Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42378
Title: การปรับปรุงความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์ซีเมนต์
Other Titles: Strength improvement of fibre cement product
Authors: วรัญญา สนเผือก
Advisors: นภัสสวงศ์ โรจนโรวรรณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: napassavong.o@chula.ac.th
Subjects: ไฟเบอร์ซีเมนต์
Fiber cement
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัสดุประเภทไฟเบอร์ซีเมนต์เป็นวัสดุก่อสร้างทดแทนไม้ คุณสมบัติที่สำคัญของวัสดุก่อสร้างไฟเบอร์ซีเมนต์ คือ ความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ ซึ่งวัดในรูป ค่าโมดูลัสของการแตกหัก งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์แนวคิดซิกซ์ ซิกมา เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มค่าความสามารถด้านสมรรถนะแบบระยะยาว (Ppk) ของค่าความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์จากค่า Ppkก่อนการปรับปรุงที่มีค่า 0.26 ให้มีค่ามากกว่า 1.33 ซึ่งสามารถยอมรับได้ว่ากระบวนการมีความสามารถโดยมีแนวทางในการเพิ่มค่าเฉลี่ยความแข็งแรง และลดความผันแปร งานวิจัยเริ่มจากการศึกษาสภาพปัญหา กำหนดวัตถุประสงค์ และขอบเขตของโครงการ จากนั้นทำการวิเคราะห์ความสามารถของระบบการวัด ศึกษารายละเอียดของขั้นตอนการผลิตและระบุตัวแปรที่อาจส่งผลต่อค่าความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากตัวแปรมีจำนวนมาก จึงทำการคัดกรองปัจจัยโดยใช้เทคนิคการหาความสัมพันธ์ของสาเหตุและผลและเทคนิคการวิเคราะห์อาการขัดข้องและผลกระทบสามารถกรองปัจจัยจาก 39 ปัจจัย เหลือ 16 ปัจจัย และพบว่ามี 3 ปัจจัย ได้แก่ ค่าฟรีเนสน้ำเยื่อ ความหนาของชั้นฟิล์ม และแรงอัด ซึ่งถูกปรับปรุงโดยวิธีการออกแบบการทดลอง ชนิดการออกแบบบอกซ์-เบห์นเคน เพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่อค่าความแข็งแรงของผลิตภัณฑ์ และกำหนดค่าที่เหมาะสมในการปรับระดับของปัจจัย เพื่อให้ได้ค่าความแข็งแรงสูงที่สุด ส่วนตัวแปรอีก 13 ตัวแปร มีแนวทางการปรับปรุงโดยการสร้างมาตรฐานวิธีปฏิบัติงาน และการฝึกอบรมพนักงาน จากนั้นทำการควบคุมกระบวนการหลังการปรับปรุง โดยใช้หลักการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ หลังการปรับปรุง พบว่า ค่า Ppkของกระบวนการมีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 2.05 ซึ่งสามารถยอมรับได้ว่ากระบวนการมีความสามารถ
Other Abstract: Fibre cement is a wood replacement construction material. An important property of this material is strength, which is measured by the Modulus of Rupture (MOR). This study applied Six Sigma approach to improve the fibre cement production. The objective is to increase the long term process capability index (Ppk) of the MOR from the baseline performance of 0.26 to be more than 1.33, which is the standard acceptable value.The approach for improvement is to increase the mean MOR and reduce the variation. This research started from defining problem, setting the project objective and the project scope. Next, the measurement system was analyzed and the process map was set up. The potential factors of the problem was then determined.Since there were many factors that affect the MOR, the Cause and Effect Matrix and the Failure Mode and Effects Analysis technique were used to reduce the number of factors from 39 to 16 to be studied further. It was found that there were three factors including pulp slurry freeness, film-layer thickness, and pressure step that must be improved by the Box-Behnken experimental design. This experiment was used to determine the relationship between the significant factors and the MOR and then the optimal factor levels were determined to reach the maximum MOR. The remaining 13 factors were improved by creating standard work instruction and training the operators. After that, the statistical process control was performed to control the production processes. After improvement, the process capability index (Ppk) was increased to 2.05, which was acceptable.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42378
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.995
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.995
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
warnya _ So.pdf4.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.