Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42617
Title: ระลอกอากาศเย็นในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทยและความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปรรายปีและภายในฤดูกาล
Other Titles: NORTHEAST MONSOON COLD SURGE IN THAILAND AND ITS RELATIONSHIP WITH INTERANNUAL AND INTRASEASONAL VARIABILITY
Authors: วรุตม์ เจนจิรวัฒนา
Advisors: ปัทมา สิงหรักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: patama.s@chula.ac.th
Subjects: ลมฟ้าอากาศ
ฤดูกาล
ไทย -- ภูมิอากาศ
Weather
Seasons
Thailand -- Climate
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ทำการวิเคราะห์สถิติของระลอกอากาศหนาว (cold surge) ในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย และความเชื่อมโยงกับปรากฏการณ์ ENSO (El Niño-Southern Oscillation) ซึ่งผันแปรรายปีและปรากฏการณ์ MJO (Madden-Julian Oscillation) ซึ่งผันแปรภายในฤดูกาล โดยใช้ข้อมูล NCEP/NCAR Reanalysis ปี ค.ศ.1980–2011 พบว่า cold surge และ strong cold surge มีความถี่ในการเกิดเฉลี่ยประมาณ 13 และ 2 ครั้งต่อปีตามลำดับ ความถี่รายเดือนของ cold surge เกิดมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน และมีนาคม ส่วน strong cold surge เกิดมากที่สุดในเดือนมกราคม ซึ่งสัมพันธ์กับความแรงของ Siberian high อายุของ cold surge และ strong cold surge พบตั้งแต่ 1-50 วัน โดยพบที่อายุ 4 และ 5 วันมากที่สุดตามลำดับ อายุเฉลี่ยของ cold surge และ strong cold surge อยู่ที่ประมาณ 8 และ 17 วัน มีค่าความกดอากาศสูงสุดเฉลี่ยที่ไซบีเรียที่ 1045.1 และ 1055.9 hPa ตามลำดับ โดยค่าความกดอากาศสูงสุดเฉลี่ยที่ไซบีเรียของ cold surge และ strong cold surge ในแต่ละช่วงอายุ ไม่สัมพันธ์กับอายุของ cold surge และ strong cold surge จากการศึกษาทิศทางของ cold surge และ strong cold surge พบว่ามีทิศทางการเคลื่อนที่ไปทางใต้และมีผลต่อประเทศไทย 56% ไปทางทางตะวันออกที่จีนและญี่ปุ่น 16% และไม่มีผลต่อสองบริเวณดังกล่าว 25% เมื่อพิจารณาพัฒนาการของ cold surge อายุ 4 วันและ strong cold surge อายุ 5 พบว่ามีความแตกต่างของทิศทางการเคลื่อนที่ขึ้นอยู่กับการวางตัวของ trough axis ที่ 500 hPa หากวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ (ตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้) จะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ลงมาทางใต้ (ตะวันออก) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของ cold surge และ strong cold surge รายปีกับดัชนี ONI ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้ปรากฏการณ์ ENSO พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของ cold surge ทั้งหมดตามการเคลื่อนที่กับดัชนี ONI พบว่าในปี La Niña (El Niño) จะพบความถี่รายปีและรายเดือนของ cold surge ที่เคลื่อนที่ลงมาทางใต้และมีผลต่อภาคอีสานของประเทศไทย (ไปทางตะวันออกและมีผลต่อประเทศจีน กับไม่มีผลต่อสองบริเวณ) มาก ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างความถี่รายเดือนของ strong cold surge กับ ENSO จะพบ strong cold surge ในปี La Niña และในกลางฤดูมากที่สุด ซึ่งสัมพันธ์กับความแรงของ Siberian high รายเดือนซึ่งแรงมากที่สุดในปี La Niña และในช่วงกลางฤดูเช่นกัน เมื่อพิจารณาพัฒนาการของ cold surge อายุ 4 วันในปี El Niño, La Niña และ ปีปกติ พบว่า ในปี La Niña ความกดอากาศบริเวณทะเลจีนใต้จะมีค่าต่ำกว่าปกติ สอดคล้องกับอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างความกดอากาศบริเวณละติจูดกลางกับเขตร้อนมีค่ามากขึ้น ตลอดจนตำแหน่ง trough axis อยู่ลึกกว่า ส่งผลให้ความเร็วลมฝ่ายเหนือเพิ่มสูงขึ้นและอุณหภูมิที่ผิวพื้นลดต่ำลง ทำให้ cold surge แผ่ลงไปทางใต้มากกว่าในปี El Niño ค่าความกดอากาศสูงสุดเฉลี่ยที่ไซบีเรียของ cold surge และ strong cold surge ที่อายุ 4-5 วันที่แบ่งตามการเคลื่อนที่และที่ถูกแบ่งตามเหตุการณ์ ENSO นั้นไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยจากเหตุการณ์ ENSO อย่างเดียว ยังมีปัจจัยจากปรากฏการณ์ที่เขตหนาวด้วย เช่น ปรากฏการณ์ Blocking ที่ Atlantic หรือ North Atlantic/Arctic Oscillation(NAO/AO) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของ cold surge กับปรากฏการณ์ MJO พบว่า cold surge อายุ 1-9 วันซึ่งพบได้มากและที่อายุ 4 วันที่ลงมาทางใต้ซึ่งพบได้มากที่สุด พบอยู่ในช่วง weak MJO มากที่สุด รองลงมาคือ MJO phase 2,3 และ MJO phase 4,5 ตามลำดับ เพราะบริเวณเมฆฝนของ MJO phase 2,3 และ MJO phase 4,5 ที่อยู่บริเวณ Maritime continent จะทำให้เกิดความกดอากาศต่ำกว่าปกติที่เขตร้อน ทำให้เกิดความแตกต่างของความกดอากาศของบริเวณเขตหนาวและเขตร้อนได้มากขึ้น จึงทำให้เกิดมวลอากาศเย็นเคลื่อนที่ลงมาทางใต้และเกิด cold surge ที่ประเทศไทยในรูปของฝนที่ภาคใต้ของประเทศไทยและตอนกลางของประเทศเวียดนามตามลำดับ
