Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42414
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรรจน์ เศรษฐบุตร | - |
dc.contributor.author | นุศรา มานะ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-06-23T03:51:18Z | - |
dc.date.available | 2015-06-23T03:51:18Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42414 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศต่อการใช้พลังงานการทำความเย็นในอาคารสำนักงานและอาคารพักอาศัย ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร การวิจัยทำโดยการสำรวจข้อมูลในท้องตลาด เพื่อนำมาสร้างเป็นผังอาคารสำนักงานและอาคารพักอาศัยอ้างอิง(reference building) แล้วคำนวณพลังงานการทำความเย็นผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Visual DOE- 4.1 เพื่อสร้างเป็นฐานข้อมูล (baseline) สำหรับเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานการทำความเย็นกับกรณีศึกษาอื่นๆ โดยมีตัวแปรในการศึกษาคือ 1. รูปแบบ ชนิดของวัสดุเปลือกอาคารและวัสดุฉนวน 2. สัดส่วนช่องเปิดต่อพื้นที่ผนังอาคาร(WWR) 3. ช่วงเวลาการเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศ 4. การตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ(cooling set- point) และ 5. ปัจจัยทางความร้อนที่เกิดขึ้นภายในอาคาร(internal heat gain) จากการศึกษาพบว่า การเพิ่มค่าความเป็นฉนวนให้กับวัสดุเปลือกอาคาร เพิ่มอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ และการลดพื้นที่ช่องเปิดให้กับอาคาร สามารถลดการใช้พลังงานการทำความเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ทำการสร้างกรณีศึกษาเพิ่มเติม โดยเพิ่มสภาพความเป็นฉนวนให้กับเปลือกอาคารทั้งในส่วนผนังทึบ ผนังโปร่งใส และเพิ่มค่าปัจจัยทางความร้อนที่เกิดขึ้นภายในอาคาร ผลที่ได้พบว่าการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ และ WWR ไม่มีนัยยะสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงพลังงานการทำความเย็นในอาคาร กล่าวคือ พลังงานค่อนข้างคงที่ แม้จะมีการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศ และ WWR ก็ตาม นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าในอาคารสำนักงานกรณีศึกษาเพิ่มเติมที่มีช่องเปิดสูง เมื่อปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 22 หรือ 27 องศาเซลเซียส ส่งผลให้มีค่าการใช้พลังงานการทำความเย็นต่ำที่สุด ส่วนในอาคารสำนักงานที่มีช่องเปิดต่ำ การปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ 23 หรือ 27 องศาเซลเซียส ก็ส่งผลให้มีค่าการใช้พลังงานการทำความเย็นต่ำที่สุดเช่นเดียวกัน และในอาคารพักอาศัย ระดับของการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานการทำความเย็นสูงสุดในทุก WWR ยังคงเป็น 27 องศาเซลเซียส | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research was to study the effects of a cooling set-point on energy use(cooling energy) in office and residential buildings located in Bangkok, Thailand. This research was conducted by developing reference buildings(office and residential) based on information from a survey of space planning. The cooling of buildings was simulated with VISUAL DOE 4.1 software in order to learn the baseline energy use index for each buliding, Once this was done the cooling energy of the buildings was simulated under the variation of an envelope system, using the overall heat transfer coefficent of insulation(U-value) and insulation materials, window to wall ratio (WWR), the number of operating hours of air conditioners, cooling set-point and internal heat gain and it was compared with the baseline energy use index. From this calculation, it was found that the cooling energy for both of the buldings decreased when increasing the cooling set-point, and it also decreased with the WWR and U- value. In addition, various extream conditions were investigated, namely the U-value was lowered significantly, while the internal heat gain was increased to a high point. The simulation results revealed that cooling energy was not significantly affected by the WWR and cooling set-point for these extreme conditions. Moreover, for the residential building studied the cooling set-point of 27 °C was found to be the most effective for reducing the cooling energy in all WWR cases. For the high-WWR official building, the cooling set-point of 22 or 27 °C provided the highest energy-saving potential, while the cooling set point of 23 or 27 °C must be applied for the low-WWR office building in order to obtain maximum energy-saving potential. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1017 | - |
dc.subject | ความร้อน -- การถ่ายเท | en_US |
dc.subject | เครื่องปรับอากาศ | en_US |
dc.subject | การปรับอากาศ | en_US |
dc.subject | อาคารสำนักงาน -- การปรับอากาศ | en_US |
dc.subject | ที่อยู่อาศัย -- การปรับอากาศ | en_US |
dc.subject | Heat -- Transmission | en_US |
dc.subject | Air conditioning -- Equipment and supplies | en_US |
dc.subject | Air conditioning | en_US |
dc.subject | Office building -- Air conditioning | en_US |
dc.subject | Housing -- Air conditioning | en_US |
dc.title | ผลกระทบของการตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศต่อการใช้พลังงานการทำความเย็น ในอาคารที่มีการติดตั้งฉนวนชนิดต่างๆ | en_US |
dc.title.alternative | Impact of cooling set-point on energy use of buildings with various insulations | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Atch.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1017 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nussara _Ma.pdf | 6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.