Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42633
Title: | การรับสัมผัสสารพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่ดูดซับบนอนุภาคผ่านการหายใจและการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | INHALATION EXPOSURE TO PARTICLE-BOUND POLYCYCLIC AROMATIC HYDROCARBONS AND HEALTH RISK ASSESSMENT OF WORKERS AT RELIGION PLACE IN BANGKOK |
Authors: | วชิราวรรณ นนทกนก |
Advisors: | ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์ เดซี่ หมอกน้อย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | tassanee.c@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | สุขภาพ -- ปัจจัยเสี่ยง โพลิไซคลิกอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอน ศาสนากับแรงงาน Health -- Risk factors Polycyclic aromatic hydrocarbons |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการรับสัมผัสสารพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) ที่ดูดซับบนอนุภาคผ่านการหายใจและการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในกรุงเทพมหานคร 2 แห่ง คือ วัด A (แบบเปิดโล่ง) และวัด B (แบบกึ่งเปิดโล่ง) ทำการเก็บตัวอย่างในวันพุธ (วันธรรมดา) และวันอาทิตย์ (วันหยุด) เป็นเวลา 8 ชั่วโมง (07.00 – 15.00 น.) ในช่วงฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ในปี 2555 เก็บตัวอย่างอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) และอนุภาคฝุ่นขนาดใหญ่กว่า 2.5 ไมครอน แต่เล็กกว่า 10 ไมครอน (PM2.5-10) ด้วยเครื่อง Gilian air pump ที่ต่อกับ Personal Modular Impactors (PMI) 3 จุด ที่เป็นตัวแทนพื้นที่ปฏิบัติงานของพนักงานในสถานประกอบพิธีกรรมทางศาสนาแต่ละแห่ง ได้แก่ พนักงานรักษาความปลอดภัย (G) พนักงานเก็บธูปและทำความสะอาด (J) พนักงานขายดอกไม้ ธูป เทียน (V) และเก็บตัวอย่าง PM2.5 บริเวณที่เป็นตัวแทนบรรยากาศทั่วไป (A) ด้วยเครื่อง Minivol tactical air sampler (TAS) อีกหนึ่งจุด วิเคราะห์สาร PAHs ในตัวอย่างฝุ่นด้วยเครื่อง HPLC Fluorescence detector และ UV detector ผลการศึกษาที่วัด A พบว่า ค่าความเข้มข้นเฉลี่ยของ PM2.5 ที่จุด J สูงที่สุด และมากกว่าที่จุด G V และ A อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (p<0.05) คิดเป็น 5.6 7.1 และ 9.3 เท่า ตามลำดับ ความเข้มข้นเฉลี่ยทั้ง 3 ฤดูของ PM2.5 (509.05±243.38 µg/m3) และ PM10 (PM2.5 + PM2.5-10) (675.09±354.59 µg/m3) ที่วัด A มีค่าสูงกว่าที่ตรวจพบในวัด B (47.33±19.58 และ 69.75±26.66 µg/m3 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ปริมาณธูปที่ใช้ในการสักการะมีความสัมพันธ์กับปริมาณ PM2.5 และ PM10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมั่น 99% โดยให้ค่า Pearson correlation(r) สำหรับ PM2.5 ณ จุด A G J และ V เท่ากับ 0.735, 0.791, 0.835 และ 0.550 ตามลำดับ แสดงให้เห็นถึงการเผาไหม้ธูปเป็นแหล่งกำเนิดหลักของฝุ่นขนาดเล็ก ปริมาณความเข้มข้นเฉลี่ย 8 ชั่วโมงของสาร PAHs รวมใน PM2.5 (t-PAHs2.5) และ PM2.5-10 (t-PAHs2.5-10) ทั้ง 3 ฤดูที่วัด A เท่ากับ 47.73±72.78 และ 1.01±0.98 ng/m3 ตามลำดับ ในขณะที่วัด B มีค่าเท่ากับ 3.02±1.67 และ 0.55±0.40 ng/m3 ตามลำดับ ผลการประเมินความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็ง (cancer risk) ของกลุ่มพนักงานที่ปฏิบัติงานที่สถานประกอบพิธีกรรมทางศาสนาโดยพิจารณาจากค่า Benzo(a)pyrene equivalent (BaPeq) เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่ยอมรับได้ซึ่งกำหนดให้ประชากรล้านคนมีหนึ่งคนที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง หรือคิดเป็น 1 x10-6 พบว่า ค่า 95% confidence interval ของความเสี่ยงจากการรับสัมผัสสาร BaPeq ใน PM2.5 (t-BaPeq2.5) และ PM2.5-10 (t-BaPeq2.5-10) อยู่ในช่วง 0.18x10-6 – 175.97 x10-6 และ 0.007 x10-6 – 6.25 x10-6 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างความเสี่ยงจากการรับสัมผัส t-BaPeq2.5 ของพนักงานที่ปฏิบัติงานในบริเวณที่ต่างกัน พบว่า ที่วัด A พนักงานเก็บธูปและทำความสะอาด (J) มีโอกาสเสี่ยงสูงที่สุด (52.6x10-6 – 122.0x10-6) และสูงกว่าพนักงานรักษาความปลอดภัย (G) และพนักงานขายดอกไม้ ธูป เทียน (V) ประมาณ17.7 และ 16.4 เท่า ตามลำดับ สำหรับที่วัด B มีเพียงพนักงานรักษาความปลอดภัย (G) และพนักงานเก็บธูปและทำความสะอาด (J) ที่พบโอกาสเสี่ยงเกินระดับที่ยอมรับได้ โดยมีค่า 1.32x10-6 และ 0.15x10-6 - 1.91x10-6 ตามลำดับ กรณีการรับสัมผัสของ t-BaPeq2.5-10 พบว่า พนักงานที่ปฏิบัติงานในทุกตำแหน่งยังไม่พบโอกาสเสี่ยงที่เกินเกณฑ์ที่ยอมรับได้ |
