Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42297
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มัทยา จิตติรัตน์ | - |
dc.contributor.author | ฐาปณีย์ รติจารุภัทร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2014-05-06T03:04:56Z | - |
dc.date.available | 2014-05-06T03:04:56Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42297 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การโจรกรรมข้อมูลซึ่งแสดงเอกลักษณ์บุคคล คือ การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลอื่นแสวงหาประโยชน์ในทางที่มิชอบเพื่อตนเอง หรือผู้อื่น โดยปัจจุบันเกิดการกระทำความผิดในลักษณะนี้เป็นจำนวนมากในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้การโจรกรรมข้อมูลซึ่งแสดงเอกลักษณ์บุคคลกระทำได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งการกระทำความผิดในลักษณะนี้อาจนำไปสู่การกระทำความผิดที่ร้ายแรงอย่างอื่น เช่น การก่อการร้าย การค้ายาเสพติดข้ามชาติ เป็นต้น ประเทศไทยยังไม่มีบทกฎหมายเฉพาะที่จะนำมาบังคับใช้กับการโจรกรรมข้อมูลซึ่งแสดงเอกลักษณ์บุคคล เมื่อเกิดการกระทำความผิดขึ้นจึงต้องนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องอื่นๆ มาบังคับใช้ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ฯลฯ จากการศึกษาพบว่าบทกฎหมายที่นำมาปรับใช้ยังมีความไม่ครอบคลุม เช่น ถ้าเป็นเพียงการลักข้อมูลซึ่งแสดงเอกลักษณ์บุคคลเพื่อไปกระทำความผิด ยังไม่มีกฎหมายบัญญัติให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิด รวมถึงการครอบครอง การจำหน่ายจ่ายโอนข้อมูลซึ่งแสดงเอกลักษณ์บุคคล ดังนี้เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา แล้วพบว่ามีบทบัญญัติกฎหมายที่มีความครอบคลุมการกระทำความผิดมากกว่ากฎหมายไทย เนื่องด้วยมีการบัญญัติฐานความผิดการโจรกรรมข้อมูลซึ่งแสดงเอกลักษณ์บุคคลไว้เป็นการเฉพาะ ทำให้สามารถบังคับใช้กฎหมายแก่การกระทำความผิดได้ ผู้เขียนจึงขอเสนอให้มีการกำหนดความผิดเกี่ยวกับการโจรกรรมข้อมูลซึ่งแสดงเอกลักษณ์บุคคลเป็นความผิดทางอาญาในกฎหมายไทย โดยกำหนดในรูปแบบของกฎหมายเฉพาะ ซึ่งสามารถปรับใช้ได้เป็นการทั่วไป และมีความครอบคลุมได้ทุกกรณีของการกระทำความผิด ทั้งนี้โดยนำกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และประเทศสหราชอาณาจักรมาเป็นแนวทางในการกำหนดกฎหมายเพื่อให้มีความเหมาะสมกับรูปแบบของความผิดที่เกิดขึ้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | Identity Theft is the stealing of another individual’s information to commit fraud. Currently, advanced technologies simplify identity theft activities and lead to an increasing number of identity theft around the world. These offences may lead to other serious crimes such as terrorism and transnational drug trafficking etc. Meanwhile, the United States and Canada have specific laws covering directly to all varieties of case relating to identity theft. Thailand has no law to deal with identity theft particularly. The Criminal Code, the Computer Crime Act B.E. 2550 and The Identity Card Act B.E. 2526 are commonly used against identity theft. However, the study finds that the present laws are insufficient to deal with identity theft crime. The author’s proposal is to enact the specific law to criminalize identity theft in private sector offence. The new identity theft law should be able to deal with basic activities of identity theft as well as advanced identity theft activities. The earlier enacted law in United States, Canada and the United Kingdom can be the guidance in enacting the most suitable law against identity theft in Thailand. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.961 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การป้องกันข้อมูล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | en_US |
dc.subject | อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ | en_US |
dc.subject | Data protection -- Law and legislation | en_US |
dc.subject | Computer crimes | en_US |
dc.title | การกำหนดความผิดเกี่ยวกับการโจรกรรมข้อมูลซึ่งแสดงเอกลักษณ์บุคคล | en_US |
dc.title.alternative | Criminalization of identity theft | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.961 | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tapanee_ra.pdf | 3.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.