.contributor.authorอรสุธี มูลละ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2014-04-17T09:31:32Z-
dc.date.available2014-04-17T09:31:32Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42192-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวนานาชาติเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกรุงเทพมหานคร และเปรียบเทียบแรงจูงใจเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวนานาชาติในกรุงเทพมหานครจำแนกตามเพศ อายุ และถิ่นพำนัก โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนานาชาติ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ด้วยการทดสอบค่าเอฟ (F-test) กรณีพบความแตกต่างเป็นรายคู่ จะใช้การวิเคราะห์รายคู่ด้วยวิธี แอล เอส ดี (LSD-Least Significant Different) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย มีอายุ 20-35 ปี มีถิ่นพำนักในทวีปเอเชีย มีสถานภาพสมรส มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีอาชีพลูกจ้าง 2. พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ พบว่า เดินทางมาประเทศไทยครั้งแรก ใช้ระยะเวลาท่องเที่ยว 1 – 3 สัปดาห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ เดินทางมาประเทศไทยด้วยตนเอง เดินทางมากรุงเทพฯเพราะสถานที่ท่องเที่ยวมีชื่อเสียงโด่งดัง สนใจมาใช้บริการนวดแผนไทย มีแผนใช้เงินในการท่องเที่ยวน้อยกว่า 50,000 บาท และมีจุดมุ่งหมายที่จะอยู่ท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ 3. แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวนานาชาติเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกรุงเทพมหานคร เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านแรงจูงใจทางกายภาพ (ค่าเฉลี่ย = 3.59) และด้านแรงจูงใจทางวัฒนธรรม (ค่าเฉลี่ย = 3.48) มีแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านแรงจูงใจระหว่างบุคคล (ค่าเฉลี่ย = 3.12) และด้านแรงจูงใจทางสถานภาพและชื่อเสียง (ค่าเฉลี่ย = 3.25) มีแรงจูงใจอยู่ในระดับปานกลาง 4. เมื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวนานาชาติเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกรุงเทพมหานคร ระหว่างเพศ และอายุ พบว่า แตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5. เมื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวนานาชาติเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกรุงเทพมหานคร ระหว่างถิ่นพำนัก พบว่า ด้านสถานภาพและชื่อเสียงแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study and to compare gender, sex and country of residence in terms of the tourism motivation towards health tourism in Bangkok Metropolis and its perimeters in Physical Motivation, Cultural Motivation, Interpersonal Motivation, as well as Status and Prestige Motivation. The samples were 400 international health tourists responded to a survey tool. Data were analyzed statistically in term of frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way analysis of variance, and if differences were found, the differences in pair were later analyzed by LSD method. The results were as follows: 1. This research found out the most tourists using service were male, aged between 20-35 years old, most were Asian tourists, having marital status of being married, education level Bachelor’s degree and occupations were employees. 2. Most tourists have never traveled to Thailand; Bangkok was the convalescence place after service which tourists wanted most. Their main purposes of visiting were to relax or for leisure. Most tourists used the service of Thai Massage. Expense for health tourism was about less than 50,000 Baht and the period of staying in Thailand was about 1-3 weeks. 3. The health tourism motivation was at high level of two aspects namely Physical Motivation (Mean = 3.59) and Cultural Motivation (Mean = 3.48). In addition, the health tourism motivation in Bangkok Metropolis was at medium level of two aspects namely Interpersonal Motivation (Mean = 3.12) and Status and Prestige Motivation (Mean = 3.25). 4. Comparison motivation of international tourists by gender and age interval, there were significant difference at .05 levels. 5. Comparison motivation of international tourists by country of residence, there were significant difference at .05 levels in status and prestige motivation.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.724-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectอุตสาหกรรมท่องเที่ยว -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectMedical tourism -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.subjectTourism -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.titleแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวนานาชาติเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeThe motivation of international tourists for health tourism in Bangkok Metropolisen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsombatkarn@hotmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.724-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
onsuthee_mo.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.