Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42338
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย | - |
dc.contributor.advisor | รัตน์ศิริ ทาโต | - |
dc.contributor.author | รัตนา พันจุย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2014-05-12T15:26:51Z | - |
dc.date.available | 2014-05-12T15:26:51Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42338 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | กการวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน โดยใช้แนวคิดการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มของ Mahler (1969) เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนในเขตสำนักงานสาธารณสุขอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว โดยจับคู่ด้านเพศ อายุ และระยะเวลาการดูแลผู้ป่วย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละจำนวน 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการก่อตั้งกลุ่ม 2) ขั้นการเปลี่ยนลักษณะของกลุ่ม 3) ขั้นการดำเนินงาน และ 4) ขั้นยุติการให้คำปรึกษา ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินความสามารถในการเผชิญปัญหา มีค่าความเที่ยง .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน หลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (X-bar = 2.60, SD = 0.12, ระดับดี) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (X-bar = 0.79, SD = 0.29, ระดับไม่ดี) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม (X-bar = 2.60, SD = 0.12, ระดับดี) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (X-bar = 1.80, SD = 0.41, ระดับพอใช้) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effect of group counseling program on coping ability of caregivers for schizophrenic patients in community. Group counseling theory (Mahler, 1969) was used as a theoretical framework to develop the program. A sample of this study were caregivers of schizophrenic patients in a community in the Ta Phraya District Health Office, Sa Kaeo province. They were matched by sex, age and length of patient care, 20 per group. The control group received routine care, while the experimental group received group counseling program. The program comprised of four sessions: 1) The involvement stage 2) The Transition stage 3) The working stage, and 4) The ending stage. The intervention was tested for content validity by five experts. Data were collected using the coping ability questionaire. The cronbach’s alpha coefficient was .91. Data was analysed using descriptive, and t-test statistics. Major findings of this study were as follow: 1. The mean score of coping ability of caregivers for schizophrenic patients in community after receiving group counseling program (X-bar = 2.60, SD = 0.12) was significantly higher than before participating in the program (X-bar = 0.79, SD = 0.29) (p<.05). 2) The mean score of coping ability of caregivers for schizophrenic patients in community receiving group counseling program (X-bar = 2.60, SD = 0.12) was significantly higher than those the control group (X-bar = 1.80, SD = 0.41) (p<.05). | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.977 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | จิตเภท | en_US |
dc.subject | ผู้ป่วยจิตเภท -- การดูแล | en_US |
dc.subject | ผู้ดูแล | en_US |
dc.subject | การปรับตัว (จิตวิทยา) | en_US |
dc.subject | การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม | en_US |
dc.subject | Schizophrenia | en_US |
dc.subject | Schizophrenics -- Care | en_US |
dc.subject | Caregivers | en_US |
dc.subject | Adjustment (Psychology) | en_US |
dc.subject | Group counseling | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน | en_US |
dc.title.alternative | Effect of group counseling on coping ability in caregivers of schizophrenic patients in community | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Oraphun.L@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Ratsiri.T@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.977 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
rattana_pu.pdf | 1.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.