Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42391
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรวุฒิ จุฬาลักษณานุกูล | - |
dc.contributor.advisor | รุ่งทิวา เปี่ยมทองคำ | - |
dc.contributor.author | วรรณิศา ลีลารุจิ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-06-23T03:08:32Z | - |
dc.date.available | 2015-06-23T03:08:32Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42391 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำ (Jatropha curcas L.) โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยายีสต์ Aureobasidium pullulans var. melanogenum แบบทั้งเซลล์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา พบว่าช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการนำยีสต์ A. pullulans มาเร่งปฏิกิริยา คือชั่วโมงที่ 96 หลังจากเริ่มเลี้ยงยีสต์ A. pullulans ในอาหารเหลวสูตรสำหรับเลี้ยงเพื่อผลิตไลเพสหรือช่วงกลางของระยะคงที่ สามารถวัดค่ากิจกรรมของไลเพส และค่ากิจกรรมจำเพาะสูงสุดได้เท่ากับ 7.61±0.15 ยูนิตต่อมิลลิลิตร และ 9.67±1.21 ยูนิตต่อมิลลิกรัมโปรตีน ตามลำดับ โดยภาวะที่เหมาะสมต่อการเร่งปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันของตัวเร่งปฏิกิริยายีสต์ A. pullulans แบบทั้งเซลล์ คือ ที่อุณหภูมิในการทำปฏิกิริยาเท่ากับ 30 องศาเซลเซียส และอัตราส่วนโดยโมลของน้ำมันสบู่ดำต่อเมทานอลเท่ากับ 1:3 ที่เวลาในการเกิดปฏิกิริยา 72 ชั่วโมง พบว่าการเปลี่ยนเป็นไบโอดีเซล หรือเมทิลเอสเทอร์สูงสุดเท่ากับ 71.8±2.8 เปอร์เซ็นต์ การเพิ่มอุณหภูมิ และอัตราส่วนโดยโมลของน้ำมันสบู่ดำต่อเมทานอลเกินกว่าจุดที่เหมาะสม ส่งผลให้การเปลี่ยนเป็นไบโอดีเซล หรือ เมทิลเอสเทอร์มีปริมาณลดลง เนื่องจากระดับอุณหภูมิ และความเข้มข้นของเมทานอลที่สูงเกินไป จะทำให้ไลเพสซึ่งเป็นโปรตีนเกิดการเสียสภาพ และไม่สามารถเร่งปฏิกิริยาได้ ซึ่งการทำปฏิกิริยา ทรานส์เอสเทอริฟิเคชันโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยายีสต์ A. pullulans แบบทั้งเซลล์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นวิธีการผลิตไบโอดีเซลที่มีประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับต้นทุนในการทำปฏิกิริยาที่ต่ำ อันเป็นผลมาจากสารตั้งต้น น้ำมันสบู่ดำเป็นน้ำมันที่รับประทานไม่ได้ มีราคาถูก การทำปฏิกิริยาใช้อุณหภูมิ และปริมาณเมทานอลที่ไม่สูง จึงไม่สิ้นเปลืองต้นทุนในการจัดเตรียม และที่สำคัญตัวเร่งปฏิกิริยายีสต์ A. pullulans แบบทั้งเซลล์ มีต้นทุนในการจัดเตรียมที่ต่ำกว่าการใช้ไลเพสทางการค้า เนื่องจากไม่ต้องผ่านการทำให้บริสุทธิ์ และการตรึงบนตัวค้ำจุนที่มีต้นทุนในการเตรียมที่สูง | en_US |
dc.description.abstractalternative | The results of biodiesel production from physic nut oil (Jatropha curcas L.) using transesterification reaction catalyzed by whole cell yeast Aureobasidium pullulans var. melanogenum showed that the optimal time for using A. pullulans as a catalyst was 96 hours after cultured in lipase production medium or at the mid log phase. The highest lipase activity and specific activity of A. pullulans was 7.61±0.15 unit/ml and 9.67±1.21 Unit/mg protein, respectively. The optimal temperature and physic nut oil to methanol molar ratio of transesterification reaction catalyzed by yeast A. pullulans var. melanogenum was 30 °C and 1:3, respectively at 72 hours. The highest biodiesel or methyl ester conversion rate was 71.8±2.8 percent. Increasing of temperature and physic nut oil to methanol molar ratio beyond the optimal point reduced biodiesel yield because it’s denatured lipase and made it inactivated. Biodiesel production from physic nut oil using transesterification reaction catalyzed by yeast A. pullulans is low cost and cost efficiently way to produce biodiesel because physic nut oil is unedible oil. Transesterification reaction can be done in low temperature and oil: methanol molar ratio that help decreased the cost for fuel and methanol. Finally, whole cell yeast A. pullulans is a low cost catalyst because it’s not need further expensive process of purification and immobilization. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1004 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | เชื้อเพลิงไบโอดีเซล | en_US |
dc.subject | น้ำมันสบู่ดำ | en_US |
dc.subject | ยีสต์ | en_US |
dc.subject | Biodiesel fuels | en_US |
dc.subject | Yeast | en_US |
dc.subject | Jatropha curcus oil | en_US |
dc.title | การผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำ Jatropha curcas L. เร่งปฏิกิริยาด้วยยีสต์ Aureobasidium pullulans var. melanogenum | en_US |
dc.title.alternative | Biodiesel production from physic nut Jatropha cucas L. oil catalyzed by yeast Aureobasidium pullulans var. melanogenum | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีชีวภาพ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Warawut.C@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | No information provided | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1004 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wannisa_le.pdf | 2.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.