Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42197
Title: | การลงทุนธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ในสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามของนักลงทุนไทยเมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน |
Other Titles: | Real estate investment in Socialist Republic of Vietnam by Thai investor for ASEAN Economics Community |
Authors: | ปัทมาภรณ์ กุศล |
Advisors: | ไตรรัตน์ จารุทัศน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Trirat.j@chula.ac.th |
Subjects: | การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ -- เวียดนาม การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ -- อาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน Real estate investment -- Vietnam Real estate investment -- ASEAN ASEAN Economic Community AEC |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ประเทศเวียดนามเป็นอีกประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ที่มีศักยภาพดึงดูดการลงทุนโครงการต่างๆ จากนักลงทุนต่างประเทศ อันเนื่องมาจากขนาดของจำนวนประชากรที่มีประมาณ 90 ล้านคน มีความต้องการด้านที่อยู่อาศัย การบริโภคจับจ่ายใช้สอย มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุมดมสมบูรณ์ มีแรงงานที่มีฐานค่าแรงต่ำ อีกทั้งรัฐบาลเวียดนามเองนั้น มีเสถียรภาพในการปกครอง ได้มีการส่งเสริมนโยบายการการลงทุนและนโยบายที่สนับสนุนให้ชาวต่างชาติมาลงทุน เพื่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการสร้างสาธารณูปโภคและสาธารณูปการขั้นพื้นฐาน อันนำมาซึ่งการพัฒนาประเทศ การจัดตั้งกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community :AEC) ที่เป็นแกนนำในการดำเนินการรวมกลุ่มประเทศอาเซียนด้านเศรษฐกิจ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทำให้แต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน เริ่มดำเนินการเปิดการค้าเสรี ลดการกีดกันการลงทุน ลดอัตราภาษีระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวทางการลงทุนโครงการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศเวียดนามและศึกษาถึงกฎหมาย ข้อกำหนด มาตราการทางการค้าการลงทุนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการลงทุนแก่ผู้ประกอบการ ที่มีความสนใจลงทุนในประเทศเวียดนามโดยศึกษาจากกลุ่มนักลงทุนที่ได้มีการลงทุนในประเทศเวียดนามแล้ว จากการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ลงทุนโครงการในประเทศเวียดนาม ส่วนใหญ่มีการลงทุนเป็นลักษณะกิจการร่วมทุนกับนักลงทุนในประเทศเวียดนาม โดยแบ่งสัดส่วนการถือหุ้นขึ้นอยู่กับข้อตกลงร่วมของแต่ละบริษัท ลักษณะของเงินทุนที่นำเข้าไปลงทุนของกลุ่มตัวอย่าง เป็นการออกหุ้นกู้ภายในประเทศ เนื่องมาจากกลุ่มตัวอย่างเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จึงใช้วิธีการออกหุ้นกู้เพื่อเป็นการะดมเงินทุนแทนการกู้ยืมเงิน ความเสี่ยงของเงินที่นำไปลงทุนจะมีความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินที่นำไปลงทุน เนื่องจากการแปรผันของอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินในแต่ละช่วงเวลาที่ต่างกัน ในกลุ่มตัวอย่างมีการจัดตั้งหน่วยงานที่ทำการศึกษาข้อมูล และวิเคราะห์ก่อนการลงทุนในประเทศเวียดนาม ซึ่งเห็นว่าเป็นส่วนสำคัญของการศึกษาและเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก เพื่อวิเคราะห์โครงการก่อนการตัดสินใจลงทุน ข้อจำกัดในการลงทุนในประเทศเวียดนาม ได้แก่ 1.กฎหมาย ข้อกำหนดที่มีการเปลี่ยนแปลงจากนโยบายการลงทุนของรัฐบาล 2.ภาษา 3.ระบบการเงิน 4.ทำเล ทีตั้ง 5.การเดินทาง จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างพบว่า แนวทางการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ด้านนิคมอุตสาหกรรม โรงงาน ฐานการผลิต และด้านการก่อสร้าง ยังพอมีโอกาสเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลเวียดนาม สนับสนุนการลงทุนและมีสิทธิพิเศษให้กับนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ และโครงการที่รัฐบาลเวียดนามต้องการพัฒนา เช่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล การลงทุนด้านเทคโนโลยี เป็นต้น การลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ประเภทด้านที่อยู่อาศัย ณ สภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ปี พ.ศ.2555 ยังอยู่ในสภาวะซบเซาอันเนื่องมาจากสภาวะเงินเฟ้อของประเทศเวียดนามใน 5 ปีที่ผ่านมา อีกทั้ง ชาวต่างชาติที่เข้าไปลงทุนยังไม่มีสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน แต่จะได้สิทธิในการเช่าระยาวประมาณ 50-70 ปี ควรศึกษาและตรวจสอบการใช้ที่ดินและสิทธิ์ในการใช้ของชาวต่างชาติก่อนการตัดสินใจลงทุน ข้อเสนอแนะในการศึกษาพบว่าการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในแต่ละประเภทในประเทศเวียดนามมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ควรศึกษาแยกเป็นรายประเภท เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกและนำมาวิเคราะห์การลงทุนได้อย่างถูกต้อง |
Other Abstract: | Vietnam continues to be one of the ten ASEAN countries that haves tremendous potential for international investments. A population size of ninety million stipulates the need for housing whilst, consumer and commercial transactions add to the country's prospects. Plenty of natural resources and a low wage work force coupled with a stable government that encourages foreign investment allow for economic expansion. These factors also help stimulate the creation of basic and public utilities which also brings about growth. In accordance with the setting up of the ASEAN Economic Community, or the AEC, and its aim to consolidate ASEAN countries in terms of economy, there are already establishments of various economic strategies such as free trade, lowering of investment embargoes and lowering of taxes between ASEAN countries in order to further develop each countries respective economic potential. The aim of this research was to study real estate investment in Vietnam and the respective legalities and regulations regarding related investments in order to establish preliminary guidelines for potential investors in Vietnam. This was carried out through the study and research of existing investors in Vietnam. The results reveal that the majority of investors in Vietnam are in joint investments with Vietnamese partners. Stock holdings are specific to each company’s agreements and the type of investment is domestic bond because said companies are registered in the stock market. Bonds are issued in order to garner capital instead of loans. The risk related with capital used for investment is due to exchange rate differences from the original invested capitals due to varying fluctuations in the exchange rates. In the studied sample group, a research unit is set up and analysis is carried out before investment is placed in Vietnam in order to properly analyze projects before specific investments are carried out. Limitation to investment in Vietnam can be relegated to 1. Legalities that alter investment policies from the government of Vietnam 2. Language 3. Financial system 4. Location 5. Logistics. From reviewing the interview results, it is found that industrial sectors and construction sectors are still conducive to investment due to government policies that support investment and allows special privileges for investors who are interested in the special economic zone. The government itself wants various developments to occur as well, such as the development of universities, hospitals and investments in technologies. Recommendations arrived at from the study are that various types of real estate developments present varying limitations which should be specifically studied in separate categories in order to achieve multi-faceted analyses that can be used to benefit appropriate investments. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42197 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.733 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2012.733 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pattamaporn_ku.pdf | 4.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.