Other Abstract: | This research studied on health risk assessment of the workers exposed to particle-bound polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) via inhalation at the worship places in Bangkok, Thailand, i.e. temple A (open area) and B (semi-open area). Particulate matters (PM2.5 and PM2.5-10) were collected on Wednesday (workday) and Sunday (weekend) for 8 hours (07.00-15.00) in summer, rainy and winter seasons in 2012. PM2.5 and PM2.5-10 were collected at three sampling sites representing working area of guard (G), janitor (J) and vendor (V) by using a personal modular impact (PMI) connected to a personal air pump (Gilian air pump). PM2.5 in ambient air (A) at each worship place was also collected by Minivol tactical air sampler (TAS). PAHs adsorbed on particles were analyzed by HPLC with fluorescence and UV detectors. The 8-hr average PM2.5 concentrations of position J at temple A were found the highest and significant greater than those of position G, V and A about 5.6, 7.1 and 9.3 fold, respectively (p<0.05). The average concentrations measured in three seasons at temple A were 509.05±243.38 µg/m3 for PM2.5 and 675.09±354.59 µg/m3 for PM10 (PM2.5 + PM2.5-10) which were significantly higher than those of PM2.5 (47.33±19.58 µg/m3) and PM10 (69.75±26.66µg/m3) at temple B (p<0.05). The number of burnt incense was significantly correlation with PM2.5 and PM10 at p< 0.01, which the Pearson correlations (or r) of PM2.5 at position A, G, J and V were 0.735, 0.791, 0.835 and 0.550, respectively. These indicate that incense burning was the predominant source of fine particles. The 8-hr average concentrations of total PAHs adsorbed on PM2.5 (t-PAHs2.5) and PM2.5-10 (t-PAHs2.5-10) in three seasons at temple A were 47.73±72.78 and 1.01±0.98 ng/m3, respectively, and those concentrations of 3.02±1.67 and 0.55±0.40 ng/m3, respectively, were found at temple B. For lifetime cancer risk (LCR) assessment of the workers at the worship places, Benzo(a)pyrene equivalent (BaPeq) was applied for the calculation and the acceptable criteria defined as the probability of cancer at the ratio of one per millions people (1x10-6). The 95% confidence intervals of LCR exposure to total BaPeq in PM2.5 (t-BaPeq2.5) and PM2.5-10 (t-BaPeq2.5-10) were in the ranges of 0.18x10-6 – 175.97 x10-6 and 0.007 x10-6 – 6.25 x10-6, respectively. When compared between different working areas, the LCR of janitor (J) at temple A showed the highest level (52.6x10-6 – 122.0x10-6) and higher than that of guard (G) and vender (V) about 17.7 and 16.4 fold, respectively. At temple B, only guard (G) and janitor (J) were to be potentially at risk over acceptable criteria, having the values of 1.32x10-6 and 0.15x10-6 - 1.91x10-6, respectively. Whilst the LCR of the workers exposed to t-BaPeq2.5-10 at all positions were not over the acceptable level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42633 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.103 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.103 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5387208320.pdf | 7.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.