Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42255
Title: อนาคตภาพรูปแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทย
Other Titles: The scenario of a learning city model based on the lifelong learning concept to develop the active aging of thai elderly
Authors: ระวี สัจจโสภณ
Advisors: อาชัญญา รัตนอุบล
ปาน กิมปี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Archanya.R@Chula.ac.th
peterparnk@hotmail.com
Subjects: การศึกษาต่อเนื่อง
การเรียนรู้
ผู้สูงอายุ -- ไทย
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Learning
Older people -- Thailand
Continuing education
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยเรื่อง อนาคตภาพรูปแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประยุกต์ใช้แนวคิดอนาคตศึกษาด้วยเทคนิคการวิจัยอนาคต มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์ปรากฏการณ์ของเมืองแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 2) สร้างอนาคตภาพรูปแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทย และกำหนดยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทยไปสู่การปฏิบัติ 3) ตรวจสอบและประเมินอนาคตภาพรูปแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทย ตลอดจนวิเคราะห์จัดอันดับความสำคัญของยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทยไปสู่การปฏิบัติตามความเร่งด่วนและความเป็นไปได้ ดำเนินการวิจัยโดยการศึกษาเอกสาร การศึกษากรณีตัวอย่างที่ดี การมองภาพอนาคต การสนทนากลุ่มเพื่อตรวจสอบอนาคตภาพ และการประเมินอนาคตภาพด้วยแบบประเมินรูปแบบ ผลการวิจัย พบว่า อนาคตภาพรูปแบบเมืองแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาภาวะ พฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2556 – 2565) ประกอบด้วย 1) หลักการของเมืองแห่งการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิตและการใช้ชุมชนเป็นฐานในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา และกระตุ้นผู้สูงอายุเกิดศักยภาพภายในตนเองด้านสุขภาพ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านหลักประกันและความมั่นคงของชีวิต ผ่านกิจกรรมการศึกษาและการเรียนรู้ผสานอยู่ในวิถีชีวิตในลักษณะเป็นพหุวัย 2) องค์ประกอบของเมืองแห่งการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น องค์ประกอบภายใน คือ ผู้เรียนรู้ ผู้จัดการเรียนรู้ องค์ความรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ บรรยากาศการเรียนรู้ เครือข่ายการเรียนรู้ การจัดการความรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ และองค์ประกอบภายนอก คือ ยุทธศาสตร์ นโยบายสาธารณะ และเป้าหมายการพัฒนา กรรมการกลางการบริหารทรัพยากร และเครือข่ายการเรียนรู้ตลอดชีวิตระดับชาติ 3) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของเมืองแห่งการเรียนรู้ เป็นการบูรณาการการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ด้วยการพัฒนาความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ด้านสุขภาพ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านหลักประกันและความมั่นคง ที่ผสมผสานเนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลเข้ากับวิถีชีวิต ภูมิสังคม และลักษณะทางกายภาพ 4) วิธีดำเนินงานเมืองแห่งการเรียนรู้ ใช้ชุมชนเป็นฐานในการพัฒนา เริ่มจากกลไกระดับท้องที่กลไกระดับท้องถิ่น และกลไกระดับชาติที่กำหนดนโยบายขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ มีการประสานสัมพันธ์ระหว่างภาคีเครือข่ายเชิงพื้นที่และเชิงประเด็น กระบวนการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ คือ การกำหนดวัตถุประสงค์ การแสวงหาความร่วมมือ การดำเนินกิจกรรม และการประเมินผล 5) ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายสาธารณะ การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทย การบริหารจัดการและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ระดับชาติ และการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทย เพื่อให้เกิดบุคคลแห่งการเรียนรู้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ และเครือข่ายการเรียนรู้ในระดับชาติ
Other Abstract: This qualitative research entitled “The Scenario of a Learning City Model Based on the Lifelong Learning Concept for the Development of Thai Active Aging”, applied the future studies concept of future research technique. The study aimed to: 1) analyze and synthesize the phenomenon of a learning city based on the lifelong learning concept for the development of active aging both in Thailand and foreign countries; 2) create the scenario of a learning city model based on the lifelong learning concept for the development of Thai active aging and set the strategies to put the learning city for the development of Thai active aging into practice; 3) examine and evaluate the scenario of a learning city model based on the lifelong learning concept for the development of Thai active aging as well as prioritize the strategies to put the learning city for the development of Thai active aging into practice according to its urgency and possibility. The research was conducted by document study, a good cases study, scenario planning, group discussion to examine the scenario, and scenario evaluation using the evaluation form. The research finding said that the scenario of a learning city model based on the lifelong learning concept for the development of Thai active aging within a decade ahead (2556-2565 B.E.) will be composed of 1) the principles of a learning city are lifelong learning and a community-based promotion, support, development and encouragement for the elderly to self develop in terms of health, participation and life assurance and security through learning activities and integrated learning of multi-aging way of living. 2) the components of a learning city are internal and external ones. The internal one includes learners, learning organizers, body of knowledge, learning activities, learning atmosphere, learning network, knowledge management, and the external one includes strategies, public policies and development targets, common committee of resource management and national lifelong learning network. 3) the learning process of a learning city is formal education, non-formal education and informal through developing knowledge, skills and attitude towards health, participation and life assurance and security with integrated contents, learning activities and measurement and evaluation with way of life, geographical and physical features. 4) the operational process of a learning city is a community-based development starting from area, local and national levels which put the policy into practice, area and case network collaboration. The learning process of a learning city includes specifying objectives, seeking cooperation, conducting activities, and learning evaluation. 5) the strategies of putting a learning city into practice comprise specifying public policies, developing lifelong learning curriculum for Thai active aging, managing and developing basic infrastructure, creating learning atmosphere and knowledge management for national learning network development and allocating resource for a learning city development based on lifelong learning concept for active Thai aging so as to create learning personnel, community and network at national level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42255
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.144
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.144
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ravee _sa.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.