Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42263
Title: ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนการสร้างข้อโต้แย้งที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Effects of using the generate an argument instructional model on science learning achievement and reasoning thinking ability of lower secondary school students
Authors: วรัญญา จำปามูล
Advisors: อลิศรา ชูชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Alisara.C@chula.ac.th
Subjects: วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ความคิดและการคิด
การอ้างเหตุผลในเด็ก
Science -- Study and teaching ‪(Secondary)‬
Academic achievement
Thought and thinking
Reasoning in children
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองaมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนการสร้างข้อโต้แย้ง(2)เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนการสร้างข้อโต้แย้งกับกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบทั่วไป (3)เปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนการสร้างข้อโต้แย้ง และ (4)เปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนการสร้างข้อโต้แย้งกับกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบทั่วไป กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุราษฎร์ธานี ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 และแบบสอบความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้ 1.นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนการสร้างข้อโต้แย้งมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คิดเป็นร้อยละ 64.67 จัดอยู่ในระดับค่อนข้างดี 2.นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนการสร้างข้อโต้แย้งมีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบทั่วไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3.นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนการสร้างข้อโต้แย้งมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4.นักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนการสร้างข้อโต้แย้งมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบทั่วไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: This study was a quasi-experimental research. The purposes of this study were to (1) study science learning achievement of lower secondary school students that learned through the generate an argument instructional model, (2) compare science learning achievement of students between an experimental group that learned through the generate an argument instructional model and a control group that learned through the conventional teaching method, (3) compare reasoning thinking ability of students between before and after learning science through the generate an argument instructional model, and (4) compare reasoning thinking ability of students between the experimental group and the control group. The samples were two classes of Matthayom Suksa 2 students at Kanjanapisek Wittayalai Suratthani school during the second semester of academic year 2012. The research instruments were the science learning achievement test with reliability at 0.80 and the reasoning thinking ability with reliability at 0.88. The collected data were analyzed by arithmetic mean, mean of percentage and standard deviation. The hypotheses were tested by using t-test. The research findings were summarized as follows: 1.The experimental group had mean scores of science learning achievement at 64.67 percent which was rated fairly good. 2.After the experiment, the experimental group had mean scores of science learning achievement higher than the control group at 0.05 level of significance. 3.After the experiment, the experimental group had mean scores of reasoning thinking ability higher than before the experiment at 0.05 level of significance. 4.After the experiment, the experimental group had mean scores of reasoning thinking ability higher than the control group at 0.05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42263
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.948
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.948
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
waranya _jl.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.