Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42550
Title: A MULTI-ITEM TWO-ECHELON INVENTORY PROBLEM UNDER JOINT REPLENISHMENT POLICY
Other Titles: ปัญหาพัสดุคงคลังแบบสองระดับชั้นและพัสดุหลายชนิดภายใต้นโยบายการเติมเต็มร่วมกัน
Authors: Varaporn Pukcarnon
Advisors: Paveena Chaovalitwongse
Naragain Phumchusri
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Engineering
Advisor's Email: paveena.c@chula.ac.th
naragain.p@chula.ac.th
Subjects: Inventory control
Inventory control -- Simulation methods
Heuristic algorithms
การควบคุมสินค้าคงคลัง
การควบคุมสินค้าคงคลัง -- การจำลองระบบ
ฮิวริสติกอัลกอริทึม
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2013
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: This dissertation studies a multi-item two-echelon inventory problem under a joint replenishment policy called “the can-order policy”. The system is composed of one warehouse and multiple retailers facing stochastic demand, and all locations are replenished continuously. This research considers lead time and target service level as system constraints. The research is conducted in three phases: phase I – a single-item system with zero lead time, phase II – a single-item system with non-zero lead time, and phase III – a multi-item system with non-zero lead time. Each phase contains different number of decision variables and relevant factors. Due to the system complications, computer simulation is initially utilized for inventory policy setting. It provides insights of inventory policy setting: the effects of relevant factors and the solution characteristics. Heuristic approaches are developed to solve the problem for each phase. The proposed heuristics are based on decomposition approach, iterative procedure, and one-dimensional search called golden section search to determine the appropriate inventory policy setting. For phase I and II, the proposed heuristics’ performance is measured against the best-known solution providing the minimum average total system-wide cost. The best-known solution can be determined by computer simulation with systematic procedures: input determination and output validation. From the experimental results, the proposed heuristics can obtain the appropriate policy much faster than computer simulation with the average cost gap at 1.54% for phase I and 1.20% for phase II, respectively. For phase III, this research provides comparative analysis of the proposed heuristics to identify which situation is suitable for each heuristic.
Other Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาปัญหาพัสดุคงคลัง แบบสองระดับชั้นและพัสดุหลายชนิด ภายใต้นโยบายการเติมเต็มร่วมกันแบบสามารถจัดหาได้ ประกอบด้วยศูนย์กระจายสินค้าหนึ่งแห่งและมีหลายสาขาที่ความต้องการของลูกค้าไม่แน่นอน มีการเติมเต็มคลังแบบต่อเนื่อง มีระยะเวลานำในการส่งมอบ และมีการกำหนดระดับการให้บริการเป้าหมายเป็นเงื่อนไขของระบบ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 – ระบบที่มีพัสดุหนึ่งชนิดและระยะเวลานำเป็นศูนย์ ระยะที่ 2 – ระบบที่มีพัสดุหนึ่งชนิดและมีระยะเวลานำในการส่งมอบ และระยะที่ 3 – ระบบที่มีพัสดุหลายชนิดและมีระยะเวลานำในการส่งมอบ แต่ละระยะประกอบด้วยจำนวนตัวแปรการตัดสินใจและปัจจัยที่เกี่ยวข้องแตกต่างกัน เนื่องจากความซับซ้อนของระบบ งานวิจัยจึงอาศัยวิธีการจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ เพื่อศึกษาการกำหนดนโยบายพัสดุคงคลัง ซึ่งสามารถแสดงถึงอิทธิพลของปัจจัยที่เกี่ยวข้องและลักษณะคำตอบของระบบ วิธีการค้นหาคำตอบแบบฮิวริสติกได้รับการพัฒนาขึ้นสำหรับแต่ละระยะของการศึกษา โดยอาศัยเทคนิคการแบ่งส่วนย่อย (Decomposition Technique) วิธีการวนซ้ำ (Iterative Procedure) และการค้นหาคำตอบแบบหนึ่งมิติ ที่เรียกว่า การค้นหาแบบโกลเด้นเซคชั่น (Golden Section Search) เพื่อหาค่านโยบายพัสดุคงคลังที่เหมาะสมได้ สำหรับระยะที่ 1 และ 2 สมรรถนะของฮิวริสติกที่พัฒนาขึ้นสามารถวัดได้โดยการเปรียบเทียบกับนโยบายที่ดีที่สุดที่ให้ค่าต้นทุนรวมทั้งระบบเฉลี่ยต่อหน่วยเวลาต่ำที่สุด นโยบายที่ดีที่สุดสามารถหาได้โดยใช้วิธีการจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ผ่านขั้นตอนการค้นหาอย่างเป็นระบบ ได้แก่ การค้นหาตัวแปรนำเข้า และการยืนยันความถูกต้องของผลลัพธ์ จากผลการทำลอง ฮิวริสติกที่พัฒนาขึ้นใช้เวลาในการค้นหาคำตอบได้เร็วกว่ามาก เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยนโยบายที่ได้จากฮิวริสติกให้ค่าต้นทุนรวมทั้งระบบต่อหน่วยเวลาสูงกว่าค่าต้นทุนรวมจากนโยบายที่ดีที่สุดเพียง 1.54% และ 1.20% โดยเฉลี่ย สำหรับระยะที่ 1 และ 2 ตามลำดับ สำหรับระยะที่ 3 นั้น งานวิจัยนี้ได้ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบฮิวริสติกที่พัฒนาขึ้น เพื่อระบุว่าสถานการณ์แบบใดเหมาะสมกับฮิวริสติกแต่ละแบบ
Description: Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2013
Degree Name: Doctor of Philosophy
Degree Level: Doctoral Degree
Degree Discipline: Industrial Engineering
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42550
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.26
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.26
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5171828521.pdf4.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.