Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42390
Title: การใช้แบคทีเรียเป็นโพรไบโอติกเสริมในอาหารกุ้ง
Other Titles: Use of bacteria as probiotics supplement in shrimp feed
Authors: วรรนิภา เพี้ยนภักตร์
Advisors: ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sirirat.R@Chula.ac.th
Subjects: อาหารกุ้ง
แบคทีเรีย
โพรไบโอติก
กุ้งกุลาดำ
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้แยกแบคทีเรียจากตัวอย่างกุ้งกุลาดำบริเวณทางเดินอาหารและน้ำจากบ่อเลี้ยงกุ้ง สามารถนับจำนวนแบคทีเรียทั้งหมดในทางเดินอาหารกุ้งได้ 1.2x10 6-3.4x10 7 cfu/gm และในน้ำมีจำนวนแบคทีเรียทั้งหมด 1.0x10 4-4.4x10 5 cfu/ml แบคทีเรียประจำถิ่นในทางเดินอาหารของกุ้งที่แยกได้จัดอยู่ในสกุล Bacillus sp., Vibrio sp., Aeromonas sp. Pseudomonas sp., Klebsiella sp. และ Staphylococcus sp. จากแบคทีเรียที่แยกได้ทั้งหมดสามารถคัดเลือกสายพันธุ์ที่สามารถยับยั้งเชื้อทดสอบบางสายพันธุ์ที่ก่อโรคในคนคือ Bacillus cereus, Bacillus subtilis, Bacillus megaterium, Listeria monocytogenes, Staphylococcus aureus และ Escherichiacoli และก่อโรคในกุ้งคือ Pseudomonas aeruginosa, Aeromonas hydrophila, Vibrio alginolyticus, Vibrio anguillarum, Vibrio harveyi, Vibrio parahaemolyticus และ Vibrio cholera ได้ 1 สายพันธุ์คือ Bacillus S11 ซึ่งสามารถสร้างสารต่อต้านจุลชีพได้ดีในช่วงการเจริญในระยะ late log phase และ stationary phase เมื่อนำ Bacillus S11 มาตรวจสอบสมบัติ รูปร่าง ลักษณะและสมบัติทางชีวเคมีสามารถจำแนกได้ว่า Bacillus S11 เป็น Bacillus mycoides เมื่อนำ Bacillus S11 ที่มีสมบัติเป็นโพรไบโอติกมาผสมในอาหารกุ้งกุลาดำและเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิดเป็นเวลา 100 วัน พบว่ากุ้งกุลาดำที่ได้รับอาหารที่ผสม Bacillus S11 จะมีการเจริญเติบโตและมีอัตราการรอดมากกว่ากุ้งกุลาดำที่ไม่ได้รับอาหารที่ผสม Bacillus S11 อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) กุ้งกุลาดำในกลุ่ม Control มีอัตราการเจริญเติบโตโดยวัดน้ำหนักได้เท่ากับ 0.73 กรัมต่อ 21 วัน มีอัตราการรอด 15.8% ส่วนในกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารผสม Bacillus S11 ในรูปแบบ Fresh cells, Fresh cells in NSS และ Lyophilized cells มีอัตราการเจริญเติบโตโดยวัดน้ำหนักได้เท่ากับ 1.29, 1.17 และ 1.16 กรัมต่อ 21 วัน และมีอัตราการรอด 38.3, 31.6 และ 30.0% ตามลำดับ หลังจากนำมาทดสอบความต้านทานต่อการเหนี่ยวนำให้เกิดโรคจาก Vibrio harveyi เป็นเวลา 10 วัน พบว่ากุ้งกุลาดำที่ได้รับอาหารที่ผสม Bacillus S11 มีอัตราการรอด 100% ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับอาหารที่ผสม Bacillus S11 มีอัตราการรอด 26% เมื่อทดสอบทางสถิติโดยใช้ Duncan's multiple range test พบว่ามีระดับความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05
Other Abstract: Total bacterial count from gastrointestinal tract (GI tract) of black tiger shrimp and their culture water were 1.2x10 6-3.4x10 7 cfu/gm and 1.0x10 4-4.4x10 5 cfu/ml, respectively. Bacterial flora of their GI tract found were Bacillus sp., Vibrio sp., Aeromonas sp., Pseudomonas sp., Klebsiella sp. and Staphylococcus sp. Among them only Bacillus S11 has the ability of inhibiting some strain's growth of pathogenic bacteria to human ; such as, Bacillus cereus, Bacillus subtilis, Bacillus megaterium, Listeria monocytogenes, Staphylococcus aureus and Escherichia coli and pathogenic bacteria to shrimp; such as, Pseudomonas aeruginosa, Aeromonas hydrophila, Vibrio alginolyticus, Vibrio anguillarum, Vibrio harveyi, Vibrio parahaemolyticus and Vibrio cholera. Bacillus S11 clearly produced antimicrobial substance starting from the late log to stationary phases of their growth. After the examination of morphology and biochemical test, Bacillus S11 was tentatively identified as Bacillus mycoides. Being probiotics, Bacillus S11 was mixed in shrimp feed for feeding black tiger shrimp in closed recirculating water system and it was found that growth and survival rate of shrimp fed with probiotics were higher than those without probiotics feeding significantly at the level of p<0.05. The growth rate of shrimps in control group and treated group of Bacillus S11 in the pattern of Fresh cells, Fresh cells in NSS and Lyophilized cells within 21 days were 0.73, 1.29, 1.17 and 1.16 grams, respectively. Whereas, their survival rate at the end of the experiment were 15.8, 38.3, 31.6 and 30.0%, consecutively. After challenging the control and the treated group with Vibrio harveyi 10 days their survival rate were 26% and 100%, respectively, with the significant difference of p<0.05 by Duncan's multiple range test
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จุลชีววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42390
ISBN: 9746355139
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannipa_Ph_front.pdf781.58 kBAdobe PDFView/Open
Wannipa_Ph_ch1.pdf697.76 kBAdobe PDFView/Open
Wannipa_Ph_ch2.pdf879.79 kBAdobe PDFView/Open
Wannipa_Ph_ch3.pdf799.36 kBAdobe PDFView/Open
Wannipa_Ph_ch4.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Wannipa_Ph_ch5.pdf804.33 kBAdobe PDFView/Open
Wannipa_Ph_ch6.pdf687 kBAdobe PDFView/Open
Wannipa_Ph_back.pdf1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.