Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42374
Title: การศึกษาทัศนคติของกลุ่มผู้สนใจรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด
Other Titles: Attitude of groups interested in hybrid electric vehicles
Authors: วราภรณ์ หัตถกี
Advisors: วีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: รถยนต์ไฟฟ้า
ยานยนต์ไฮบริด
ความพอใจของผู้บริโภค
ผู้บริโภค -- ทัศนคติ
Automobiles, Electric
Hybrid electric vehicles
Consumer satisfaction
Consumers -- Attitudes
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: นำเสนอปัจจัยโดยรวมที่มีผลต่อทัศนคติและความพึงพอใจของกลุ่มผู้สนใจใช้รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด พร้อมทั้งศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อนโยบายของรัฐต่างๆ ที่สนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดในปัจจุบัน และนำเสนอความต้องการของผู้สนใจในแง่ต่างๆ เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนนโยบายของภาครัฐให้สอดคล้องกับการใช้งานจริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ใช้งานจริงและผู้ที่มีความสนใจในรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด จำนวนทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง และคัดเลือกนำมาเฉพาะผู้สนใจ 382 ตัวอย่าง โดยสามารถสรุปผลการศึกษาออกเป็นส่วนๆ คือ ลักษณะปัจจัยโดยรวมและพฤติกรรมที่มีผลต่อทัศนคติและความพึงพอใจ ลักษณะพฤติกรรมที่มีผลต่อทัศนคติและความพึงพอใจ ลักษณะปัจจัยด้านส่วนผสมทางการตลาด ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ปัจจัยความคิดเห็นด้านนโยบายที่มีผลต่อทัศนคติและความพึงพอใจ ปัญหาและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับทัศนคติและความพึงพอใจ จากการสำรวจและศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ใช้รถยนต์หรือผู้ที่จะซื้อรถยนต์จะเริ่มต้นจากการพิจารณาความน่าเชื่อถือของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์เป็นลำดับต้นๆ จากนั้นจึงพิจารณาเรื่องความปลอดภัยและการรับประกันจากบริษัทรถยนต์นั้นๆ แล้วจึงมองไปถึงเรื่องค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเชื้อเพลิงทั้งในปัจจุบันและอนาคต เรื่องบริการหลังการขายที่สามารถเข้ารับการบริการได้ง่าย ท้ายสุดคือเรื่องมาตรการการส่งเสริมการขายต่างๆ ปัจจัยเหล่านี้หากมีการพัฒนาและนำมาใช้อย่างเหมาะสมก็จะเป็นสิ่งที่จูงใจให้ผู้บริโภคหันมาซื้อรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริดมากขึ้น
Other Abstract: To present the factors that affects the attitude and preferences of users and enthusiasts towards hybrid electric vehicles. Moreover, this study discusses the public’s satisfaction with the current policies supporting the use of hybrid electric vehicles, as well as, their suggestions for necessary improvement on government policies in line with its usage. The samples used in this study are real users who are interested in hybrid electric vehicles. Total of 400 samples, but only 382 were present only for those interested. The behavioral characteristics of the public towards hybrid electric vehicles. The influential factors of marketing mix and environmental effect. The importance of policies and its value to decision-making. Problems encountered and useful suggestions to make the attitude and preferences of the public towards hybrid electric vehicles. Study showed that majority of car owners and enthusiasts are considering the reliability of car manufacturers as a priority factor followed by safety and assurance, and current and projected cost of energy. Services such as after-sales and promotions are lightly considered too. If these factors are developed and matched properly, more consumers will pursue in buying hybrid electric vehicles.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42374
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.783
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.783
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
waraporn_ha.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.