Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42494
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพันธุมดี เกตะวันดี-
dc.contributor.authorยศถกล โกศลเหมมณี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2015-06-24T02:53:28Z-
dc.date.available2015-06-24T02:53:28Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42494-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ แนวทางการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อทราบถึงคุณค่าที่พึงประสงค์ของวงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ ๒) เพื่อทราบปัญหาในการเพิ่มมูลค่าของวงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ในในสภาวการณ์ปัจจุบัน ๓) เพื่อหาแนวทางการเพิ่มมูลค่าวงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ภายใต้กรอบคุณค่าที่พึงประสงค์ วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการเก็บรวบรวมจากเอกสารต่างๆ และการวิจัยภาคสนาม สังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก โดยศึกษาจากวงดนตรี ๖ ประเภท ได้แก่ วงดนตรีในการแสดงหนังตะลุง วงดนตรีในการแสดงโนรา วงดนตรีในการแสดงรองเง็ง วงดนตรีดีเกร์ฮูลู วงดนตรีในการแสดงสีละ และวงดนตรีกาหลอ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เป็นแนวทางแก้ปัญหาประกอบกับแนวคิดวิวัฒนาการ คุณค่าศิลปกรรมท้องถิ่น สินค้าวัฒนธรรม และส่วนผสมการตลาด ผลการวิจัยพบว่าคุณค่าที่พึงประสงค์ของวงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่ ๑) วงดนตรีต้องมีศักยภาพในการใช้ประกอบการทำพิธีกรรม การแสดง และการร้อง ๒) วงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ก่อให้เกิดความสมบูรณ์ในพิธีกรรม ด้วยการสร้างความรู้สึกร่วม ระหว่างผู้ประกอบพิธีกรรม และผู้ร่วมพิธีกรรม เกิดบรรยากาศที่มีมนต์ขลัง มีความศักดิสิทธิ์และน่าเชื่อถือ ๓) วงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ต้องสามารถทำให้ดนตรีมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับการแสดง อันก่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการแสดง และการสร้างความรู้สึกร่วมระหว่างผู้แสดง และผู้ชม ๔) วงดนตรีสามารถสร้างความไพเราะ กลมกลืน และถูกต้องตามหลักวิธีการแสดงนั้น ๕) วงดนตรีสามารถช่วยให้การแสดงสะท้อนความเชื่อ และเรื่องราวของท้องถิ่น ๖) วงดนตรีสามารถแสดงถึงเอกลักษณ์ของรูปแบบการผสมวง บทเพลงและภาษาและสำเนียงในการร้องและเครื่องดนตรีที่ใช้ ๗) วงดนตรีแสดงออกถึงลีลาจังหวะ ทำนอง และสำเนียงในการบรรเลง รวมถึงขั้นตอนอันเป็นเอกลักษณ์ ๘) วงดนตรีเป็นสัญลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น สะท้อนวัฒนธรรมการใช้ชีวิต ๙) วงดนตรีและการแสดงสามารถเป็นสื่อชี้นำจริยธรรม และนักดนตรีประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลในท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า วงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้มีรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าที่พึงประสงค์กับมูลค่าทางเศรษฐกิจ ๕ ลักษณะคือ๑)กลุ่มมีการปรับแต่งเพื่อให้ได้รับความนิยมแต่สูญเสียคุณค่าที่พึงประสงค์ ๒)กลุ่มที่มีแนวโน้มสูญเสียคุณค่าจากการปรับแต่งเพื่อเพิ่มมูลค่า ๓) กลุ่มที่รักษาคุณค่าที่พึงประสงค์และมีแนวโน้มเสื่อมความนิยมตามยุคสมัย๔) กลุ่มที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น๕)กลุ่มที่เกิดการใช้ประโยชน์รูปแบบใหม่ โดยมีปัจจัยสำคัญได้แก่แนวคิดของหัวหน้าคณะการแสดง ทัศนคติและค่านิยมของท้องถิ่น และแนวขนบปฏิบัติของตัวพิธีกรรมและการแสดง แนวทางการเพิ่มมูลค่าวงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ประกอบด้วยข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญดนตรีและการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ นักดนตรีพื้นบ้านภาคใต้และองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าวงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ ร่วมกับการเสนอกลยุทธ์ในการเพิ่มมูลค่าภายใต้กรอบคุณค่าที่พึงประสงค์ที่สอดคล้องกับกลุ่มปัญหา ได้แก่ การจูงใจหัวหน้าคณะ การจัดเก็บกลุ่มวงดนตรีและการแสดงที่เป็นมาตรฐาน การแสดงในพื้นที่ท่องเที่ยวและการแยกพัฒนาเฉพาะดนตรีen_US
dc.description.abstractalternativeThis qualitative research aimed to determine approaches for adding economic value to southern folk music bands through 1) understanding their desirable characteristics and 2) identifying the problems involved in the value-adding process, and then 3) devise guidelines for adding economic value to the bands under the framework established in 1. The data were collected from related documents, field surveys and observation, and in-depth interviews, using six types of music bands as the samples: a shadow play band, a Nora performance band, a Ronggeng dance band, a Dikir Hulu play band, a Silat performance band, and a Kalho performance band. Creative approaches to solving problems were sought out using concepts relating to musical evolution, local arts value, cultural products, and marketing. The research results pertaining to the desirable characteristics of southern folk music bands were as follows. A southern folk music band had to be able to 1) conduct religious rituals, shows, and singing performances; 2) add to religious rituals, creating shared feelings between the ritual performers and the participants, as well as establish a sacred and credible atmosphere; 3) match the music to the performance, thereby engendering shared feelings between the performers and the viewers; 4) harmonize according to the principles of a certain performance; 5) enhance a show by reflecting its folklore; 6) show the identity of the band mixture as well as the lyrics, language, singing style, and instruments used; 7) feature a unique tempo, rhythm, melody, and performance style; 8) symbolize the local culture and lifestyle; and 9) serve as an ethical guide with the artists being role models for the local people in terms of behavior. As for the forms of the relationship between the desirable characteristics with the economic value of southern folk music bands, it was found that 1)groups of adjustment have to been popular, but lost the desirable characteristics;2)groups were tend to lose the desirable characteristics;3)those that preserve the desirable and the most likely decline by age;4)no use in local;5) some types of bands were being revived for new purposes; influenced by factors including the concept of Chief performance; the attitudes, values, and beliefs of the region; and rituals and traditions of performance. The guidelines for adding economic value to southern folk music bands the recommendations of expert southern folk musical and performance, southern folk musician and organizations that encourage creative thinking about adding economic value to southern folk music. With strategies to add value within the desirable characteristics that corresponding to the groups.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.802-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectดนตรีพื้นบ้าน -- ไทย (ภาคใต้)en_US
dc.subjectวัฒนธรรมen_US
dc.subjectFolk music -- Thailand, Southernen_US
dc.subjectCultureen_US
dc.titleแนวทางการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้en_US
dc.title.alternativeApproach towards economic value ncrement of southern folk musicen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการจัดการทางวัฒนธรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPunthumadee.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.802-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
yodthakhon_go.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.