Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42398
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน KIF1B กับความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแบบเรื้อรังในประเทศไทย
Other Titles: Association of susceptibility single nucleotide polymorphism in KIF1B gene for HBV related hepatocellular carcinoma patients in Thai populations
Authors: วทัญญู โสภิพงษ์
Advisors: ยง ภู่วรวรรณ
พิสิฐ ตั้งกิจวานิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Yong.P@Chula.ac.th
Pisit.Ta@Chula.ac.th
Subjects: ตับ -- มะเร็ง
ไวรัสตับอักเสบบี
พันธุกรรม
Liver -- Cancer
Hepatitis B virus
Heredity
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: มะเร็งตับ เป็นสาเหตุของการตายด้วยโรคมะเร็งอันดับสามของโลก และเป็นมะเร็งชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในชายไทย โดยสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งตับในประเทศไทยคือการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี มีรายงานว่าปัจจัยทางพันธุกรรมที่เรียกว่า single nucleotide polymorphism ตำแหน่ง rs17401966 ซึ่งอยู่บนยีน KIF1B มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งตับในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในจีน แต่ในประเทศไทยยังไม่มีผู้ศึกษาถึงการกระจายตัวและความถี่ของ rs17401966 ในการวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในไทยที่ตรวจพบ HBsAg จำนวน 398 คนซึ่งถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มเป้าหมาย (ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับ) จำนวน 202 คน และกลุ่มควบคุม (ผู้ป่วยไม่มีประวัติการเป็นมะเร็งตับ) จำนวน 196 คน โดยได้ทำการตรวจวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมตำแหน่ง rs17401966 รวมถึงพัฒนาวิธีการตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิค TaqMan probe real-time PCR และพบว่าผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่มี homozygous major genotype (AA) ร้อยละ 49.5 heterozygous ร้อยละ 40.1 และ homozygous minor genotype (GG) ร้อยละ 10.4 และในกลุ่มควบคุมมีผู้ที่มี homozygous major genotype, heterozygous และ homozygous minor genotype ร้อยละ 49.5, 42.3 และ 8.2 ตามลำดับ และจากผลการวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่า rs17401966 ไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดมะเร็งตับในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในไทยอย่างมีนัยสำคัญ (p-value = 0.998, OR = 1.00 และ 95% CI = 0.68-1.48) ซึ่งอาจเป็นผลจากปัจจัยร่วมอื่นๆในการเกิดโรคมะเร็งตับ
Other Abstract: Hepatitis B virus (HBV) infection can become chronic, and if left untreated, it can progress to Hepatocellular Carcinoma (HCC). Thailand is endemic for HBV and HCC is one of the top five cancer causing deaths among Thai HBV-infected males. A single nucleotide polymorphism (SNP) at the KIF1B gene locus, rs17401966, has been shown to be strongly associated with the development of HBV-related HCC. Thai HBV patients seropositive for HBsAg (n=398) were divided into two groups: Case group (chronic HBV with HCC; n=202) and Control group (HBV carriers without HCC; n=196). rs17401966 was analyzed by direct nucleotide sequencing. The genotypic distribution of rs174019660 for homozygous major genotype (AA), heterozygous minor genotype (AG) and homozygous minor genotype (GG) in the case group was 49.5% (n=100), 40.1% (n=81) and 10.4% (n=21), respectively. As for the control group, the genotypic distribution of rs174019660 was 49.5% (n=97), 42.3% (n=83) and 8.2% (n=16) for the homozygous major genotype, heterozygous minor genotype, and homozygous minor genotype, respectively. Binary logistic regression was used to assess the association between rs17401966 and the risk of developing HCC. rs17401966 was not statistically associated with the risk of HCC development in Thai chronic HBV patients (p-value = 0.998, OR = 1.00 and 95% CI = 0.68-1.48) indicating that there must be other mechanisms or pathways involved in the development of HCC.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมีทางการแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42398
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.56
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.56
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
watanyoo _So.pdf4.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.