Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42693
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพันธวัศ สัมพันธ์พานิชen_US
dc.contributor.authorยุทธพงษ์ พงษ์อักษรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:11:20Z
dc.date.available2015-06-24T06:11:20Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/42693
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการศึกษาการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ ก๊าซมีเทน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากชนิดของพันธุ์ข้าว 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 80 ข้าวพันธุ์ชัยนาท 80 และข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 ร่วมกับการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี และไม่มีการใส่ปุ๋ยใดๆ รวมทั้งสิ้น 12 แปลงทดลอง ซึ่งได้ทำการเก็บตัวอย่างอากาศโดยใช้กล่องพลาสติก (Chamber) ครอบต้นข้าวในแปลงๆ ละ 3 จุด ในระยะการเจริญเติบโตของข้าว คือ ระยะต้นกล้าหลังปักดำ (30 วัน) ระยะแตกกอ (60 วัน) ระยะออกดอกหรือตั้งท้อง (90 วัน) และระยะก่อนการเก็บเกี่ยว (120 วัน) เพื่อนำไปวิเคราะห์หาปริมาณก๊าซมีเทน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยเครื่องก๊าซโครมาโตกราฟี ผลการทดลอง พบว่า แปลงนาที่มีการปลดปล่อยก๊าซมีเทนสูงสุด คือ แปลงที่ใส่ปุ๋ยเคมีและปลูกข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 มีค่าเท่ากับ 1.79±0.98 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อวัน ผลผลิต 534.7 กิโลกรัมต่อไร่ และข้าวพันธุ์ชัยนาท 80 และมีการใส่ปุ๋ยเคมี มีค่าการปลดปล่อยต่ำที่สุด เท่ากับ 0.47±0.47 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อวัน ผลผลิต 1,061.2 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนแปลงนาที่มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดคือ แปลงนาที่ปลูกข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 และมีการใส่ปุ๋ยเคมี มีค่าเท่ากับ 534.10±109.05 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อวัน ผลผลิต 534.7 กิโลกรัมต่อไร่ และแปลงนาที่ปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 และมีการเติมปุ๋ยคอก มีการปลดปล่อยต่ำที่สุด มีค่าเท่ากับ 218.28±29.15 มิลลิกรัมต่อตารางเมตรต่อวัน ผลผลิต 657.0 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาปัจจัยในด้านผลผลิตข้าวและการส่งเสริมและให้การสนับสนุนการทำนาเพื่อสิ่งแวดล้อมแล้ว สามารถกล่าวได้ว่าพันธุ์ข้าวที่ควรสนับสนุนให้เกษตรกรนำไปเพาะปลูก คือ ข้าวพันธุ์พิษณุโลก 2 ที่มีการใส่ปุ๋ยคอก ที่มีอัตราการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อผลผลิตต่ำที่สุดคือ 74.22 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อไร่ต่อรอบการผลิต รวมทั้งยังเป็นรูปแบบของการใช้ปุ๋ยคอกซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถช่วยปรับสภาพและทำให้ดินมีคุณภาพที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุเป็นธาตุอาหารที่เหมาะสมสำหรับพืช ทำให้ระบบนิเวศในดินมีความสมบูรณ์ ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีนั้นอาจเกิดการตกค้างของสารเคมีในดิน น้ำ พืช หรือสิ่งมีชีวิตได้ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมแล้วยังจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของเกษตรกรและผู้บริโภคด้วยen_US
dc.description.abstractalternativeThe effect of rice varieties on Greenhouse Gases Emission in Paddy fields was investigated. Suphanburi 1, Pathumthani 80, Chinat 80 and Phisanulok 2 rice varieties with organic fertilizer chemical fertilizer and without fertilizer were used in this research. The experiment for a total of 12 treatments. Chambers were used to cover each set of the designed experiments according to the stage of rice growth as follows: before planting stage, initial stage, vegetative stage, panicle-formation stage and maturation stage. The air emitted from each set was collected into sampling bags and analyzed to determine the amount of carbon dioxide and methane using Gas Chromatography. The results of methane showed that the Suphanburi 1 rice variety with added chemical fertilizer emitted the highest quantity of methane at 1.79±0.98 mg/m2/day (production 3.34 ton/ha) and the Chinat 80 rice variety with added chemical fertilizer emitted the lowest quantity of methane at 0.47±0.47 mg/m2/day (production 6.63 ton/ha). And carbon dioxide showed that the Suphanburi 1 rice variety with added chemical fertilizer emitted the highest quantity of carbon dioxide at 534.10±109.05 mg/m2/day (production 3.34 ton/ha) the Phisanulok 2 rice variety with added organic fertilizer emitted the lowest quantity of methane at 218.28±29.15 mg/m2/day (production 4.11 ton/ha). This research showed that at the vegetative stage rice emitted the highest quantity of methane for all varieties. The study also showed that both rice varieties and type of fertilizer effected the methane emission from rice. Moreover, It was found that Phisanulok 2 rice with the addition of organic fertilizer emitted greenhouse gases with product at 463.88 mg/kg/ha/crop. Thus, we should promote using this variety with organic fertilizer for greenhouse gases reduction and increased production output, and an environmentally friendly method of farming.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.161-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectก๊าซเรือนกระจก -- การลดปริมาณ
dc.subjectการทำนา
dc.subjectการจัดการดิน
dc.subjectGreenhouse gas mitigation
dc.subjectRice -- Planting
dc.subjectSoil management
dc.titleการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมทำนาข้าวต่างสายพันธุ์en_US
dc.title.alternativeEMISSION OF GREENHOUSE GASES IN PADDY FIELD WITH RICE VARIETIESen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorspantawa@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.161-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5487196520.pdf6.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.