Other Abstract: This study analyzed northeast monsoon cold surge statistics in Thailand. It also investigated the relationships between cold surges and interannual variability (i.e. ENSO-El Nino Southern Oscillation) and intraseasonal variability (i.e. MJO-Madden-Julian Oscillation). Using NCEP/NCAR Reanalysis data from 1980-2011, it was found that on average the frequencies of cold surges and strong cold surges were 13 and 2 per season (October-April) respectively. Frequencies of monthly cold surge were highest in November and March. Frequency of monthly strong cold surge which was high in January was related with Monthly Siberian high. The ages of cold surge and strong cold surge were between 1-50 days. There were highest freqeuncy in 4 days and 5 days respectively. Their average age was 8 and 17 days. Their highest average Siberian high at their average age was 1045.1 and 1055.9 hPa respectively. The highest average Siberian high at each age of them weren't related with each age of them. Study of cold surge propagation showed that 56% were southward moving cold surge which affected Thailand, 16 % were eastward moving affected China and Japan and 25% affected neither region. Evolution of 4-day cold surge and 5-day strong cold surge which were the most frequent showed different direction of propagation depending on the orientation of 500-hPa trough axis. North-south (northeast-southwest) orientation of the trough axis coincided with southward (eastward) moving cold surges. There was no relationship between their yearly frequencies and ENSO’s ONI (Ocean Nino Index). However, in La Niña (El Niño) years, yearly and monthly frequencies of southward (eastward and no effect) cold surge are highest. Monthly frequencies of strong cold surge were high in La Niña years which was in association with monthly Siberian high which was highest in La Niña years. The evolution of 4 and 5 days cold surges showed that during La Niña years mean sea level pressure over the South China Sea was lower than normal in association with increased sea surface temperature in northwestern Pacific. The resulted stronger pressure gradient together with further southward position of the trough axis enhanced the northerly wind speed and expanded wind anomaly further to the south compared with during El Niño year. Highest average Siberian high in 4 and 5 days cold surges weren't relate to ENSO event. Other high latitude climate phenomena such as Atlantic Blocking or North Atlantic/Arctic Oscillation(NAO/AO) may affect them. Investigation of relationship between cold surges and the MJO showed that most cold surges occurred during weak MJO and to a lesser extent in phase 2, 3 and phase 4, 5. This was because during MJO phase 2, 3 and MJO phase 4, 5, convection and associated low pressure anomalies were over the Maritime continent. This possibly caused horizontal pressure gradient between high and low latitudes which then promoted southward cold surges which gave rise to raining events in southern Thailand and Central Vietnam respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์ทางทะเล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42617
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.93
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.93
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5372438823.pdf11.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.