Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42273
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรรจน์ เศรษฐบุตร-
dc.contributor.authorอภิญญา บุญมา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2014-04-30T06:55:12Z-
dc.date.available2014-04-30T06:55:12Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42273-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกำหนดค่าในเกณฑ์การใช้พลังงานรวมของอาคาร (Whole Building Energy) ตามกฎกระทรวงพลังงาน พ.ศ.2552 โดยในเกณฑ์นี้ ได้กำหนดชั่วโมงการใช้งานในอาคาร คือ 8,760 ชม. ซึ่งเท่ากับการใช้อาคาร 24 ชม./วัน แต่อาคารประเภทคอนโดมิเนียมมีลักษณะการใช้งานเช่นเดียวกับบ้านพักอาศัย ไม่ได้มีการใช้งานตลอดทั้งวัน โดยในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษา ค่าการใช้พลังงานรวมของอาคารจากการสำรวจ คอนโดมิเนียมจำนวน 13 อาคาร และทำแบบสอบถามการใช้พลังงานในอาคารจากผู้พักอาศัยจำนวน 381 ชุดเพื่อนำมาสร้างอาคารอ้างอิง พร้อมทั้งทำการจำลองด้วยโปรแกรม VISUAL DOE 4.0เพื่อเปรียบเทียบ ค่าการใช้พลังงานในอาคารจริงจากการสำรวจ กับ ค่าการใช้พลังงานที่ผ่านเกณฑ์การใช้พลังงานรวมของอาคารตามกฎหมาย ผลจากการเปรียบเทียบค่าการใช้พลังงานจากการสำรวจอาคาร พบว่าใช้พลังงานรวมของอาคาร ผลจากการสำรวจได้ค่า EUI เท่ากับ 238.45 kWh/m²-yr ในขณะที่ค่า EUI ตามมาตรฐานกฎกระทรวงได้ค่าสูงถึง 257.06 kWh/m²/yr ส่วนผลการจำลองค่าไฟด้วยโปรแกรม VISUAL DOE 4.0ที่ได้ค่าการใช้พลังงานอาคารสำรวจเท่ากับ 274.77 kWh/m²-yr โดยพบข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างชั่วโมงการใช้งานที่กำหนดขึ้นตามกฎกระทรวงที่ 8,760 ชั่วโมง/ปี แต่จากการสำรวจ พบว่า จำนวนชั่วโมงในการใช้พลังงานในแต่ละส่วนนั้นจะไม่เท่ากัน ชั่วโมงการใช้เครื่องปรับอากาศมีเพียง 4,058 ชั่วโมง/ปี การใช้ไฟฟ้าส่องสว่าง เท่ากับ 2,728 ชั่วโมง/ปี การใช้อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เท่ากับ 3,957 ชั่วโมง/ปี ส่วนนี้เป็นผลมาจากการกำหนดจำนวนชั่วโมงการใช้งานตามกฎกระทรวงที่สูงเกินจริงและควรได้รับการทบทวนเพื่อแก้ไขโดยเร็ว ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้เสนอชั่วโมงการใช้งานที่ถูกต้องมากขึ้นในสมการการใช้พลังงานรวมของอาคาร และเมื่อปรับแก้สมการ จะทำให้ค่า EUI ของอาคารสำรวจลดลงไปที่ 102.65 kWh/m²-yr และอาคารตามกฎกระทรวงจะลดลงไปที่ 107.84 kWh/m²-yr ซึ่งพบใกล้เคียงกับค่าไฟฟ้าที่เก็บจากผู้พักอาศัยคอนโดมิเนียม ผลสรุปในงานวิจัยนี้เป็นการเสนอแนะให้มีการปรับแก้จำนวนชั่วโมงการใช้งานอาคารในสมการการใช้พลังงานรวมของอาคาร เพื่อปรับแก้ความถูกต้องของค่า EUI ที่ได้จาการการคำนวณ โดยทั้งนี้สมการการใช้พลังงานรวมของอาคารที่กำหนดขึ้นมาใหม่จากงานวิจัยนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงปฏิบัติจากการใช้สมการพลังงานรวมของอาคารในการประเมินการใช้พลังงานของอาคารเขียวในอนาคตen_US
dc.description.abstractalternativeThis research aimed at investigating the impact of the Whole Building Energy (WBE) equation on condominium buildings. The criterion that was set for the building operation hours was 8,760 hours per year, which is equivalent to 24 hours/day. This has resulted in an exaggerated Energy Use Index or EUI (kWh/m2-yr) since condominium buildings are not utilized in this way. To establish areas on able number of occupying hours, a survey was conducted with 381 subjects living in 13 condominium buildings in Bangkok. The survey results for occupancy were entered into the energy model using VISUAL DOE 4.0. Based on the survey results, and using the WBE equation, the calculated EUI for the surveyed cases was 238.45 kWh/m²-yr, whereas the EUI of buildings that passed the energy code was as high as 257.06 kWh/m²-yr, which is substantially larger. From the simulation results of VISUALDOE 4.0, the EUI of the surveyed cases was 274.77kWh/m²-yr. It was found that there was a major discrepancy between the occupying hours set in the energy code (i.e., 8,760 hours per year) and that found from the survey (i.e., only 4,058 hours of air-conditioner use; 2,728 hours of lighting use, and 3,957 hours of electrical appliance use per year). This discrepancy means the results obtained from the energy code are significantly exaggerated, and therefore they must be reviewed for immediate correction. Therefore, this study has proposed the use of more accurate occupying hours for input into the WBE equation. As a result, the EUI for the survey cases was reduced to 102.56 kWh/m²-yr while that for the energy code was 107.84 kWh/m²-yr, which is closer to the real energy bills paid by the residents. In conclusion, this research suggests acorrection for the occupying hours in the WBE equation based on the survey results in order to improve the accuracy of the EUI calculated using the newly proposed WBE equation. The new equation would benefit the use of the WBE approach to assess the energy performance of green buildings in the future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.952-
dc.subjectอาคารชุด -- การอนุรักษ์พลังงานen_US
dc.subjectการอนุรักษ์พลังงานen_US
dc.subjectการใช้พลังงานen_US
dc.subjectอาคาร -- การใช้พลังงานen_US
dc.subjectCondominiums -- Energy conservationen_US
dc.subjectEnergy conservationen_US
dc.subjectEnergy consumptionen_US
dc.subjectBuildings -- Energy consumptionen_US
dc.titleผลกระทบจากการกำหนดค่าการใช้พลังงานรวมของอาคารตามกฎหมายที่มีต่อการออกแบบคอนโดมิเนียมen_US
dc.title.alternativeThe impact of the whole building energy code on condominium buildingen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAtch.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.952-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
apinya _Bo.pdf6.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.